ทัศนคติของนักศึกษาต่อการสูบบุหรี่ อิเล็กทรอนิกส์และบุหรี่มวน

ผู้แต่ง

  • ทิพยรัตน์ บุญมา สาขาวิชาการบริหารงานตำรวจ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • บุญวัฒน์ สว่างวงศ์ สาขาวิชาการบริหารงานตำรวจ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • วันจักร น้อยจันทร์ สาขาวิชาการบริหารงานตำรวจ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

ทัศนคติ, บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์, บุหรี่มวน

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง ทัศนคติของนักศึกษาต่อการสูบบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์และบุหรี่มวนมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติ ระดับความรู้ และเพื่อเปรียบเทียบทัศนคติของนักศึกษาต่อการสูบบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์และบุหรี่มวน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ มีกลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาปีการศึกษา 2561 จำนวน 400 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างของทาโร่ ยามาเน่ (Taro yamane) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับโทษของการสูบบุหรี่ที่ผู้วิจัย สร้างขึ้นและทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของตัวแปร 2 กลุ่ม (T-test) ค่าเฉลี่ยของตัวแปรตั้งแต่ 2 กลุ่มขึ้นไป One-Way ANOVA (F-test) ผลการศึกษาพบว่า ทัศนคติต่อการสูบบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์และการสูบบุหรี่มวน กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความเห็นต่อการสูบบุหรี่ในระดับปานกลาง (X= 3.08, S.D = 2.90) ระดับความรู้เกี่ยวกับโทษของการสูบบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์กับการสูบบุหรี่มวนอยู่ในระดับปานกลาง (X= 6.80, S.D = 1.74) และการเปรียบเทียบทัศนคติของนักศึกษาต่อการสูบบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์และบุหรี่มวน พบว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีเพศ อายุ สถานภาพการอยู่อาศัย และความรู้เกี่ยวกับโทษของบุหรี่แตกต่างกันมีทัศนคติต่อการสูบบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์และบุหรี่มวนไม่แตกต่างกัน ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่มีระดับชั้นปี รายได้ และการทดลองบุหรี่แตกต่างกันมีทัศนคติต่อการสูบบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์และบุหรี่มวนแตกต่างกัน

References

จินตนา ยูนิพันธุ์ และคณะ. (2553). คู่มือเลิกบุหรี่การคิดเลิกบุหรี่: แนวทางการตัดสินใจ. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดพรีวัน.

ณัฐพงษ์ สายตรี และคณะ. (2556). พฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนักศึกษาภาคปกติ มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม.

ปยารี พิริยะอุดมพร. (2543). พฤติกรรมสุขภาพเกี่ยวกับการป้องกันการเสพติดยาบ้าของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นจังหวัดนนทบุรี. (ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต วิชาเอกสุขศึกษา). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พงษ์สันต์ เสนีย์ศรีสกุล. (2556). ทัศนคติที่มีต่อการสูบบุหรี่ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนชุมชนวัดหนองรี ตำบลหนองรี อำเภอเมืองชลบุรี. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

พรรณปพร ลีวิโรจน์, บุญรัตน์ โง้วตระกูล และ ดาริกา กูลแก้ว. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของวัยรุ่นนอกระบบการศึกษา และผลการพัฒนาโปรแกรมการปรับความคิดและพฤติกรรมเพื่อลดการสูบบุหรี่. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 37(4), 75-91.

วันจักร น้อยจันทร์, ชาญคณิต กฤตยา สุริยะมณี, พิศาล มุขแจ้ง และ นัยนา น้อยจันทร์. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการกระทำความผิดในคดีโจรกรรมรถยนต์และรถจักรยานยนต์ของผู้ต้องขัง ในเรือนจำเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสวนสุนันทาวิชาการและวิจัย, 12(1), 1-14.

ศศิธร ชิดนายี และ วราภรณ์ ยศทวี. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของวัยรุ่นจังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์, 10(1), 83-93.

ฝ่ายธุรการ. (2561). สถิติจำนวนนักศึกษาลงทะเบียน. สืบค้น 21 กันยายน 2561, จาก http://reg.ssru.ac.th/downloads/ student_statistics/registered_2561_3.xlsx?v=2.

สมเกียรติ วัฒนศิริชัยกุล. (2550). วิชาการสุขภาพ การควบคุมการบริโภคยาสูบ สำหรับบุคลากรและนักศึกษาวิชาชีพด้านสุขภาพ. กรุงเทพฯ: เครือข่ายวิชาชีพสุขภาพเพื่อสังคมไทย ปลอดบุหรี่.

สุภาวดี ศิริพิน. (2552). ทัศนคติที่มีต่อการสูบบุหรี่ของนักเรียนอาชีวศึกษาอายุ 15-20 ปีวิทยาลัยการอาชีพบางแก้วฟ้า ตำบลบางพระ อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชนบัณฑิต). กรุงเทพฯ: วิทยาลัยมหาวิทยาลัยศิลปากร.

Gibson, J. L. (2000). Organizations Behavior (7th ed.). Boston: Irwin.

Good, CV. (1973). Dictionary of Education. New York: McGraw-Hill Book.

Yamane, Taro. (1975). Statistics: and Introductory analysis. 2 ed. New York: Harper and Row.

Yamin, c.K., Bitton, a., & Bates, D.W. (2010). E-Cigarettes: A rapidly growing Internet phenomenon. Annals of internal Medicine, 153(9), 707-609.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-05-24

How to Cite

บุญมา ท., สว่างวงศ์ บ., & น้อยจันทร์ ว. (2021). ทัศนคติของนักศึกษาต่อการสูบบุหรี่ อิเล็กทรอนิกส์และบุหรี่มวน. Trends of Humanities and Social Sciences Research, 9(1), 202–215. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/Humanties-up/article/view/219786