การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเสริมสร้างสมรรถภาพการสอนตามแนวคิด การฝึกหัดทางปัญญาสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู
คำสำคัญ:
รูปแบบการเรียนการสอน, เสริมสร้างสมรรถภาพการสอน, การฝึกหัดทางปัญญา, นักศึกษาวิชาชีพครูบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเสริมสร้างสมรรถภาพการสอนตามแนวคิดการฝึกหัดทางปัญญาสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู และ 2) ประเมินคุณภาพของรูปแบบการเรียนการสอนการเสริมสร้างสมรรถภาพการสอนตามแนวคิดการฝึกหัดทางปัญญาสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู การวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ (1) การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน (2) การนำรูปแบบการเรียนการสอนไปทดลองใช้เพื่อประเมินคุณภาพรูปแบบการเรียนการสอน ประชากร คือ นักศึกษาวิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาวิชาชีพครูชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ที่เลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวนทั้งหมด 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบวัดความรู้ความเข้าใจการออกแบบการเรียนรู้และการจัดการเรียนการสอน 2) แบบประเมินทักษะการออกแบบการเรียนรู้และการจัดการเรียนการสอน และ 3) แบบวัดเจตคติต่อวิชาชีพครู วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (s) และทดสอบค่าที (t - test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
- รูปแบบการเรียนการสอนเสริมสร้างสมรรถภาพการสอนตามแนวคิดการฝึกหัดทางปัญญาที่พัฒนาขึ้น มีขั้นตอนการจัดการเรียนการสอนเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 ขั้นการจัดเตรียมของครู 1) การคัดเลือกตัวแบบตามเกณฑ์ 1.2) เตรียมตัวแบบที่เหมาะสมตามเกณฑ์ ระยะที่ 2 ขั้นผู้เรียนสร้างความรู้ ก. ภาคทฤษฎี 2.1) ขั้นสังเกต 2.2) ขั้นสรุปความรู้ 2.3) ผู้เรียนนำความรู้ไปใช้ 2.4) ผู้เรียนสะท้อนการเรียนรู้ ข. ภาคปฏิบัติ 2.5) ขั้นเตรียมฝึกปฏิบัติ 2.6) ขั้นฝึกปฏิบัติการสอน 2.7) ขั้นสรุปผลการเรียนรู้ 2.8) ขั้นประเมินทักษะการเรียนรู้
- ผลการประเมินคุณภาพของรูปแบบการเรียนการสอนโดยการนำไปใช้ทดลองสอน พบว่า 2.1) กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ความเข้าใจการออกแบบการสอนและการจัดการเรียนการสอน สูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.2) กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะการออกแบบการสอนและการจัดการเรียนการสอน สูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.3) กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนเจตคติต่อวิชาชีพครูสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
คณะอนุกรรมการการพัฒนาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต. หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (5 ปี) ราชภัฏ. กรุงเทพฯ: สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา; 2545.
ทิศนา แขมมณี. ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์-มหาวิทยาลัย; 2545.
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. คู่มือผู้ประกอบ วิชาชีพทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภา, 2547.
สำนักงานคณธกรรมการการศึกษาแห่งขาติ. การปฏิรูปการศึกษาไทย. กรุงเทพมหานคร: 21 เซ็นจูรี่; 2545.
สำนักงานปฏิรูปการศึกษา. ทำไมการปฏิรูปการศึกษาต้องทำทั้งระบบ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: ศิริการพิมพ์; 2545.
สำนักงานสภาราชภัฏ. สรุปผลการศึกษาวิจัยแนวทางการพัฒนาหลักสูตร การฝึกหัดครูของสถาบันราชภัฏ. กรุงเทพมหานคร: เสมาธรรม; 2545.
Blanchard & Thacker. Social foundations of thought and action: A social cognitive theory. New Jersey: Prentice Hall; 2004.
Bransford, Brown & Cocking. Classroom Instructional and Management. New York: McGraw-Hill Companies; 2000.
Ghefaili. Educational Psychology: developing learners. 3 rd ed. New Jersey: prentice Hall; 2003.
Haggarty. Educational Psychology: Theory and Practice. Fourth Edition. Needham Heights: Allyn and Bacon; 2002.
Hein. A Pedagogy for Liberation: Dialogues on Transforming Education. Massachusetts: Bergin & Garvey; 2002.
Joyce, B. & Weil, M. Models of teaching. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall; 2002.
Lickona, Schapps, and Lewis. A Curriculum planning for better teaching and learning. New York: Holt, Reinhart and Winston; 2002.
Vygotsky, L. S. Mind in Social: The Development of Higher Psychological Process. Cole, Micheal and others. Editors. Cambridge: Haward University Press; 1977.
Zimmerman, B, J. Self- regulation in education in education: Retrospect and prospect. In Self – regulation of learning and performance. Issues and educational application. New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates; 1994.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ผู้นิพนธ์ต้องรับผิดชอบข้อความในบทนิพนธ์ของตน มหาวิทยาลัยพะเยาไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับบทความที่ตีพิมพ์เสมอไป ผู้สนใจสามารถคัดลอก และนำไปใช้ได้ แต่จะต้องขออนุมัติเจ้าของ และได้รับการอนุมัติเป็นลายลักษณ์อักษรก่อน พร้อมกับมีการอ้างอิงและกล่าวคำขอบคุณให้ถูกต้องด้วย
The authors are themselves responsible for their contents. Signed articles may not always reflect the opinion of University of Phayao. The articles can be reproduced and reprinted, provided that permission is given by the authors and acknowledgement must be given.