ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครู ในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง

ผู้แต่ง

  • อัญชนา มุ่งหมาย คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร กรุงเทพมหานคร 10300
  • ฉันทนา ปาปัดถา คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร กรุงเทพมหานคร 10300

คำสำคัญ:

ความพึงพอใจ, การปฏิบัติงานของครู, โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง และ (2) เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง จำนวน 110 คน และสถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว  ผลการวิจัย พบว่า ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง ด้านคุณลักษณะของงานที่ปฏิบัติ ด้านสภาพการทำงาน ด้านความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน และด้านการยอมรับนับถือในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.86 และการทดสอบสมมติฐาน พบว่า สภาพการดำรงตำแหน่งต่างกันมีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง ไม่แตกต่างกัน ส่วนประสบการณ์ในการปฏิบัติงานต่างกัน มีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหงแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

References

ธงชัย สันติวงษ์ และชัยยศ สันติวงษ์. (2553). พฤติกรรมบุคคลในองค์การ. กรุงเทพมหานคร: ประชุมช่าง.

บุญชม ศรีสะอาด. (2535). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 6 กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาสน์.

บุญโชค สมคิด. (2542). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครูในโรงเรียนกันดาร สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษา จังหวัดนครศรีธรรมราช. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ.

บุญมี เวียงนนท์. (2556). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1. สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามงกุฎราชวิทยาลัย.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพมหานคร: สหมิตรออฟเซท.

มณชยา ศานติ์สุทธิกกุล คุณวุฒิ คนฉลาด และสุเมธ งามกนก. (2557). ความพึงพอใจและแนวทางสนองความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา. 8(2) เมษายน-กันยายน 2557. 84-98.

รสลิน เกียงขวา พนายุทธ เชยบาล และประพรทิพย์ คุณากรพิทักษ์. (2560). คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีอิทธิพลต่อความทุ่มเทในการทํางานของครูผู้สอน สังกัดสํานักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา. 5(2) กรกฎาคม–ธันวาคม 2561, 43-58.

รัตนา เกษทองมา จุพามาส ศรีจำนงค์ และจุไรรัตน์ อาจแก้ว. (2561). การประเมินความต้องการจําเป็นด้านการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาในการพัฒนาตนเองของครูผู้สอน ระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาสกลนคร เขต 2. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา. 6(1) มกราคม–มิถุนายน 2561, 45-62.

โรงเรียนในโรงเรียนสาธิตสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง. (2560). รายงานประจำปีโรงเรียนในโรงเรียนสาธิตสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง ประจำปี 2560. กรุงเทพฯ : โรงเรียนในโรงเรียนสาธิตสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วิริยะ คำฟู. (2558). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาในจังหวัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการอาชีวศึกษา). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สิริพร เมฆสุวรรณ. (2558). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนปทุมคงคา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามธัยมศึกษา เขต 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริการการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุกัญญา ก่ำแก้ว. (2555). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1. อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์. รายงานการค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สุเมธ เดียวอิศเรศ. (2557). พฤติกรรมผู้นำทางการศึกษา. ชลบุรี: บูรพาสาส์น.

อัมพา รอบครบุรี. (2559). การศึกษาระดับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนดาราสมุทร อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. w. (1970). Determining sample size for research activities. Education and Psychological Measurement, 30, 608-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-10-18

How to Cite

มุ่งหมาย อ., & ปาปัดถา ฉ. (2019). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครู ในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง. Trends of Humanities and Social Sciences Research, 7(2), 58–74. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/Humanties-up/article/view/221883