คุณลักษณะอาสาสมัครที่มีผลต่อบทบาท อาสาสมัครสาธารณสุข

ผู้แต่ง

  • ชาญณรงค์ วงค์วิชัย คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรุงเทพมหานคร 10200

คำสำคัญ:

คุณลักษณะอาสาสมัคร, บทบาทอาสาสมัคร, อาสาสมัครสาธารณสุข

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่อง “คุณลักษณะอาสาสมัครที่ส่งผลต่อบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุข” โดยมุ่งเน้นกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข ในเขตจังหวัดนนทบุรี โดยการศึกษาเป็นการศึกษาผ่านพื้นที่ทดลองใน 2 พื้นที่ บริบทพื้นที่ความเป็นเมืองศึกษา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลไขแสง กำเนิดมี ตำบลบางเขน อำเภอเมืองนนทบุรี  บริบทพื้นที่ชนบทศึกษา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวัดยอดพระพิมล ตำบลขุนศรี อำเภอไทรน้อย โดยมีกลุ่มตัวอย่างในการศึกษา 120 คน จากกลุ่มประชากรบัญชีรายชื่ออาสาสมัครสาธารณสุขจำนวน 171  คน  การวิจัยมีวัตถุประสงค์การศึกษาเพื่อค้นหาคุณลักษณะของอาสาสมัคร คุณลักษณะใดมีอิทธิพลต่อบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุข ดังนั้นการศึกษาในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (survey research) วิเคราะห์คุณลักษณะอาสาสมัครและบทบาท ด้วยข้อมูลทางสถิติด้วยการหาความถี่ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน (Stepwise multiple regression analysis) เพื่อศึกษาข้อมูลส่วนบุคคล และสร้างสมการทำนายคุณลักษณะอาสาสมัครสาธารณสุขที่มีผลต่อบทบาทอาสาสมัคร

ผลการศึกษาพบว่า อาสาสมัครสาธารณสุขมีคุณลักษณะสำนึกร่วมหรือความเป็นเจ้าของร่วมเกิดการเสียสละและผูกพัน และความรู้สึกอิสระในการเป็นผู้เลือกงานอาสาสมัครที่ตนเองสนใจ จะทำให้บทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขเด่นชัดมากขึ้น และในทางกลับกันถ้าอาสาสมัครสาธารณสุขมีคุณลักษณะดังกล่าวน้อยลงเท่าไร จะทำให้บทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขลดลงด้วย โดยคุณลักษณะที่ส่งผลต่อบทบาทของอาสาสมัครมากที่สุดคือ คุณลักษณะสำนึกร่วมหรือความเป็นเจ้าของร่วมเกิดการเสียสละและผูกพัน และความรู้สึกอิสระในการเป็นผู้เลือกงานอาสาสมัครที่ตนเองสนใจ 

จากข้อค้นพบดังกล่าวเป็นแนวทางในการสร้างแรงจูงใจในการเข้าร่วมทำงานในระบบอาสาสมัครสาธารณสุข และสามารถพัฒนาเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายต่อการพัฒนาอาสาสมัครสาธารณสุขต่อไป

References

โกมาตร จึงเสถียรทัพย์. (2549). ศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขในสถานการณ์การเปลี่ยนแปลง: การสังเคราะห์ความรู้สู่ยุทธศาสตร์การพัฒนา. กรุงเทพฯ: สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข.

พรรณี ชูทัยเจนจิต. (2538). จิตวิทยาการเรียนการสอน (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: คอมแพคท์ปริ้น.

นพมาศ อุ้งพระ ธีรเวคิน. (2551).ทฤษฎีบุคลิกภาพและการปรับตัว. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นพมาศ อุ้งพระ ธีรเวคิน. (2539). การเสียสละและพฤติกรรมเพื่อสังคมในจิตวิทยาสังคมกับชีวิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สมพร เทพสิทธา. (2541). อุดมการณ์และบทบาทอาสาสมัคร แนวคิด และทิศทางการพัฒนางานอาสาสมัครในไทย. กรุงเทพฯ: สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยในพระบรมรานินูปถัมภ์.

สุพานี สกฤฏ์วาณิช. (2552). พฤติกรรมองค์การสมัยใหม่: แนวคิด ทฤษฎี (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุรัสวดี หุ่นพยนต์ และ ภูมิธรรม เวชยชัย. (2527). ปัญหาการดำเนินงานของหน่วยงานอาสาสมัครในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุนิตย์ เชรษฐา. (2548). การศึกษาและประยุกต์บทเรียนงานอาสาสมัครจากต่างประเทศเพื่อการพัฒนาระบบอาสาสมัครในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: ไทยรูรัลเน็ต TRN, ภายใต้มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย, ในพระบรมราชูปถัมภ์.

ศุภรัตย์ รัตนมุขย์. (2551). ระบบการบริหารจัดการงานอาสาสมัคร ศึกษากรณี มูลนิธิพุทธฉื้อจี้ ไต้หวัน. กรุงเทพฯ: เชน ปริ้นติ้ง.

ศรีเรือน แก้วกังวาล. (2548). ทฤษฎีจิตวิทยาบุคลิกภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: หมอชาวบ้าน.

ศรีเรือน แก้วกังวาล. (2558). จิตวิทยาบุคลิกภาพร่วมสมัยและจิตบำบัด. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: หมอชาวบ้าน.

ปิยากร หวังมหาพร. (2556). พัฒนาการเชิงนโยบายอาสาสมัครไทย: จากความมั่นคงสู่การพัฒนาสังคม. วารสารวิชาการ ม.ศรีปทุม. ฉบับที่ 43 ปีที่ 5 , น.16-17

ไพศาล วิสาโล. (2550). ศาสตร์และศิลป์แห่งการจัดการความดี : ศึกษากรณีมูลนิธิฉือจี้. วารสารศูนย์คุณธรรม. ฉบับที่ 3 ปีที่ 2 , น.42

จารณี สุขสม. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาวิชาชีพสื่อสารมวลชนในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน, สาขาสื่อสารมวลชน.

ทัศพร ชูศักดิ์. (2554). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) พื้นที่สาธารณสุขเขต 18. ดุษฎีนิพนธ์, หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการ, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยคริสเตียน.

พิศาล โพธิ์ทองแสงอรุณ. (2555). การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้บริหารกับผู้ปฏิบัติงานภายในกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมน้ำตาล. ดุษฎีนิพนธ์, สาขาวิชาการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์ ภาควิชาสังคมศาสตร์, คณะศิลปศาสตร์ประยุกต์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

นภัสวรรณ ตู้ปัญญากนก. (2550). บุคลิกภาพแบบ MBTI เชาวน์อารมณ์ ที่มีต่อคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานต้อนรับภาคพื้นดิน : กรณีศึกษาสายการบินต้นทุนต่ำสายการบินหนึ่ง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะศิลปศาสตร์ สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ.

สุภาวดี นพรุจจินดา. (2553). องค์ประกอบภาวะผู้นำของผู้บริหารวิทยาลัยพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข. ดุษฎีนิพนธ์, มหาวิทยาลัยศิลปากร, คณะศึกษาศาสตร์, หลักสูตรปรัชญาปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา, ภาควิชาบริหารการศึกษา.

สุพัฒนา บุญแก้ว. (2556). ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมอาสาสมัครของอาสายุวกาชาด ในเขตกรุงเทพมหานคร.ปริญญานิพนธ์,มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ, สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์, วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์.

อัญพร พูลทรัพย์ (2546). บุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ (the big five) กับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ : กรณีศึกษากองรายได้ การประปานครหลวง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะศิลปศาสตร์, สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ.

กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน.(2556) คู่มือ อสม.นักจัดการสุขภาพชุมชน . (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: หมอชาวบ้าน.

นราเขต ยิ้มสุข. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของผู้ประกอบการกับความสำเร็จของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดย่อม : กรณีศึกษาธุรกิจไม้ดอกไม้ประดับในอำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก. การค้นคว้าแบบอิสระ,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะศิลปศาสตร์ สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ.

ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน). (2550).รายงานผลการสํารวจ เรื่องสถานภาพคุณธรรมของประชาชนในสังคมไทย.

ศศิพัฒน์ ยอดเพชร. (2534). รายงานการวิจัยเรื่องอาสาสมัครกับการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์. กรุงเทพฯ : คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

จารุพงศ์พลเดช. (2551). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. (ออนไลน์) สืบค้นจาก www.lopburi.go.th/governor/ book_january_51/human.doc.

Feist,J and Feist, Gregory J. (2006). Theories of Personality (6rd edition). New York: McGrawhill.

Maslow, A. H. (1954). Motivation and Personality. New York : Harper and Row.

Hjelle,L.A. and Zieger, D.J. (1992). Personality Theories: Basic Assumption, Research,and Application. (3rd edition). New York : McGrawhill.

UNV. (2004). Guidance Note on Volunteer Infrastructure. New York : McGrawhill.

Charities Aid Foundation, (2015). CAF WORLD GIVING INDEX 2015 Inhttps://www.cafonline.org/about-us/publications/2015-publications/world-giving-index-2015

Hamilton, Matthew and Hussain, Afshan. cAmericaus TeenageVolunteers: Civic Participation Begins Early in Life, in http://www.independentsector.org/programs/research/teenvolun1.pdf

Oliner, Samuel. (1999) Extraordinary Acts of Ordinary People: Faces of Heroism and Altruisme in http://www.altruisticlove.org/docs/s_oliner.html.

Penny Edgell Becker and Pawan H. Dhingra.(2001) Religious Involvement and Volunteering:Implications for Civil Societye, inhttp://www.findarticles.com/p/articles

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-24

How to Cite

วงค์วิชัย ช. (2019). คุณลักษณะอาสาสมัครที่มีผลต่อบทบาท อาสาสมัครสาธารณสุข. Trends of Humanities and Social Sciences Research, 5(1), 123–151. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/Humanties-up/article/view/197170