อุปลักษณ์ความรักในบทเพลงของธงไชย แมคอินไตย์
คำสำคัญ:
อุปลักษณ์ความรัก, ธงไชย แมคอินไตย์, มโนทัศน์บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถ้อยคำอุปลักษณ์ที่สะท้อนมโนทัศน์เกี่ยวกับความรักในบทเพลงของธงไชย แมคอินไตย์ โดยใช้ข้อมูลตั้งแต่พ.ศ. 2529-2559 รวมทั้งสิ้น 193 เพลง ผลการศึกษาพบว่า รูปคำอุปลักษณ์ที่ปรากฏสะท้อนมโนทัศน์ความรัก จำนวน 5 มโนทัศน์ ได้แก่ [ความรัก คือ ธรรมชาติ] [ความรัก คือ สิ่งประดิษฐ์/สิ่งก่อสร้าง] [ความรัก คือ การศึกษา] [ความรัก คือ เกม/การแข่งขัน] และ [ความรัก คือ เครื่องใช้/เครื่องนุ่งห่ม] อุปลักษณ์มโนทัศน์เหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่า ความรักเป็นเรื่องพื้นฐานใกล้ตัวมนุษย์ ความรักซับซ้อนต้องอาศัยการเรียนรู้และดูแลรักษา
References
กรกนก รัมมะอัตถ์. (2556). การเปรียบเทียบอุปลักษณ์ความรักในเพลงไทยลูกทุ่งกับเพลงไทยสากล. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์การศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย). กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
รวมเพลงพี่เบิร์ด. [ออนไลน์]. สืบค้น 8 ตุลาคม 2561. จาก https://is.gd/F3j19v.
วรัญญา ยิ่งยงศักดิ์. (2561). การใช้ภาษาในการเสนอภาพสตรีจากนิตยสารบันเทิงไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา, 6(1), 140-152.
ศรัณย์ รักสัตย์มั่น. (2547). วัยรุ่นกับกระบวนการสร้างความเป็นจริงเรื่องความรักผ่านเพลงไทยสมัยนิยม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารมวลชน คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน). กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Lakoff, G., and Johnson, M. (1980). Metaphor we live by. USA: Chicago Press.
Ngamjitwongsakul, Pattra. (2003). A Study of Love Metaphor in Modern Thai Songs. (Master’s thesis, Department of Linguistics). Bangkok: Mahidol University.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 มหาวิทยาลัยพะเยา

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผู้นิพนธ์ต้องรับผิดชอบข้อความในบทนิพนธ์ของตน มหาวิทยาลัยพะเยาไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับบทความที่ตีพิมพ์เสมอไป ผู้สนใจสามารถคัดลอก และนำไปใช้ได้ แต่จะต้องขออนุมัติเจ้าของ และได้รับการอนุมัติเป็นลายลักษณ์อักษรก่อน พร้อมกับมีการอ้างอิงและกล่าวคำขอบคุณให้ถูกต้องด้วย
The authors are themselves responsible for their contents. Signed articles may not always reflect the opinion of University of Phayao. The articles can be reproduced and reprinted, provided that permission is given by the authors and acknowledgement must be given.