การวิเคราะห์องค์ประกอบคุณลักษณะการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1
คำสำคัญ:
Factor Analysis, learning person, 21st centuryบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบคุณลักษณะการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 2) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์โครงสร้างกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่าง คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 จำนวน 400 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นอย่างเป็นสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวม คือ แบบสอบถาม มีจำนวน 101 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความเบ้ ความโด่ง ค่าสถิติไคสแควร์ (c2) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลการวิจัย พบว่า
- องค์ประกอบคุณลักษณะการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มี 4 องค์ประกอบ ดังนี้ ด้านพฤติกรรมการเรียนรู้ ด้านการสื่อสาร เทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านการคิด การแก้ปัญหา และการตัดสินใจ และด้านทักษะชีวิตเพื่อการเรียนรู้ มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบคือ 0.94, 0.95, 0.92 และ 0.89 ตามลำดับ และมีค่าสัมประสิทธิ์คะแนนองค์ประกอบระหว่าง 0.25 ถึง 1.65
- ผลการตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์โครงสร้างกับข้อมูลเชิงประจักษ์พบว่า c2 = 44.22, df = 43, P-value = 0.42, GFI = 0.98, AGFI = 0.97, CFI = 1.00, RMSEA = 0.00 แสดงว่าโมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ในระดับดี
จากผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลสำหรับครูผู้สอน และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีคุณลักษณะการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพิ่มมากขึ้น
References
เกษม วัฒนชัย. (2549). การเรียนรู้ที่แท้และพอเพียง “แล้วเราจะเอาหลักไหนไปสู้กับชีวิต”. พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพฯ : อุษาการพิมพ์. คุรุสภาลาดพร้าว.
จิราภรณ์ พรหมทอง. (2559). การพัฒนาตนเองให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้เพื่อเข้าสู่ศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 10(2), 71-72.
ชยพร กระต่ายทอง. (15 เมษายน 2561). การจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนมาตรฐานสากล. สืบค้นได้จาก: http://www.nmk.ac.th/standard/1%20.pdf.
ชูศักดิ์ เอื้องโชคชัย. (2558). การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัยเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับเยาวชน. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2560). (5 พฤษภาคม 2561). โครงการวิจัยและพัฒนาแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ออนไลน์ในระบบเปิดสำหรับมหาชน หลักสูตรไอทีเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะรายวิชาไอทีเพื่อการศึกษา. สืบค้นจาก https://www.youtube.com/watch?v=ElhoNcfszmU
ธีระ รุญเจริญ และ วาสนา ศรีไพโรจน์. (2554). กลยุทธ์การพัฒนาความเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : ข้าวฟ่าง.
ปกรณ์ ประจันบาน. (2559). รายงานวิจัยการวิจัยและพัฒนาแบบวัดคุณลักษณะการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในศตวรรษที่ 21. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ปกรณ์ ประจันบาน. (2557). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ การพัฒนามาตรฐาน ตัวแปรสังเกตได้ และเกณฑ์การประเมินคุณลักษณะการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ของนิสิตนักศึกษาของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ปุณฑริกา น้อยนนท์. (2559). การพัฒนารูปแบบการประเมินการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับสาระวิทยาศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
พินันทา ฉัตรวัฒนา. (2560). การศึกษาระบบ 4.0 สำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 (Education 4.0 for Student in the 21st Century). วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 8(1), 289-297.
เพ็ญศรี กัลป์ยาณกิตติ. (2557). วัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ของครูในสถานศึกษาสังกัดเทศบาล จังหวัดหนองคาย. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). โมเดลลิสเรล : สถิติวิเคราะห์สำ หรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มิ่งขวัญ คงเจริญ, กัมปนาท บริบูรณ์, สุมลนิตย์ เกิดหนุนวงศ์, ชไมพร ดิสถาพร. (2559). โครงการวิจัยการพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างยั่งยืน. ภาควิชาการศึกษาผู้ใหญ่ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
รุ่งฤดี กล้าหาญ, ดวงเดือน ศาสตรภัทร และสายสมร เฉลยกิตติ. (2558). การพัฒนารูปแบบการวัดและประเมินพฤติกรรมเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายของไทยในศตวรรษที่ 21. สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน).
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.
วิชัย วงษ์ใหญ่. (2554). นวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้สู่ความเป็นพลเมือง. กรุงเทพฯ : อาร์ แอนด์ ปริ้นท์ จำกัด.
วิบูลย์ศิลป์ พิชยมงคล. (2547). คุณลักษณะการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ของนักเรียนสถาบันอาชีวศึกษา กรุงเทพมหานคร. (ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง.
วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง และอธิป จิตตฤกษ์. (2554). ทักษะแห่งอนาคตใหม่: การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : โอเพ่นเวิลด์ส.
ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ. (2560). ความเป็นครู หลักการและปรัชญาการศึกษา : Self Actualization for Teacher, Principle and Philosophy of Education. กรุงเทพฯ : พลก๊อปปี้ เซอร์วิสแอนด์ซับพลาย.
ศิริวิมล ชูชีพวัฒนา. (2556). พฤติกรรมใฝ่เรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นของโรงเรียนสังกัดสังฆมณฑลราชบุรี จังหวัดราชบุรี. (ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2555). มัธยมศึกษายุคใหม่สู่มาตรฐานสากล 2561. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
อุไรรัตน์ แย้มชุติ. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างการส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรกับคุณลักษณะการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ของคณาจารย์มหาวิทยาลัยธนบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 7(14), 42.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ผู้นิพนธ์ต้องรับผิดชอบข้อความในบทนิพนธ์ของตน มหาวิทยาลัยพะเยาไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับบทความที่ตีพิมพ์เสมอไป ผู้สนใจสามารถคัดลอก และนำไปใช้ได้ แต่จะต้องขออนุมัติเจ้าของ และได้รับการอนุมัติเป็นลายลักษณ์อักษรก่อน พร้อมกับมีการอ้างอิงและกล่าวคำขอบคุณให้ถูกต้องด้วย
The authors are themselves responsible for their contents. Signed articles may not always reflect the opinion of University of Phayao. The articles can be reproduced and reprinted, provided that permission is given by the authors and acknowledgement must be given.