Factors Effecting to Achievement in Learning of the Basic Education

Authors

  • ประภาภรณ์ วงค์แพทย์ School of Education, University of Phayao

Keywords:

Factors Effecting, Achievement, Basic Education

Abstract

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของสถานศึกษา     ขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างเป็นครูระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2555 ในเขตภาคเหนือตอนบน 8 จังหวัด จำนวน 640 คน ที่ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามความคิดเห็น  ลักษณะเป็นมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติวิเคราะห์ SEM โปรแกรม LISREL 8.72 ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ การสังเคราะห์เอกสารเกี่ยวกับตัวแปรที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบตัวแปรแฝง จำนวน 5 ตัวแปร และตัวแปรที่สังเกตได้ จำนวน 15 ตัวแปร ตามลำดับดังนี้ 1) ตัวแปรผู้บริหารสถานศึกษา วัดจากตัวแปรภาวะผู้นำด้านวิชาการและความรับผิดชอบทางการศึกษา 2) ตัวแปรครูผู้สอน วัดจากตัวแปรคุณภาพการสอน การจัดการชั้นเรียน  และการจัดการเรียนรู้ 3) ตัวแปรผู้เรียน วัดจากตัวแปรเจตคติต่อการเรียน เวลาที่ใช้ในการเรียนรู้เพิ่มเติม แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ความรู้พื้นฐานเดิม และความตั้งใจเรียน 4) ตัวแปรครอบครัว วัดจากตัวแปรเศรษฐกิจของครอบครัว บรรยากาศภายในครอบครัว และความรับผิดชอบของครอบครัว 5) ตัวแปรชุมชน วัดจากตัวแปรการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา และความสัมพันธ์ของชุมชนกับสถานศึกษา การวัดความสอดคล้องของโมเดลสมการโครงสร้างปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พบอยู่ในเกณฑ์ดี โดยมีค่าไค-สแคว์ (gif.latex?\dpi{120}&space;\large&space;\dpi{120}&space;\large&space;{x}2) เท่ากับ 38.053  ค่าองศาอิสระ (df) เท่ากับ 29 ค่านัยสำคัญทางสถิติ (P-Value) เท่ากับ 0.121 ค่าไค-สแคว์ต่อองศาอิสระ (gif.latex?\dpi{120}&space;\large&space;\frac{x}{df})เท่ากับ 1.31 ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้อง (GFI) เท่ากับ 0.993  ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้องที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.965  ดัชนีวัดระดับความสอดคล้องเปรียบเทียบ (CFI) เท่ากับ  1.000  ค่ารากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของความคาดเคลื่อนมาตรฐาน (RMSEA) เท่ากับ 0.022 และค่าขนาดตัวอย่างวิกฤติ (CN)  เท่ากับ  819.915 การศึกษาอิทธิพลของปัจจัยที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มี 3 ปัจจัย คือ 1) ครูผู้สอน 2) ผู้เรียน 3) ครอบครัว  ส่วนปัจจัยที่มีอิทธิพลทางอ้อมมี 2 ปัจจัย คือ 1) ปัจจัยผู้บริหารสถานศึกษาส่งผ่านครูผู้สอนและผู้เรียนไปยังผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  2) ชุมชนส่งผ่านผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอนและผู้เรียนไปยังผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  ตามลำดับ  

References

ธีระ รุญเจริญ. (2553). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษา : ยุคปฏิรูปการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง; หน้า 11-13,17.

พร้อมพิไล บัวสุวรรณ. (2554). ครอบครัวและโรงเรียน หุ้นส่วนเพื่อคุณภาพของผู้เรียน.พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: แสงดาว; หน้า 4, 58.

สำนักทดสอบการศึกษา. (2552). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ทำให้คะแนนการทดสอบ O-NET ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ต่ำ. รายงานวิจัย. สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน), กรุงเทพฯ; หน้า94.

รุ่ง แก้วแดง. ผลการวิจัยชี้ระบบโรงเรียนที่ดีที่สุดในโลกต้องเริ่มต้นที่คุณภาพครู. มติชน ออนไลน์. 16 มิถุนายน 2555 (1). ได้จาก: URL: http:// www.Matichon.co.th/new_detail. Php?Newside= 1340092595. สืบค้นเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2555.

วิจิตร ศรีสะอ้าน. วิจิตรชี้การศึกษาไทยขาดผู้นำ. คม ชัดลึก ออนไลน์.10 กรกฎาคม 2555 (1). ได้จาก: URL: http:// www. komchadluek.net/section/ การศึกษา. สืบค้นเมื่อวันที่11 กรกฏาคม 2555.

อุทุมพร จามรมาน. (2552). สรุปผลการประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาระดับชาติปีการศึกษา 2549-2551. สำนักทดสอบทางการศึกษา. กรุงเทพฯ. หน้า 4.

กลิ่น สระทองเนียม. ปัญหาครูขาดแคลน และ ปัญหาครูขาดคุณภาพ. เดลินิวส์ ออนไลน์. 22 กุมภาพันธ์ 2554. ได้จาก: URL: http:// www.dailynews.co.th/education. สืบค้นเมื่อวันที่17 มิถุนายน 2555.

ศิริพร บุญญานันต์. ผลการวิจัยชี้ระบบโรงเรียนที่ดีที่สุดในโลกต้องเริ่มต้นที่คุณภาพครู. มติชน ออนไลน์.16 มิถุนายน 2555. ได้จาก: URL: http:// www. Matichon.co.th/new_detail. Php? Newside = 1340092595.สืบค้นเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2555.

Downloads

Published

2019-07-02

How to Cite

วงค์แพทย์ ป. (2019). Factors Effecting to Achievement in Learning of the Basic Education. Trends of Humanities and Social Sciences Research, 2(3), 42–56. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/Humanties-up/article/view/200536

Issue

Section

Research Article