เส้นทางและปัจจัยในการดำเนินธุรกิจของครูดนตรีอิสระ
คำสำคัญ:
ครูดนตรีอิสระ , เส้นทางอาชีพ , ปัจจัยในการดำเนินธุรกิจบทคัดย่อ
การศึกษาเรื่องเส้นทางและปัจจัยในการดำเนินธุรกิจของครูดนตรีอิสระเป็นการวิจัย
เชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษาเส้นทางและปัจจัยในการเข้าสู่อาชีพของครูดนตรีอิสระ และปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการครูดนตรีอิสระของผู้ปกครองและนักเรียนเก็บข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ประกอบด้วย ครูสอนดนตรีอิสระ 4 คน ผู้ปกครอง 8 คน และนักเรียนที่ได้เรียนกับครูอิสระ 8 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้รูปแบบการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า เส้นทางและปัจจัยที่ส่งผลในการเลือกอาชีพครูดนตรี ได้แก่ ปัจจัยภายในประกอบด้วยความต้องการที่จะเป็นครู ความชอบในการได้สอนมีความสุขในการได้สอน โดยได้เห็นถึงพัฒนาการของนักเรียน และการได้ทบทวนความรู้ที่เรียนมา ในขณะที่ปัจจัยภายนอก ได้แก่ รายได้ และปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการครูอิสระของผู้ปกครองและนักเรียน ส่วนปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการครูดนตรีอิสระของผู้ปกครองและนักเรียน พบว่าประกอบไปด้วย V (Value) ความคุ้มค่า, R (Reputation) ชื่อเสียงของครูผู้สอน, F (Flexibility) ความยืดหยุ่น, R (Result Oriented) การสอนที่มุ่งเน้นผลลัพธ์, E (Easiness) ความสะดวกสบาย, และ E (Extra service) การบริการที่นอกเหนือจากการสอน
References
ณธีพัฒน์ วชิรชัยเกียรติ. (2552). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกเรียนดนตรีสากลของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ธัญญ์นรี วีณากร. (2557). ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการของผู้ปกครองที่ส่งบุตรหลานเข้าเรียนโรงเรียนดนตรีเอกชน หลักสูตรวิชาขับร้องในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ดุริยางคศาสตร์มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ทัศนีย์นารถ ลิ้มสุทธิวันภูมิ. (2555). คุณลักษณะพึงประสงค์ของครูตามความคิดเห็นของนักศึกษาและอาจารย์คณะบัญชี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. วารสารสุทธิปริทัศน์, 26(78), 143-166.
ปรัชญา แสงโคตร. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกเรียนดนตรี ศิลปะและเต้นของผู้ใช้บริการโรงเรียนฮักสคูล. ใน ประชุมวิชาการทางธุรกิจและนวัตกรรมทางการจัดการระดับชาติและนานาชาติ ประจำปี 2558 (1652–1659). ขอนแก่น: วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วิจิตร ศรีสอ้าน. (2553). กรณีศึกษา: การปฏิรูปการดำเนินงานของสภามหาวิทยาลัย [สไลด์พาวเวอร์พอยต์]. บรรยายในการประชุมวิชาการ เรื่อง บทบาทของสภามหาวิทยาลัยในการปฏิรูปอุดมศึกษาไทย. กรุงเทพฯ: ศูนย์ประชุมสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์, จาก https://library.stou.ac.th/odi/wichit/work-4-1.html.
วรรณเทพ หาญกล้า. (2539). โรงเรียนดนตรีเอกชน: การศึกษาสภาพปัญหาการเรียนการสอน. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.
ศิริพร อยู่แก้ว. (2560). กลยุทธ์การพัฒนาธุรกิจโรงเรียนดนตรีตามอัธยาศัยในเขตอำเภอเมืองจังหวัดชลบุรี. (วิทยานิพนธ์ดุริยางคศาสตร์มหาบัณฑิต).
กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุกรี เจริญสุข. (2546). เสียงและระบบเสียงดนตรีไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.
สุดปมา พันธ์สอาด. (2562). การตัดสินใจเลือกโรงเรียนสอนเต้นและดนตรีของยุวชนในเขตกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าแบบอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สโรชา แก้วคำ. (2558). ปัจจัยที่ผู้ปกครองเลือกให้เด็กเรียนพิเศษศิลปะ. (การค้นคว้าแบบอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สมเพชร ไชยวุฒิ. (2540). แรงจูงใจในการเลือกประกอบอาชีพของบัณฑิตคณะแพทยศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ และเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สมศักดิ์ หงษ์สุวรรณ และ กรวีร์ ชัยอมรไพศาล. (2561). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีความสำคัญต่อการตัดสินใจเลือกเรียนสถาบันสอนภาษาต่างประเทศ อัพเกรด อคาเดมี่ จังหวัดเชียงใหม่. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 28(1), 151-166.
อรทัย สุทัศน์. (2553). การวิเคราะห์โครงสร้างตลาดของโรงเรียนกวดวิชาในเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าแบบอิสระเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Booms, B. & Bitner, M. (1981). Marketing Strategies and Organizational Structures for Service Firms Marketing of Services. Chicago: American Marketing Association.
Hessong, Robert F. & Thomas H. Weeks. (1987). Introduction to Education. New York: Mcmilland Publishing.
Holland, J. L. (1973). Making vocational choices: A theory of careers. Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall.
Hoppock, R. (1935). Job Satisfaction. New York: Harper and Brothers.
Kotler & Amstrong. (1990). Market an Introduction (Second Edition). New Jersey: Prentice-Hall, Inc.
Lauterborn, B. (1990). New Marketing Litany: Four Ps Passé: C-Words Take Over. Advertising Age, 61(4), 26.
Miles, M. B., & Huberman, A. M. (1994). Qualitative data analysis: An expanded sourcebook (2nd ed.). CA: Sage Publications, Inc.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 มหาวิทยาลัยพะเยา

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผู้นิพนธ์ต้องรับผิดชอบข้อความในบทนิพนธ์ของตน มหาวิทยาลัยพะเยาไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับบทความที่ตีพิมพ์เสมอไป ผู้สนใจสามารถคัดลอก และนำไปใช้ได้ แต่จะต้องขออนุมัติเจ้าของ และได้รับการอนุมัติเป็นลายลักษณ์อักษรก่อน พร้อมกับมีการอ้างอิงและกล่าวคำขอบคุณให้ถูกต้องด้วย
The authors are themselves responsible for their contents. Signed articles may not always reflect the opinion of University of Phayao. The articles can be reproduced and reprinted, provided that permission is given by the authors and acknowledgement must be given.