การศึกษาคุณค่าของคำสอนในวรรณกรรมล้านนา เรื่อง โลกหานี
คำสำคัญ:
คำสอน, โลกหานี, ล้านนาบทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเนื้อหาคำสอนและคุณค่าคำสอนในวรรณกรรมล้านนาเรื่อง โลกหานี ข้อมูลที่นำศึกษาเป็นเอกสารต้นฉบับเรื่องโลกหานี 15 ฉบับ โดยศึกษาวิเคราะห์วรรณกรรมตามหลักวรรณคดีศึกษา
ผลการศึกษาพบว่า เรื่องโลกหานีนั้นมีความแพร่หลายในล้านนาและล้านช้าง ชื่อโลกหานีแสดงว่าเรื่องเดิมจะแสดงตำนานการเสื่อมของโลก และต่อมาได้เพิ่มเนื้อหาการสอนทางศีลธรรมเพื่อประโยชน์ทางโลกและการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคม สาเหตุที่เรื่องโลกหานีเปลี่ยนจากตำนาน นิทาน มาเป็นเรื่องการสอนศีลธรรมจรรยาเนื่องจากการการตีความชื่อเรื่องใหม่ เนื้อหาและคุณค่าที่สำคัญของคำสอนในเรื่องโลกหานี แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มแรกมุ่งเน้นคำสอนเกี่ยวกับโลก กล่าวถึงความเสื่อมสลายของโลกในเชิงกายภาพ ที่เกิดจาก ความเสื่อมด้านทางศีลธรรมของมนุษย์ กลุ่มสองเป็นคำสอนทางธรรม คำสอนยังคงสัมพันธ์เกี่ยวกับโลกและมนุษย์ที่เป็นหลักธรรมทั่วไปเพื่อให้คนในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข และกลุ่มสุดท้ายมุ่งการสอนเกี่ยวกับการเลือกคู่ครอง และความประพฤติทั่วไปของมนุษย์ คุณค่าของวรรณกรรมเรื่องนี้ คือ วิธีการสอนโดยใช้นิทานอุทาหรณ์เป็นตัวอย่างแสดงให้คนล้านนาตระหนักเรื่องความเสื่อมของโลกทั้งเชิงกายภาพและความเสื่อมของมนุษย์ และเกี่ยวข้องกับเรื่องศีลธรรมของคนในสังคมอันเป็นสาระสำคัญในเรื่องและด้วยเหตุที่คำสอนนี้เป็นเรื่องสากลที่ไม่ขึ้นอยู่กับยุคสมัยทำให้สามารถนำคำสอนและนิทานอุทาหรณ์มาผลิตเป็นสื่อการเรียนการสอนเพื่อสอนศีลธรรมจริยธรรมได้อย่างดี
References
ทรงศักดิ์ ปรางค์วัฒนากุล. (2557). วรรณกรรมคำสอนของล้านนา: ลักษณะเด่น ภูมิปัญญา และคุณค่า. เชียงใหม่: ศูนย์ล้านนาศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
นิรมล เกิดมงคล. (2542). การศึกษาวิเคราะห์วรรณกรรมเรื่องเฉลียวฉลาด ฉบับล้านนา. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. ภาษาและวรรณกรรมล้านนา, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
ประคอง นิมมานเหมินท์ และคณะ. บรรณาธิการ. (2554). นามานุกรมวรรณกรรมล้านนา. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
พระมหาจิตรการก์ หัวนา. (2546). การวิเคราะห์ปู่เถ้าสอนหลานฉบับล้านนา. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. ภาษาและวรรณกรรมล้านนา, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
สถาบันวิจัยสังคม. (2523). โลกสมมติราช (ความเชื่อและการปฏิบัติเกี่ยวกับการปลูกเรือน). สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อุดม รุ่งเรืองศรี. (2542). “โลกหานี” ใน สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคเหนือ เล่ม 12. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.
Buddhadatta Mahathera, A. P. (1968). Concise Pali- English Dictionary. Colombo: The Colombo Apothecaries.
Buddhadatta, A. P. (1997). A concise of Pali-English Dictionary. Delhi: Motilal Banarsidass.
Huxley, Andrew. (1997). 'The Traditions of Mahosadha': Legal Reasoning from Northern Thailand’ Bulletin of the School of Oriental and African Studies, University of London, Vol. 60, No. 2 (1997), 315-326.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ผู้นิพนธ์ต้องรับผิดชอบข้อความในบทนิพนธ์ของตน มหาวิทยาลัยพะเยาไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับบทความที่ตีพิมพ์เสมอไป ผู้สนใจสามารถคัดลอก และนำไปใช้ได้ แต่จะต้องขออนุมัติเจ้าของ และได้รับการอนุมัติเป็นลายลักษณ์อักษรก่อน พร้อมกับมีการอ้างอิงและกล่าวคำขอบคุณให้ถูกต้องด้วย
The authors are themselves responsible for their contents. Signed articles may not always reflect the opinion of University of Phayao. The articles can be reproduced and reprinted, provided that permission is given by the authors and acknowledgement must be given.