ความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน

ผู้แต่ง

  • สราวุธ ตรีโรจน์พร โรงเรียนชุมพลโพนพิสัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 จังหวัดหนองคาย และบึงกาฬ 43120
  • แน่งน้อย ย่านวารี บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี 41000
  • พนายุทธ เชยบาล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี 41000

คำสำคัญ:

ผู้บริหารโรงเรียน, ความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรค

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ที่ปฏิบัติงานในปีการศึกษา 2557 จำนวน 254 คน ได้มาจากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น โดยใช้ขนาดของโรงเรียนเป็นเกณฑ์จัดชั้นเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่มีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.81 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสถิติสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดย การแจกแจงความถี่ หาร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และทดสอบความแตกต่างระหว่างกลุ่มเป็นรายคู่ตามวิธีการของเชฟเฟ่

             ผลการวิจัยพบว่า ความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน อยู่ในระดับสูง เมื่อปรียบเทียบกันจำแนกตามขนาดของโรงเรียน และจำแนกตามประสบการณ์ทางการบริหาร มีความแตกต่างกัน แต่เมื่อจำแนกตามเพศ ไม่แตกต่างกัน

References

กนกพร อู่ทองมาก. การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการเผชิญอุปสรรคและการปฏิบัติงานของครูผู้สอนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการแนะแนว มหาวิทยาลัยนเรศวร. 2548.

กรมสามัญศึกษา. การจัดบรรยากาศ และสิ่งแวดล้อมที่ดีในโรงเรียน. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว; 2543.

เกสร ภูมิดี. ความสัมพันธ์การศึกษาความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรคของนักเรียนที่มีบุคลิกภาพและรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูแตกต่างกัน. วิทยานิพนธ์ ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 2546.

ชุษณมน ชัยโยธา. ความสามารถในการเผชิญอุปสรรคของครูประถมศึกษา กลุ่มรัตนโกสินทร์ สังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง.2550.

บังอร สาคลาไคล. พฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรสงคราม. วิทยานิพนธ์ปริญญา ศึกษาศาสตร- มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร. 2550.

มัณฑรา ธรรมบุศย์. AQ กับความสำเร็จของชีวิต. วารสารวิชาการ, 2544. 4(9), 12-17.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. การศึกษาองค์ความรู้เกี่ยวกับคุณลักษณะของคนไทยที่พึงประสงค์: ความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรค. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค; 2525.

อาริยา เมฆาธร. บทบาทของสตรีในการเป็นผู้นำทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: มิตรครู; 2534.

Bennis, G.W. Managing the dream: Reflections on leadership and change. Cambridge: Mass Perseus. 2000.

Stollberg, R. J. Problem Solving, The Process Games in Science Teaching. Science Teacher, 1956. 23, 225-228.

Stoltz, P. G. Adversity quotient: Turning obstacles into opportunities. New York: United States of America. 1997.

_______. Adversity quotient. New York: Harper Collines. 1997.

_______. Adversity quotient @ Work. New York: Harper Collines. 2000.

Warren, G. B. Managing the dream: Reflections on leadership and change. Cambridge, Mass: Perseus. 2000.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-28