เสรีภาพทางการแสดงออก พื้นที่ทางสังคมและตัวตนของ Cosplayer

ผู้แต่ง

  • อารยา บำรุงศิลป์ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา สาขาวิชาพัฒนาสังคม คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • บุญยานุช เมี้ยนเอี่ยม ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา สาขาวิชาพัฒนาสังคม คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • พิษนุ อภิสมาจารโยธิน ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

กลุ่ม Cosplayer , ตัวตน , เสรีภาพทางการแสดงออก, พื้นที่ทางสังคม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาการประกอบสร้างตัวตนของ Cosplayer ในอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 2) เพื่อศึกษาพื้นที่ทางสังคมของกลุ่ม Cosplayer ในอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 3) เพื่อศึกษาลักษณะเสรีภาพทางการแสดงออกของ Cosplayer 4) เพื่อศึกษาความท้าทาย อุปสรรค และการรับมือของกลุ่ม Cosplayer ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ Cosplayer จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ผลการศึกษาพบว่า กลุ่ม Cosplayer ในอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก มีการประกอบสร้างตัวตนขึ้นมา 2 ลักษณะ ได้แก่ ตัวตนในชีวิตประจำวันที่มีการใช้ชีวิตแบบที่คนส่วนใหญ่ในสังคมเป็น และ ตัวตนในสังคม Cosplay โดยได้มีการประกอบสร้างตัวตนใหม่ขึ้นมาผ่านการแต่ง Cosplay เนื่องจากพื้นที่ในการแสดงออกของ Cosplayer ในอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก นั้นมีอยู่อย่างจำกัดส่งผลให้กลุ่ม Cosplayer มีการหาพื้นที่ใหม่ ๆ เพื่อแสดงออก ซึ่งมีทั้งพื้นที่จริงและพื้นที่ในโลกออนไลน์ นอกจากนี้เสรีภาพในการแสดงออกของ Cosplayer นั้นมีมากกว่าในอดีตแต่ก็ยังคงถูกคนภายนอกมองว่าเป็นเรื่องที่แปลกอยู่และมีรูปแบบของการกดทับกันภายในสังคม Cosplay โดยการแต่ง Cosplay นั้นยังคงต้องเผชิญกับอุปสรรคและความท้าทายต่างๆ ซึ่งส่วนมากมาจากคนในครอบครัวและมีหลายครั้งที่มาจากเพื่อนหรือคนใกล้ตัว จึงทำให้กลุ่ม Cosplayer ต้องมีการรับมือต่ออุปสรรคความท้าทายเหล่านั้น

References

กอบชัย ศักดาวงศ์ศิวิมล. (2552). การสื่อสารเพื่อการสร้างพื้นที่สาธารณะของวัฒนธรรมย่อย Cos’Play. (วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฎูริณัฐร์ โชติวรรณ. (2557). กะเทยโรงงาน : ชีวิตและตัวตนข้ามเพศของแรงงานอพยพจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต)เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ธวัชพงศ์ หาเรือนโภค. (2557). Cosplay: วัฒนธรรมป๊อปของวัยรุ่นในสังคมไทย.(วิทยานิพนธ์สังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เบญจมาศ ยศพิทักษ์. (2553). การสื่อสารกลุ่มแรงจูงใจในการแต่งกายคอสเพลย์ของวัยรุ่นไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.

รัชนก พุทธสุขา. (2562). ทำความรู้จักกลุ่ม Cosplay ในสังคมไทย ผู้เลือกรับ Japanese pop culture. สืบค้น 5 ธันวาคม 2563, จาก https://www.museumsiam.org/da-detail2.php?MID=3&CID=177&SCID=242&CONID=3188.

รุ้งนภา ยรรยงเกษมสุข. (ม.ป.ป.). ทฤษฎีปฏิสัมพันธ์เชิงสัญลักษณ์กับการอธิบายปรากฏการณ์สังคมจากมุมมองตัวแสดง Symbolic Interaction Theory and the Explanation of Social Phenomena from Actor Perspective. วารสารการเมือง การบนิหาร และกฎหมาย, 5(2), 77-80.

รัตติกานต์ วิไลพันธ์ และพิษนุ อภิสมาจารโยธิน. (2562). การประกอบสร้างตัวตนทางเพศ และพื้นที่ทางสังคมของกลุ่มแฟนคลับศิลปินเกาหลีใต้: กรณีศึกษากลุ่มวัยรุ่นไทยในกรุงเทพมหานคร. ใน นเรศวรวิจัย ครั้งที่ 13. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-15

How to Cite

บำรุงศิลป์ อ., เมี้ยนเอี่ยม บ. ., & อภิสมาจารโยธิน พ. . (2022). เสรีภาพทางการแสดงออก พื้นที่ทางสังคมและตัวตนของ Cosplayer. Trends of Humanities and Social Sciences Research, 10(2), 255–272. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/Humanties-up/article/view/255487