แนวทางการพัฒนาการตลาดท่องเที่ยวของจังหวัดสมุทรสาคร

ผู้แต่ง

  • ณัฐรินทร์ ปริวงศ์กุลธร การจัดการการท่องเที่ยว วิทยาลัยการจัดการ กรุงเทพมหานคร มหาวิทยาลัยพะเยา
  • เสรี วงษ์มณฑา การจัดการการท่องเที่ยว วิทยาลัยการจัดการ กรุงเทพมหานคร มหาวิทยาลัยพะเยา
  • ชุษณะ เตชคณา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต คณะบริหาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • ชวลีย์ ณ ถลาง การจัดการการท่องเที่ยว วิทยาลัยการจัดการ กรุงเทพมหานคร มหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

แนวทางการพัฒนา, การตลาดท่องเที่ยว, จังหวัดสมุทรสาคร

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวทางการพัฒนาการตลาดท่องเที่ยวของจังหวัดสมุทรสาคร (2) เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากรศาสตร์และพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการเดินทางมาท่องเที่ยวจังหวัดสมุทรสาคร (3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดท่องเที่ยวจังหวัดสมุทรสาคร และ (4) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดท่องเที่ยวจังหวัดสมุทรสาคร โดยจำแนกตามปัจจัยทางประชากรศาสตร์ งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม เก็บแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวนทั้งสิ้น 400 คน โดยสุ่มเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบจำเพาะเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน คือ การทดสอบ One-Way Anova or F Test

ผลการศึกษาพบว่า นักท่องเที่ยวชาวไทยมีความต้องการในการท่องเที่ยวพักผ่อนและเติมเต็มให้กับชีวิตมีความศรัทธา ความเชื่อ และศาสนา แหล่งท่องเที่ยวมีทรัพยากรการท่องเที่ยวที่หลากหลาย ส่วนปัจจัยที่มีอิทธิพลของสิ่งกระตุ้นทางการท่องเที่ยวคือ การโฆษณา การส่งเสริมการขาย เอกสารคำแนะนำ แหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ ได้แก่ แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ ศาสนา วัฒนธรรม กิจกรรมทางการท่องเที่ยวที่น่าสนใจ คือ นมัสการขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ อาทิ ศาลพันท้ายนรสิงห์ นักท่องเที่ยวมีการรับข้อมูลทางด้านการท่องเที่ยวผ่านทางอินเทอร์เน็ต และมีความประทับใจด้านกิจกรรมการท่องเที่ยว ชุมชนที่นักท่องเที่ยวรู้จักหรือเคยไปท่องเที่ยวมากที่สุด คือ ชุมชนพันท้ายนรสิงห์  สำหรับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่นักท่องเที่ยวมีความคิดเห็นมากที่สุดคือ ด้านผลิตภัณฑ์ (Product) ค่าเฉลี่ย 3.80 และค่าเฉลี่ยความคิดเห็นด้วยน้อยที่สุดคือ ด้านบุคลากร (People) 3.22

References

กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด สำนักงานจังหวัดสมุทรสาคร. (2561). แผนพัฒนาจังหวัด 4 ปี (พ.ศ. 2561-2564) จังหวัดสมุทรสาคร. สมุทรสาคร: สำนักงานจังหวัดสมุทรสาคร.

ณหทัย จันทร์ผล. (2556). การผลิตสารคดีเพื่อการประชาสัมพันธ์สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดสมุทรสาคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสยาม.

เดวิด สโคว์ซิลล์. (2561). World Travel and Tourism Council: WTTC ไทยติดโผชาติท่องเที่ยวเร็วที่สุดในโลก. สืบค้น 9 มิถุนายน 2561, จากhttp://www.bangkokbiznews.com/news2detail/747014.

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2542). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

เบญจวรรณ จันทร์จารุวงศ์. (2559). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด 7Ps ที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือเคลื่อนที่เอไอเอสในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล. (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ปกรณ์สิทธิ ฐานา. (2560). กระบวนการสร้างมารยาทของสังคมไทย. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปิยวรรณ คงประเสริฐ. (2551). การท่องเที่ยวเชิงนิเวศแบบบูรณาการเพื่อการวางแผนพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนที่เกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. (ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์. (2561). ไทยเที่ยวไทยรายได้ต่ำเป้าชี้สัญญาณเตือนปรับตัวปี 61. สืบค้น มิถุนายน 2561, จาก http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/788995.8.

ภัทรพร พันธุรี. (2515). การจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอาหารโดยผ่านประสบการณ์ของนักท่องเที่ยวในประเทศไทย. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 8(2), 27-38.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์, ศุภกร เสรีรัตน์, องอาจ ปทะวานิช และ ปริญ ลักษิตานนท์. (2546). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2550). นโยบายผลิตภัณฑ์และราคา (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

สำนักพัฒนาส่งเสริมการบริหารราชการจังหวัด สป. (2561). แผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 2. สืบค้น 1 ตุลาคม 2561, จาก http://www.pad.moi.go.th/index.php?option=comcontent&task=&id=216&Itemid=439.

โสภิตา รัตนสมโชค. (2558). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) ที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการรถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ (บีทีเอส) ของประชากรในกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Boone, L. E. and Kurtz, D. L. (1995). Contemporary marketing (8th ed.). Unites States: The Dryben Press Harcourt Bruce College.

Semenik, R. J. (2002). Promotion & integrated marketing communications. Ohio: South-Western.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-05-11

How to Cite

ปริวงศ์กุลธร ณ., วงษ์มณฑา เ., เตชคณา ช., & ณ ถลาง ช. (2021). แนวทางการพัฒนาการตลาดท่องเที่ยวของจังหวัดสมุทรสาคร. Trends of Humanities and Social Sciences Research, 9(1), 185–201. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/Humanties-up/article/view/252164