บทบาทของรายการเวทีสาธารณะกับการสร้างการมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงประเด็นทางสังคม

ผู้แต่ง

  • อัญชลี เทียมคีรี สาขาวิชานิเทศศาสตร์และนวัตกรรม คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ กรุงเทพมหานคร 10240
  • อัศวิน เนตรโพธิ์แก้ว คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ กรุงเทพมหานคร 10240

คำสำคัญ:

รายการเวทีสาธารณะ, การสร้างการมีส่วนร่วม, การเปลี่ยนแปลงประเด็นทางสังคม

บทคัดย่อ

การวิจัยได้มุ่งศึกษา “รายการเวทีสาธารณะ” ทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการและผลของการสร้างการมีส่วนร่วมของรายการเวทีสาธารณะในการเปลี่ยนแปลงประเด็นทางสังคม โดยใช้เครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยการศึกษาจากเอกสาร (Documentary Research) การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (Depth Interview) จากผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Informants) พร้อมกับ วิเคราะห์ประเด็นจากเทปบันทึกรายการ (Content Analysis) การสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม (Participant Observation) สนทนากลุ่ม (Focus Group)ผลวิจัยพบว่า รายการเวทีสาธารณะ ซึ่งเป็นรายการที่เกิดขึ้นและอยู่ภายใต้องค์กรสื่อสาธารณะไทยพีบีเอส โดยมีหลักการในการทำงานคือมีความเป็นอิสระในการดำเนินงาน จากการศึกษาประเด็นการนำเสนอรายการได้ให้สัดส่วนการนำเสนอประเด็นปฏิรูปมากที่สุด โดยรองลงมาคือ ประเด็นเกี่ยวกับผลกระทบจากนโยบายรัฐหรือโครงการขนาดใหญ่ ประเด็นเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติ ประเด็นเกี่ยวกับชุมชนสังคมและวัฒนธรรม ประเด็นเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน และประเด็นเกี่ยวกับการเมืองการปกครอง แม้ว่าประเด็นที่ถูกนำเสนออกมาในระดับที่แตกต่างกันไป แต่มักเชื่อมโยงและมีผลกระทบไปถึงในระดับนโยบายเกือบทุกกรณีรายการได้ทำให้เกิดการมีส่วนร่วม ดังนี้ 1) มีส่วนร่วมในฐานะเป็นแหล่งข่าวหรือเจ้าของประเด็น 2) มีส่วนร่วมวางแผนกำหนดเนื้อหารายการ 3) มีส่วนร่วมในรายการ 4) มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนประเด็น 5) มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นต่อเนื้อหารายการ แต่ทั้งนี้ผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นยังอยู่ในระดับที่น้อยมาก อย่างไรก็ดีสิ่งที่เป็นจุดเด่นของรายการคือ สามารถสร้างการรวมกลุ่มและเสริมพลังพลของภาคพลเมือง ทำให้เห็นว่ากลุ่มคนเหล่านี้มีตัวตน มีอำนาจ มีอัตลักษณ์

References

ปาริชาต สถาปิตานนท์ สโรบล. (2542). “องค์ประกอบในการขับเคลื่อนประชาสังคม” กลุ่มที่ 1: พลเมืองกับการสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลง, การประชุมทางวิชาการประชาสังคม ครั้งที่ 1. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.

ภูชิตต์ ภูริปาณิก. (2557). โครงสร้างโทรทัศน์สาธารณะ Thai PBS กับการมีส่วนร่วมของพลเมือง. วารสารวิจัย มสด, 10(1), 97-111.

มัทนา เจริญวงศ์ และอาภาพรรณ ทองเรือง. (2556). การเกิดขึ้นและพัฒนาการของนักข่าวพลเมืองไทยพีบีเอส. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย, 33(2), 265-286.

สถาบันวิชาการสื่อสาธารณะ. (2555). ถามมา...ตอบไป...รู้จัก...เข้าใจ...ไทยพีบีเอส. กรุงเทพ ฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์.

สมสุข หินวิมาน. (2554). ความรู้เบื้องต้นทางวิทยุและโทรทัศน์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย. (2557ข). รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี พ.ศ. 2556: องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.)สืบค้นวันที่ 1 ตุลาคม 2557, จาก http://org.thaipbs.or.th

องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย. (2558).แผนการจัดทำรายการองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) ประจำปี พุทธศักราช 2558. สืบค้นจาก https://org.thaipbs.or.th/announce/plan.

อัจฉรา ศรีพันธ์. (2555). กลยุทธ์การสื่อสารแบบการมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศไทย. Journal of Business, Economics and Communications, 7(1), 5-19. สืบค้นจาก https://www.tci-thaijo.org/index.php/BECJournal/article/view/54430/45199

อัศรินทร์ นนทิหทัย. (2551). การสื่อสารแบบมีส่วนร่วมของเยาวชนเพื่อการพัฒนารายการโทรทัศน์ TK Teen. (ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์. (2550). สื่อสารมวลชนเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-21

How to Cite

เทียมคีรี อ., & เนตรโพธิ์แก้ว อ. (2019). บทบาทของรายการเวทีสาธารณะกับการสร้างการมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงประเด็นทางสังคม. Trends of Humanities and Social Sciences Research, 6(1), 60–81. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/Humanties-up/article/view/196627