การพัฒนากระบวนการเรียนการสอน เรื่องท่อนำคลื่นและการแพร่กระจาย โดยใช้กระบวนการเรียนการสอนของ PIAEDA Model
คำสำคัญ:
เพียด้า โมเดล, ท่อนำคลื่น, การแพร่กระจายคลื่นบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดการสอน เรื่องท่อนำคลื่นและการแพร่กระจาย โดยมีแนวคิดจากการศึกษารูปแบบการเรียนการสอนต่างๆ รวมถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จึงได้พัฒนาและออกแบบการเรียนการสอนขึ้นมาใหม่โดยใช้ชื่อว่าเพียด้า (PIAEDA Model) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ชุดการสอนเรื่องท่อนำคลื่นและการแพร่กระจาย ซึ่งประกอบด้วย คู่มือครู แผนการสอน ใบเนื้อหา แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ โปรแกรมนำเสนอ PowerPoint และโปรแกรมจำลอง CST Microwave Studio® กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักศึกษาปริญญาตรีที่ลงทะเบียนเรียนหลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีโทรคมนาคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ โดยเลือกแบบเจาะจง 15 คน ผลการวิจัยพบว่า การประเมินคุณภาพของเครื่องมือวิจัย จากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพของเครื่องมือวิจัยอยู่ในระดับดี (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.14 S.D. เท่ากับ 0.63) ชุดการสอนที่ใช้รูปแบบการเรียนการสอนของ PIAEDA Model มีประสิทธิภาพเท่ากับ 1.08 ที่สอดคล้องกับเกณฑ์การหาคุณภาพของเมกุยแกนส์ (Maguigans) และผลความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.25 S.D. เท่ากับ 0.77) ตรงตามกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ ดังนั้นรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้ในการสอนบางส่วนเกี่ยวกับรายวิชาแม่เหล็กไฟฟ้าประยุกต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
References
ศึกษาธิการ, กระทรวง. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
พรชัย เจดามาน และคณะ. (2559). ยุทธศาสตร์การพัฒนาเพื่อการบริหารจัดการสู่การเปลี่ยนผ่านศตวรรษที่ 21: ไทยแลนด์ 4.0. วารสารหลักสูตรและการเรียนการสอน คณะคุรุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 2(1), 1-14.
อนุรักษ์ เมฆพะโยม. (2557). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบ P-CSDE สำหรับการศึกษาด้านวิศวกรรมโทรคมนาคม ระดับปริญญาตรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
พินิจ เนื่องภิรมย์. (2558). การพัฒนาอัลกอริทึมของการวนรอบคลื่นสำหรับการเรียนการสอนด้านวิศวกรรมไมโครเวฟ. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต) . กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
กัญญวิทย์ กลิ่นบำรุง. (2560). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการแบบสะเต็มศึกษาสำหรับการศึกษาด้านวิศวกรรมสายส่งความถี่สูง. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
อลงกรณ์ พรมที และสมศักดิ์ อรรคทิมากูล. (2558). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน เรื่องสมการแม็กซ์เวลล์คลื่นระนาบและกำลังไฟฟ้าของคลื่น โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ของ SATADE Model. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรมพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 6(1), 177-186.
Taboy, J.P. (2006). A Community Sharing Hands-on Centers in Engineering’s Training. International Journal on Line Engineering, 2(1).

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 มหาวิทยาลัยพะเยา

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผู้นิพนธ์ต้องรับผิดชอบข้อความในบทนิพนธ์ของตน มหาวิทยาลัยพะเยาไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับบทความที่ตีพิมพ์เสมอไป ผู้สนใจสามารถคัดลอก และนำไปใช้ได้ แต่จะต้องขออนุมัติเจ้าของ และได้รับการอนุมัติเป็นลายลักษณ์อักษรก่อน พร้อมกับมีการอ้างอิงและกล่าวคำขอบคุณให้ถูกต้องด้วย
The authors are themselves responsible for their contents. Signed articles may not always reflect the opinion of University of Phayao. The articles can be reproduced and reprinted, provided that permission is given by the authors and acknowledgement must be given.