กลวิธีการใช้ภาษาในบทกวีนิพนธ์ ของ พิบูลศักดิ์ ละครพล

ผู้แต่ง

  • ชญานนท์ เนื่องวรรณะ สาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
  • ปพิชญา พรหมกันธา สาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
  • พัทธนันท์ พาป้อ สาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
  • ปุ่น ชมภูพระ สาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

คำสำคัญ:

กลวิธีการใช้ภาษา, บทกวีนิพนธ์ , พิบูลศักดิ์ ละครพล

บทคัดย่อ

งานวิจัยกลวิธีการใช้ภาษาในบทกวีนิพนธ์ของพิบูลศักดิ์ ละครพล มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการใช้ภาษาด้านการสร้างคำ การใช้คำ และการใช้ภาพพจน์ ในบทกวีนิพนธ์ของพิบูลศักดิ์ ละครพล โดยศึกษาจากรวมบทกวีนิพนธ์ของ พิบูลศักดิ์ ละครพล ในระหว่างเวลาปีพุทธศักราช 2521 ถึง 2559 รวม 38  ปี จำนวน 9 เล่ม

ผลการวิจัยพบว่า กลวิธีด้านการสร้างคำ พบการสร้างคำซ้อนมากที่สุด ซึ่งสร้างได้ 2,869 คำ รองลงมาคือคำซ้ำ ซึ่งสร้างได้ 300 คำ และคำสร้างใหม่ ซึ่งสร้างได้ 253 คำ ตามลำดับ กลวิธีด้านการใช้คำ พบว่า พิบูลศักดิ์  ละครพล ใช้คำภาษาต่างประเทศมากที่สุด ซึ่งใช้จำนวน 2192 คำรองลงมาคือศัพท์บัญญัติหรือศัพท์เทคนิค ใช้จำนวน 889 คำ  คำภาษาถิ่น ใช้จำนวน 142 คำ  คำภาษาตลาด ใช้จำนวน 117 คำ  คำมีศักดิ์ ใช้จำนวน 67 คำ  คำแสดงอารมณ์ ใช้จำนวน 50 คำ  คำแสลง ใช้จำนวน 35 คำ คำต่ำหรือคำหยาบ ใช้จำนวน 33 คำ  คำเลียนเสียงพูด ใช้จำนวน 24 คำ  และคำย่อ ใช้จำนวน 11 คำ ตามลำดับ และกลวิธีด้านการใช้ภาพพจน์ พบการใช้ภาพพจน์บุคคลวัต มากที่สุด ซึ่งพบ 605 แห่ง รองลงมาคือ อุปลักษณ์ พบ 367 แห่ง อติพจน์ พบ 251 แห่ง อุปมา พบ 246 แห่ง สัญลักษณ์ พบ 164 แห่ง  ปฏิพจน์ พบ 107 แห่ง ปฏิจฉา พบ 77 แห่ง ปฏิทรรศน์ พบ 75 แห่ง สัมพจนัย พบ 67 แห่ง อาวัตพากย์ พบ 57 แห่ง สัทพจน์ พบ 50 แห่ง อวพจน์ พบ 35 แห่ง นามนัย พบ 33 แห่ง แนวเทียบ พบ 33 แห่ง และการอ้างถึง พบ 29 แห่ง ตามลำดับ

References

กาญจนา ปราบปัญจะ. (2553). การศึกษาลีลาการใช้ภาษาและกลวิธีการเขียนของ ว.วชิรเมธี.ปริญญานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย, กรุงเทพฯ, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ปพิชญา พรหมกันธา พัทธนันท์ พาป้อ ปุ่น ชมภูพระ อรอนุตร ธรรมจักร เกียรติศักดิ์ สุขยา. (2560). วัจนลีลาในกวีนิพนธ์รางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียนของสามสุภาพบุรุษกวี: เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ไพวรินทร์ ขาวงาม และ อังคาร จันทาทิพย์, ชัยภูมิ,มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.

ชำนาญ รอดเหตุภัย. (2519). สัมมนาการใช้ภาษาไทยปัจจุบัน. กรุงเทพฯ: การสยาม.

ปรางทิพย์ กัมพลาศิริ. (2545). ลีลาการใช้ภาษาในวรรณคดีสำหรับเด็ก. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พิบูลศักดิ์ ละครพล. (2521). บทกวีจากภูเขา. กรุงเทพฯ: หนุ่มสาว.

พิบูลศักดิ์ ละครพล. (2523). บทกวีแห่งความรัก. กรุงเทพฯ: ประพันธ์สาส์น.

พิบูลศักดิ์ ละครพล. (2524). ดอกไม้ถึงคนหนุ่มสาว. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ประพันธ์สาส์น.

พิบูลศักดิ์ ละครพล. (2526). แด่หนุ่มสาวแสวงหา. กรุงเทพฯ: แอล.เอ. เอ็นเตอร์ไพรซ์ จำกัด.พิบูลศักดิ์ ละครพล. (2534). ปลอบโยนดวงใจ. กรุงเทพฯ: พลัสทรีเอ็นเตอร์เทนเม้นท์.

พิบูลศักดิ์ ละครพล. (2535). ขลุ่ยหญ้า. กรุงเทพฯ: บ้านไร่เรือนพิมพ์.

พิบูลศักดิ์ ละครพล. (2535). หน้าต่างดอกไม้. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สู่ฝัน.

พิบูลศักดิ์ ละครพล. (2545). ฟ้ายังมีที่ว่างให้เธอวาด. กรุงเทพฯ: เคล็ดไทย.

พิบูลศักดิ์ ละครพล. (2559). อย่าลืมฝันถึงฤดูฝน. กรุงเทพฯ: แพรวสำนักพิมพ์อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

สมเกียรติ รักษ์มณี. (2551). เอกสารคำสอนรายวิชา 361322 ภาษาวรรณศิลป์. กรุงเทพฯ: ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-15

How to Cite

เนื่องวรรณะ ช., พรหมกันธา ป. ., พาป้อ พ. ., & ชมภูพระ ป. . . (2022). กลวิธีการใช้ภาษาในบทกวีนิพนธ์ ของ พิบูลศักดิ์ ละครพล. Trends of Humanities and Social Sciences Research, 10(2), 162–179. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/Humanties-up/article/view/247099