รูปแบบการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
คำสำคัญ:
รูปแบบ, การบริหาร, โรงเรียนมัธยมศึกษา, หลักปรัชญา, เศรษฐกิจพอเพียงบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์หลักการวิจัยนี้เพื่อ พัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดย 1) การศึกษาสภาพและแนวทางการบริหาร 2) การสร้างรูปแบบการบริหาร และ 3) การประเมินความเป็นไปได้ ของรูปแบบการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
การวิจัยมี 3 ขั้นตอน คือ 1) สภาพการบริหารวิเคราะห์ สังเคราะห์เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และจากการตอบแบบสอบถามของผู้บริหาร หัวหน้ากลุ่มงาน และครูผู้สอน จำนวน 845 คน โดยหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แนวทางการบริหารใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างสัมภาษณ์ผู้บริหาร 10 คน 2) นำผลจากการวิจัยในขั้นตอนที่ 1 มาสร้างและตรวจสอบความเหมาะสม และสรุปข้อมูลโดยการพิจารณาฉันทามติของการสนทนากลุ่มจากผู้ทรงคุณวุฒิ และ 3) ประเมินความเป็นไปได้โดยกลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหาร หัวหน้ากลุ่มงาน และครูผู้สอน จำนวน 370 คน วิเคราะห์ผลด้วยค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลจากการวิจัย พบว่า
- สภาพการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก และมีแนวทางการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน บูรณาการหลักการทรงงาน กับความรู้ที่เป็นสากล และภูมิปัญญาท้องถิ่นตามแนวทางสายกลาง ยึดหลักความพอเพียง ระเบียบ และกฎหมาย บริหารทรัพยากรทางการศึกษาที่มีอยู่ให้เพียงพอกับภาระงาน กิจกรรมการเรียนการสอน การนิเทศติดตาม การประเมินผล ส่งเสริมการศึกษาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กิจกรรมพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน ครู และผู้บริหารตามศักยภาพ สอดคล้องกับภูมิสังคมในมิติด้าน เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
- รูปแบบการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงรองรับการเปลี่ยนแปลง ประกอบด้วยหลักการ และกระบวนการบริหาร 5 ด้าน ได้แก่ การตัดสินใจ การวางแผน การปฏิบัติการ การประเมินผล และการปรับปรุงแก้ไข โดยในแต่ละกระบวนการบริหารยึดแนวทางสายกลางตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
- การประเมินรูปแบบการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามกระบวนการบริหาร 5 ด้าน ได้แก่ การตัดสินใจ การวางแผน การปฏิบัติการ การประเมินผล และการปรับปรุงแก้ไข พบว่า มีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก
References
ธีระ รุญเจริญ. การบริหารโรงเรียนยุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง; 2550.
กระทรวงศึกษาธิการ. คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเพทฯ: (องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.); 2546.
__________________________. รายงานวิจัยผลกระทบโลกาภิวัตน์ต่อการจัดการศึกษาไทยใน 5 ปีข้างหน้า. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ออฟเชท เพรส จำกัด; 2550.
มูลนิธิสยามกัมมาจล. ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง: จากหลักคิดสู่วิถีปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชซิ่ง จำกัด (มหาชน); 2556.
สุรินทร์ ภูสิงห์. การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาโดยบูรณาการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนมัธยมศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ กศ.ด. (การบริหารและพัฒนาการศึกษา), มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, มหาสารคาม. 2552.
ธีระ รุญเจริญ. ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษา ยุคปฏิรูปการศึกษาเพื่อปฏิรูปรอบ 2 และประเมินภายนอกรอบ 3 (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง; 2553.
กังวาล ปัญญานิรมิตร. การบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง: กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านเหลื่อมพิทยาสรรพ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2556.
ทัศนีย์ ลักขณาภิชนชัช. โครงการศึกษาโรงเรียนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสาร; 2550.
เกษม วัฒนชัย (วิทยากร). (25 สิงหาคม 2554).CSR ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. (พิมพ์ครั้งที่ 2, 2556, กรุงเทพฯ: สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์). ห้องประชุมบอลรูม 3 ชั้น Lobby โรงแรมแกรนด์ไฮแอท เอราวัณ: CSR Club สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย.
จรวยพร ธรณินทร์ (ผู้บรรยาย). (6 ธันวาคม 2550). การนำเศรษฐกิจพอเพียงสู่ระบบการศึกษา. หอประชุมมหาวิทยาลัยราชภัฏ-นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
ธีระ รุญเจริญ, จำเริญรัตน์ จิตต์จิรจรรย์, วรสิทธิ์ รัตนวราหะ. รายงานการวิจัยโครงการสังเคราะห์การประเมินตนเองของโรงเรียนศูนย์สถานศึกษาพอเพียง. กรุงเทพฯ: มูลนิธิยุวสถิรคุณ; 2557.
หอการค้าไทย. เศรษฐกิจพอเพียง: ปรัชญาใหม่ในยุคโลกาภิวัตน์ (Sufficiency Economy: A new Philosophy in the Global World). กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง; 2550.
ทิศนา แขมมณี. ถอดรหัสปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2558.
กนิษฐา นาวารัตน์ และ คณะ. พจนานุกรมอังกฤษ-ไทย (Times-chambers Learners’ Dictionary. กรุงเทพฯ: ดอกหญ้า; 2540.
Cambridge Advanced Learner’s Dictionary (3rded.). Singapore: Green Giant Press.
สาคร สุขศรีวงศ์. การจัดการ: จากมุมมองนักบริหาร (พิมพ์ครั้งที่ 9) (Management: from the Executive’s Viewpoint) กรุงเทพฯ: บริษัท จี.พี.- ไซเบอร์พรินทร จำกัด; 2555.
สมเดช สีแสง. คู่มือบริหารโรงเรียน สถานศึกษาขั้นพื้นฐานตาม พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ (พิมพ์ครั้งที่ 3). นครสวรรค์: ริมปิงการพิมพ์; 2554.
อินาโมริ คาซึโอะ. ถอยก็ตาย วิกฤติยังไงก็ต้องสู้. (สุดารัตน์ เอื้อเปี่ยมมงคล, ผู้แปล). กรุงเทพ: ตถาตา พับลิเคชั่น. (ต้นฉบับภาษาญี่ปุ่น พิมพ์ ค.ศ. 2013). 2559.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ผู้นิพนธ์ต้องรับผิดชอบข้อความในบทนิพนธ์ของตน มหาวิทยาลัยพะเยาไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับบทความที่ตีพิมพ์เสมอไป ผู้สนใจสามารถคัดลอก และนำไปใช้ได้ แต่จะต้องขออนุมัติเจ้าของ และได้รับการอนุมัติเป็นลายลักษณ์อักษรก่อน พร้อมกับมีการอ้างอิงและกล่าวคำขอบคุณให้ถูกต้องด้วย
The authors are themselves responsible for their contents. Signed articles may not always reflect the opinion of University of Phayao. The articles can be reproduced and reprinted, provided that permission is given by the authors and acknowledgement must be given.