การพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ด้วยกระบวนการนิเทศแบบผสมผสาน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ผู้แต่ง

  • ยุคลธร สังข์สอน สำนักงานเขตพื้นที่การศีกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2

คำสำคัญ:

การพัฒนาศักยภาพครู , การจัดการเรียนรู้ Active learning , กระบวนการนิเทศ แบบผสมผสาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพ ปัญหา และความต้องการในการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) พัฒนากระบวนการนิเทศแบบผสมผสาน สำหรับใช้ในการพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) ศึกษาผลจากการพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ด้วยกระบวนการนิเทศแบบผสมผสาน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ 4) ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ด้วยกระบวนการนิเทศแบบผสมผสาน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มเป้าหมายของการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครู โรงเรียนชุมชนวัดโพธิ์ทอง “ปกาสิตวิทยา” สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2 จำนวน 18 คน วิธีดำเนินการวิจัยใช้หลักการของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ 4 ขั้น ประกอบด้วย ขั้นการวางแผน ขั้นการปฏิบัติการ ขั้นการสังเกตการณ์ และขั้นการสะท้อนการปฏิบัติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning อยู่ในระดับน้อย ปัญหาการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning อยู่ในระดับมาก และความต้องการในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning อยู่ในระดับมาก 2) กระบวนการนิเทศแบบผสมผสาน สำหรับใช้ในการพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มี 4 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 วางแผนการนิเทศ ขั้นที่ 2 การให้ความรู้ก่อนการนิเทศ ขั้นที่ 3 การปฏิบัติการนิเทศ และขั้นที่ 4 การประเมินผลการนิเทศ มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด 3) ผลการพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ด้วยกระบวนการนิเทศแบบผสมผสาน พบว่า ครูมีความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning หลังการอบรม สูงกว่า ก่อนการอบรม โดยมีค่าร้อยละเฉลี่ยความก้าวหน้าสูงขึ้น 50.59 ครูมีความพึงพอใจต่อการอบรม อยู่ในระดับมาก ครูปฏิบัติการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning หลังการนิเทศ สูงกว่า ก่อนการนิเทศ ผลจากการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ของครู พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนปีการศึกษา 2563 เพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา 2562 มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 8.65 และ 4) ผลศึกษาความพึงพอใจของผู้บริหารสถานศึกษา และครูที่มีต่อกระบวนการนิเทศแบบผสมผสาน สำหรับใช้ในการพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning พบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด

References

กชภัทร์ สงวนเครือ. (2562). โปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกตามแนวทางสะเต็มศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

กิ่งแก้ว มิตรวิจารณ์. (2551). การพัฒนาบุคลากรโครงการโรงเรียนสองภาษา ด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โรงเรียนมุกดาหาร อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

เกรียงศักดิ์ สังข์ชัย. (2552). การพัฒนารูปแบบการนิเทศการสอนครูวิทยาศาสตร์ เพื่อพัฒนาศักยภาพนักเรียนที่มีแววความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

จำเนียร จวงตระกูล. (2550). การวิจัยเชิงคุณภาพ : เขียนข้อเสนอโครงการวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกอย่างไรให้สอบผ่าน. กรุงเทพฯ: บริษัทศูนย์กฎหมายธุรกิจอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด.

เฉลิมพล สุปัญญาบุตร. (2562). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 24. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต) มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ธนนันท์ คณะรมย์. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติตามรูปแบบการนิเทศภายในกับความต้องการการนิเทศภายในของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

สงัด อุทรานันท. (2530). การนิเทศการศึกษา:หลักการทฤษฎีและปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: บัตรสยาม.

สมคิด บางโม. (2551). เทคนิคการฝึกอบรมและการประชุม (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2. (2562). รายงานการนิเทศ ครั้งที่ 3 ปีการศึกษา 2562. พิจิตร: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน. กรุงเทพฯ: สำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้, สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2553). การเสริมประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน เล่ม 4 การนิเทศแบบให้คำชี้แนะนำ. กรุงเทพฯ: สำนักทดสอบทางการศึกษา.

อดุลย์ วงศ์ก้อม. (2552). รูปแบบการนิเทศการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต) กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Kemmis, S & McTaggart, R. (1988). The Action Research Planer (3rd ed.). Victoria: Deakin University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-15

How to Cite

สังข์สอน ย. (2022). การพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ด้วยกระบวนการนิเทศแบบผสมผสาน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน . Trends of Humanities and Social Sciences Research, 10(2), 41–59. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/Humanties-up/article/view/255590