การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิต สาขาวิศวกรรม อุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

ผู้แต่ง

  • อัจฉราวดี แก้ววรรณดี สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัด พะเยา 56000
  • เอราวิล ถาวร สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัด พะเยา 56000

คำสำคัญ:

การวิเคราะห์เชิงสถิติ, การศึกษาความสัมพันธ์, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ซึ่งมีอัตราการลาออกกลางคัน (Dropout Rate) ของนิสิตชั้นปีที่ 1 อยู่ในสัดส่วนสูง และนิสิตมีผลการเรียนอยู่ในระดับต่ำ โดยศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลกลุ่มตัวอย่างนิสิตสาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ จำนวน 78 คน โดยดำเนินการรวบรวมปัจจัยที่คาดว่าจะส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน นั่นคือ ข้อมูลนิสิตเกี่ยวกับช่องทางการรับเข้าศึกษา ขนาดของโรงเรียน ผลการศึกษาระดับมัธยมปลาย ผลคะแนนสอบ O-NET เกรดเฉลี่ยสะสมชั้นปีที่ 1 และการสัมภาษณ์จากนิสิตโดยตรง เพื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ (SPSS) และสร้างสมการถดถอยแสดงความสัมพันธ์ของปัจจัยที่เกี่ยวข้อง โดยพิจารณา 2 ส่วนหลัก คือ การเปรียบเทียบคู่ปัจจัย และ การวิเคราะห์ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิต ผลการวิเคราะห์พบว่า โครงการรับเข้าที่แตกต่างกันไม่มีผลต่อเกรดเฉลี่ยสะสม (GPA) ส่วนขนาดโรงเรียนที่แตกต่างกันมีผลต่อเกรดเฉลี่ยสะสม (GPA) ของปีการศึกษาแรก นอกจากนั้น คะแนน O-NET 3 กลุ่มวิชา (คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ อังกฤษ) สามารถนำมาคาดการณ์เกรดเฉลี่ยสะสม (GPA) ด้วยสมการถดถอยแสดงความสัมพันธ์ของปัจจัย ประโยชน์หลักที่ได้จากงานวิจัยนี้ คือ ผู้สอนสามารถนำมาเป็นแนวทางการวางแผนการพัฒนาปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนของหลักสูตรให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น และปรับระดับความรู้พื้นฐานของนิสิตให้อยู่ในระดับเดียวกันก่อนเข้าสู่การเรียนการสอนระดับอุดมศึกษา 

References

ระบบบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา. (2559). รายงานสถิติจำนวนนิสิต Drop-out จำแนกตามชั้นปี. แหล่งที่มา: http://www.reg.up.ac.th/main. 20 ตุลาคม 2559.

เทอดศักดิ์ โกไศยกานนท์. (2559). รายงานการประเมินตนเอง (Self-Assessment Report: SAR) ประจำปีการศึกษา 2558, 14-20, 30 กันยายน 2559. คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา.พะเยา.

William Mendenhall & Terry Sincich. Statistics for Engineering and the Science. 5th ed. Prentice Hall, Inc; 2007. P.496-582.

กองบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา. (2559). ข้อบังคับมหาวิทยาลัยพะเยา ว่าด้วย การศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2553. คู่มือนิสิตระดับปริญญาตรี ปริญญาตรีคู่ขนาน 2 ปริญญา และปริญญาตรีควบปริญญาโท. หน้า 15.

พรจันทร์ โพธินาค, สมุทร ชำนาญ และสุรัตน์ ไชยชมภู. (2557). ปัจจัยที่ส่งอิทธิผลต่อสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตที่มีผลการเรียนต่ำกว่าเกณฑ์ มหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา. ปีที่ 8 ฉบับที่ 1. หน้า 47 – 62.

สุธาทิพย์ จรรยาอารีกุล. (2539). ปัญหาการเรียน ส่วนตัว สังคม ของนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิค สังกัดกรมอาชีวศึกษาในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. หน้า 3.

สุกฤตา เส็งเข็ม, สำราญ มีแจ้ง และเทียมจันทร์ พานิชย์ผลินไชย. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. วารสารมหาวิทยาลัยนเรศวร. ปีที่ 21 ฉบับที่ 3. หน้า 79 - 91.

รุ่งฤดี กล้าหาญ. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาคปฏิบัติของนิสิตพยาบาล ชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วารสารพยาบาลทหารบก. ปีที่ 15 ฉบับที่ 3. หน้า 412-420.

สมเกียรติ ไทยปรีชา, วรรณี อึ้งสิทธิพูนพร และพัลลภ สุวรรณฤกษ์. (2555). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสอบตกในรายวิชาพื้นฐานของนิสิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ระหว่างปีการศึกษา 2551-2553. การประชุมวิชาการแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 9. หน้า 2155-2160.

ประไพศรี สุทัศน์ ณ อยุธยา และพงศ์ชนัน เหลืองไพบูลย์. (2551). การออกแบบและการวิเคราะห์การทดลอง. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ท้อป จำกัด.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-24

How to Cite

แก้ววรรณดี อ., & ถาวร เ. (2019). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิต สาขาวิศวกรรม อุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา. Trends of Humanities and Social Sciences Research, 5(1), 25–48. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/Humanties-up/article/view/197127