การศึกษาความคาดหวังและการรับรู้จริงต่อคุณภาพอาจารย์ที่ปรึกษาจากนักศึกษาสาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • ปริวัฒน์ จันทร์ทรง ส่วนงานวิจัย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • นิตต์อลิน ภูริชอุดมอังกูร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา 56000

คำสำคัญ:

ความคาดหวัง, การรับรู้จริง, อาจารย์ที่ปรึกษา, มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

บทคัดย่อ

การศึกษาความคาดหวังและการรับรู้จริงต่อคุณภาพอาจารย์ที่ปรึกษาของนักศึกษาสาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ประจำปีการศึกษา 2560 จำนวน 480 คน เพื่อนำไปวางแผนปรับปรุงคุณภาพ การให้คำปรึกษาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยการสำรวจข้อมูลด้านเพศ ชั้นปี ความถี่ในการเข้าพบ ประเภทของปัญหา ระดับความคาดหวังและระดับคุณภาพการให้คำปรึกษาด้านวิชาการ ด้านพฤติกรรมและ การปรับตัว ด้านการจัดกิจกรรม ด้านการบริหารจัดการระบบอาจารย์ที่ปรึกษาและคุณลักษณะที่ดีของการเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษาพบว่านักศึกษามีระดับความคาดหวังมากที่สุดในด้านคุณลักษณะที่ดีของการเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา รองลงมาเป็นคุณภาพการให้คำปรึกษาด้านวิชาการ และด้านการบริหารจัดการระบบอาจารย์ที่ปรึกษา ตามลำดับ ในส่วนของระดับการรับรู้จริง คุณภาพต่ำที่สุดด้านการให้คำปรึกษา ด้านพฤติกรรมและการปรับตัว รองลงมาเป็นคุณภาพการบริหารจัดการระบบอาจารย์ที่ปรึกษา และคุณภาพการให้คำปรึกษาด้านการจัดกิจกรรม ตามลำดับ ผลการเปรียบเทียบระดับการรับรู้จริงกับระดับความคาดหวังต่อคุณภาพอาจารย์ที่ปรึกษาพบว่ามีค่าติดลบทุกประเด็น แปลว่า นักศึกษาไม่พึงพอใจต่อคุณภาพอาจารย์ที่ปรึกษา ซึ่งส่วนใหญ่จะไม่พึงพอใจ ในประเด็นเกี่ยวกับการให้คำปรึกษาที่จะสามารถช่วยเหลือนักศึกษาเกี่ยวกับเทคนิคการเรียน การจดบันทึก การอ่าน การเขียนตอบข้อสอบ ตลอดจนการจัดทำรายงานในรายวิชาต่าง ๆ ประเด็นที่เกี่ยวกับตารางเวลา นัดหมายการให้คำปรึกษาแต่ปรากฏว่าอาจารย์ที่ปรึกษาไม่ได้อยู่รอพบ รองลงมาคือประเด็นการเก็บประวัติการให้คำปรึกษาและรายงานอย่างเป็นระบบ ถัดไปคือประเด็นเกี่ยวกับการสนับสนุนการเรียนของนักศึกษาที่มีความสามารถพิเศษให้ประสบผลสำเร็จสูงสุด และประเด็นที่เกี่ยวกับการให้คำปรึกษาปัญหาส่วนตัวของนักศึกษา ตามลำดับ ดังนั้น จึงเสนอแนะว่าให้ใช้เทคโนโลยีเพื่อการสื่อสารทุกช่องทางการติดต่อเพื่อให้นักศึกษาเลือกตามความสะดวก จัดกลุ่มที่อาจารย์ปรึกษาไว้ 3 กลุ่มหลัก คือ ด้านวิชาการ ด้านพฤติกรรมและการปรับตัว และด้านกิจกรรม รวมถึงการจัดทำคู่มือการขอรับคำปรึกษาสำหรับนักศึกษาและคู่มือการให้คำปรึกษาสำหรับอาจารย์ที่ปรึกษา

Author Biography

ปริวัฒน์ จันทร์ทรง, ส่วนงานวิจัย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

 

     

References

กองบริการวิชาการ. (2556). คู่มืออาจารย์ที่ปรึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ฉบับปรับปรุงแก้ไขพุทธศักราช 2556. กรุงเทพฯ: มหิวทยาลัยเกษตรศาสตร์.

กองพัฒนานักศึกษา. (2552). คู่มืออาจารย์ที่ปรึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

กันยา สุวรรณแสง. (2544). จิตวิทยาทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์อักษรวิทยา.

ทรงกรด พิมพิศาล. (2554). คู่มือระบบการให้คำปรึกษาวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์. กาฬสินธุ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์.

ทิพาพร สุจารี. (2550). การวิเคราะห์องค์ประกอบคุณลักษณะอาจารย์ที่ปรึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. วารสารช่อพะยอม. 12, 104-109.

ธงชัย วงศ์เสนา. (2552). บทบาทอาจารย์ที่ปรึกษา. วารสารสำนักวิทยบริการและ เทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์. 4, 4.

นภดล เดชวาทกุล. (2539). สภาพและปัญหาในการปฏิบัติงานของอาจารย์ที่ปรึกษาในวิทยาลัยเทคนิค สังกัดกรมอาชีวศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

นันทา เกียรติกำจร. (2544). สภาพปัญหาและความต้องการในการปฏิบัติหน้าที่อาจารย์ที่ปรึกษาตามความคิดเห็นของอาจารย์และนักศึกษา มหาวิทยาลัยอาชีวศึกษาในภาคตะวันออก. กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

บันเทิง สุพจน์. (2542). คุณลักษณะของอาจารย์ที่ปรึกษากิจกรรมนิสิตในทัศนะของอาจารย์ที่ปรึกษากิจกรรมนิสิตและนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (การอุดมศึกษา) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

มหาวิทยาลัยทักษิณ. (2548). ข้อบังคับมหาวิทยาลัยทักษิณว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ.2548. สงขลา : มหาวิทยาลัยทักษิณ.

มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (2553). ข้อบังคับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2553. อุบลราชธานี : มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2525). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.

รุ่งโรจน์ อาริยะ. (2552). บทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษาในการลดปัญหาการออกกลางคันของนักเรียนวิทยาลัยการอาชีพเชียงคำ จังหวัดพะเยา. เชียงราย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

วรินธร สีเสียดงาม. (2560). ความคิดเห็นของนิสิต และอาจารย์ที่ปรึกษาที่มีต่อบทบาทหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษาในสาขาวิชาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. วารสารดนตรีรังสิต. 13(1), 15-26.

วัฒนา พัชราวนิช. (2539). หลักการแนะแนว. กรุงเทพฯ : ฝ่ายพัฒนาตำราและเอกสารวิชาการ หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมฝึกหัดครู.

วิจิตร บุญยธโรกุล. (2541) บทบาทอาจารย์ที่ปรึกษาด้านวิชาการของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 8(1), 22-29.

สลักใจ ศณีธราดล. (2557). บทบาทอาจารย์ที่ปรึกษาที่คาดหวัง ที่ปฏิบัติจริง และปัญหาเกี่ยวกับระบบอาจารย์ที่ปรึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่. รายงานวิจัย, สงขลา : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

สามารถ อัยกร. (2559). บทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษาในสถาบันอุดมศึกษา. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 10(2), 423-434.

สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ. (2539). คู่มืออาจารย์ที่ปรึกษาสถาบันราชภัฏ ฉบับปรับปรุง 2539. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สถาบันราชภัฏ.

สำเนาว์ ขจรศิลป์. (2534). ระบบอาจารย์ที่ปรึกษาวิชาการ ระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สิทธิโชค วรานุสันติกูล. (2529). การจัดการพฤติกรรมมนุษย์. มหาวิทยาลัยศิลปากรวิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.

สุจริต เพียรชอบ. (2523). หลักสูตรและแนวโน้มการพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพฯ : ภาควิชามัธยมศึกษาคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เสน่ห์ ระหว่างบ้าน และคณะ. (2551). ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อที่ปรึกษาหมู่เรียน มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง. รายงานการวิจัย, ราชบุรี : มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.

อุบลวรรณา ภวกานันท์ และคณะ. (2554). จิตวิทยาทั่วไป. (พิมพ์ครั้งที่ 7). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Getzels V.;et al.. (1974). ทฤษฎีและแนวคิดเกี่ยวกับความคาดหวัง. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2561 จาก https://www.novabizz.com/NovaAce/Behavior/Expectancy_Theory.htm

Oxford. (2000). Oxford Advanced Learner’s Dictionary. England: Oxford University Press.

Parasuraman, A., Zeithaml, V.A. and Berry, L.L. (1985). A Conceptual Model of Service Quality and Its Implications for Future Research. Journal of Marketing, 49(4), 41-50.

Schiffman, L. G., & Kanuk, L. L. (2000). ConsumerBbehavior (7th ed.). Upper Saddle River, N.J Prentice Hall.

Vroom, H Victor. (1964). Work and Motivation. Now York : Wiley and Sons Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-03-27

How to Cite

จันทร์ทรง ป., & ภูริชอุดมอังกูร น. (2019). การศึกษาความคาดหวังและการรับรู้จริงต่อคุณภาพอาจารย์ที่ปรึกษาจากนักศึกษาสาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. Trends of Humanities and Social Sciences Research, 7(1), 72–100. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/Humanties-up/article/view/206312