The study of job embeddedness and turnover intention of beauty assistant in department stores, Bangkok area
Keywords:
Job embeddedness, Turnover Intention, Beauty assistantAbstract
การศึกษาวิจัย เรื่อง ปัจจัยการฝังตรึงในงานที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจลาออกของพนักงานขายเครื่องสำอางในห้างสรรพสินค้า เขตกรุงเทพมหานคร ผู้วิจัยได้กำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัยในครั้งนี้ คือ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการฝังตรึงในงานของพนักงานขายเครื่องสำอางในห้างสรรพสินค้า เขตกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อนำไปกำหนดแนวทางในการจัดการและนโยบายในการส่งเสริมการฝังตรึงในงานของพนักงานขายเครื่องสำอาง ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัย คือ พนักงานขายเครื่องสำอาง ของบริษัท A จำนวน 306 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัย คือ แบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย การหาค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) วิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ย ระหว่างตัวแปรโดยใช้ t-test และทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างที่มีมากกว่า 2 กลุ่มโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวน F-test (Analysis of Variance : ANOVA) วิเคราะห์ความแตกต่างรายคู่โดยวิธี Least Square Difference (LSD) และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นพนักงานขาย อายุ 20 - 25 ปี สถานภาพโสดระดับการศึกษาปริญญาตรี มีภูมิลำเนาต่างจังหวัดและอัตราเงินเดือน 15,000 - 20,000 บาท ปัจจัยที่ส่งผลต่อการฝังตรึงในงาน ได้แก่ ด้านความลงตัวกับองค์กรและสภาพแวดล้อมโดยรอบมากที่สุด รองลงมา คือด้านสิ่งที่ต้องสละทางวัตถุหรือจิตใจเมื่อออกจากงาน ด้านความเชื่อมโยงกับบุคคลในองค์กรและครอบครัว ตามลำดับ
งในงานของพนักงานขายเครื่องสำอาง ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัย คือ พนักงานขายเครื่องสำอาง ของบริษัท A จำนวน 306 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัย คือ แบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย การหาค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) วิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ย ระหว่างตัวแปรโดยใช้ t-test และทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างที่มีมากกว่า 2 กลุ่มโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวน F-test (Analysis of Variance : ANOVA) วิเคราะห์ความแตกต่างรายคู่โดยวิธี Least Square Difference (LSD) และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นพนักงานขาย อายุ 20 - 25 ปี สถานภาพโสดระดับการศึกษาปริญญาตรี มีภูมิลำเนาต่างจังหวัดและอัตราเงินเดือน 15,000 - 20,000 บาท ปัจจัยที่ส่งผลต่อการฝังตรึงในงาน ได้แก่ ด้านความลงตัวกับองค์กรและสภาพแวดล้อมโดยรอบมากที่สุด รองลงมา คือด้านสิ่งที่ต้องสละทางวัตถุหรือจิตใจเมื่อออกจากงาน ด้านความเชื่อมโยงกับบุคคลในองค์กรและครอบครัว ตามลำดับ
References
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2543). จอมปราชญ์นักการศึกษา:สังเคราะห์ วิเคราะห์และประยุกต์แนวทางพระราชดำรัสด้านการศึกษาและพัฒนาคน. กรุงเทพมหานคร: ด่านสุทธาการพิมพ์.
เกวลิน พวงย้อยแก้ว เศรษฐกร, สมฉวี ศิริโสภณา, มัญชรี ผอบทิพย์, และณัทกิจพัฒน์ หอมวิจิตรกุล. (2561). ทฤษฎีการฝังตรึงในงาน: การทบทวนวรรณกรรม Job Embeddedness Theory: A Literature Review. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 5(2), 161-173.
ณัฏฐพันธ์ เขจรนันท์. (2545). การจัดการทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ณัฐาพร จริยะปัญญา. (2556). การวิเคราะห์โครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างการถ่ายทอดทางสังคมในองค์การ การฝังลึกในงาน และความอยู่ดีมีสุขของพนักงานธนาคาร.วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ธันย์ชนก ศรีสวัสดิ์. (2556). การศึกษาแนวทางการปฏิบัติในการธำรงรักษาบุคลากรที่มีสมรรถนะสูง : กรณีศึกษา สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์). มหาวิทยาลัยมหิดล, นครปฐม.
ธำรงศักดิ์ คงคาสวัสดิ์. (2550). Competency ภาคปฏิบัติ เขาทำกันอย่างไร?. กรุงเทพมหานคร. พิมพ์ครั้งที่ 2. สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).
นิลเนตร วีระสมบัติ. (2552). การคงอยู่ของแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชนของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต.กรุงเทพมหานคร, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ปกรณ์ ลิ้มโยธิน. (2555). ตัวแบบสมการโครงสร้างขององค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจจะลาออกจากงานของพนักงานโรงแรมในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาการจัดการ). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
กรมการจัดหางาน. (2560), วารสารสถานการณ์ตลาดแรงงาน. สืบค้นวันที่ 7 มกราคม 2562. ได้จาก: https://www.doe.go.th/prd/lmia/knowledge/param/ site/131/cat/20/sub/0/pull/category/view/cover-view
ศิณีย์ สังข์รัศมี. (2544). “การสร้างทีมงานที่มีประสิทธิภาพ”. วารสารพัฒนาชุมชน, 40 , 32-36.
สลักจิต ตันติบุญทวีวัฒน์ และคัคนางค์ มณีศรี. (2556). อิทธิพลของความเป็นส่วนหนึ่งในงาน ความพึงพอใจในงานและ ความผูกพันกับองค์การต่อความตั้งใจลาออก. Veridian E-Journal, 6(3), 699-717.
สวรรณกมล จันทรมะโน. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจที่จะลาออกจากงานของพนักงานสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal. 7(1).
อรยา วิศวไพศาล และเขมกร ไชยประสิทธ์. (2558). ความฝังตรึงในงานของพนักงานฝ่ายวิจัยทางคลินิกในประเทศไทย ขององค์การรับทำวิจัยตามสัญญา. วารสารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 1(4).
อัคครัตน์ พูลกระจ่าง. (2552). การพัฒนารูปแบบฝึกอบรม เพื่อพัฒนาพนักงานระดับปฏิบัติการสายการผลิตในสถานประกอบการ. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
Mitchell, T.R.; Holtom, B.C.; Lee, T.W.; Sablynski, C.J. and Erez, M. (2001). Why People Stay: Using Job Embeddedness to Predict Voluntary Turnover. Academy of Management Journal. 44: 1102-1121.
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
ผู้นิพนธ์ต้องรับผิดชอบข้อความในบทนิพนธ์ของตน มหาวิทยาลัยพะเยาไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับบทความที่ตีพิมพ์เสมอไป ผู้สนใจสามารถคัดลอก และนำไปใช้ได้ แต่จะต้องขออนุมัติเจ้าของ และได้รับการอนุมัติเป็นลายลักษณ์อักษรก่อน พร้อมกับมีการอ้างอิงและกล่าวคำขอบคุณให้ถูกต้องด้วย
The authors are themselves responsible for their contents. Signed articles may not always reflect the opinion of University of Phayao. The articles can be reproduced and reprinted, provided that permission is given by the authors and acknowledgement must be given.