editorial
Abstract
“ปัญญาเพื่อความเข้มแข็งของชุมชน” (Wisdom for Community Empowerment) คือปณิธานของมหาวิทยาลัยพะเยาที่วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ยึดมั่นในเจตนารมณ์ของมหาวิทยาลัยพะเยาและถือเป็นหลักปฏิบัติด้วยการคัดสรรบทความที่มีคุณภาพ
มาเผยแพร่เพื่อให้ผู้อ่านได้รับความรู้และแนวคิดที่ตั้งอยู่บนหลักการทางวิชาการ อันจะนำไปสู่การสร้างสรรค์สังคมให้เป็นสังคมที่มั่นคงและพร้อมที่จะเผชิญกับสถานการณ์ทุกรูปแบบ
วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ฉบับนี้ ยังคงได้รับการคัดสรรบทความจากกองบรรณาธิการและการกลั่นกรองคุณภาพทางวิชาการจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อนำเสนอนานาสาระความรู้และแง่คิดที่หลากหลายจากบทความต่าง ๆ ที่เพิ่มจำนวนเรื่องขึ้นกว่าฉบับที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นเกี่ยวกับวงการการศึกษา อันเป็นการสนองตอบต่อความเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้เพื่อการพัฒนา อันได้แก่ เรื่อง “แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำที่แท้จริงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน” “แนวทางการสอนภาษาต่างประเทศ เพื่อการเรียนรู้และการสื่อสารทางวัฒนธรรม” “ ‘ความเข้าใจระหว่างวัฒนธรรม’ ในการสอนภาษาฝรั่งเศสในฐานะภาษาต่างประเทศ” และ “การศึกษาความคาดหวังและการรับรู้จริงต่อคุณภาพอาจารย์ที่ปรึกษาจากนักศึกษาสาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี” ซึ่งบทความแต่ละเรื่อง ล้วนมีผลต่อการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาในสถานศึกษาให้เกิดประสิทธิผลยิ่งขึ้นในส่วนของการศึกษาทางภาษาและวรรณกรรมนั้น บทความในวารสารฯ ได้แสดงให้เห็นถึงการศึกษาภาษาและวรรณกรรมด้วยวิธีการบูรณาการกับศาสตร์แขนงต่าง ๆ อันได้แก่ เรื่อง “หลงไฟ : การวิเคราะห์ตัวละครโดยใช้ทฤษฎีลำดับขั้นแรงจูงใจ ของ อับราฮัม มาสโลว์” “การศึกษาคุณค่าของคำสอนในวรรณกรรมล้านนาเรื่อง โลกหานี” “ภาษากับอุดมการณ์ทางเศรษฐกิจ: กรณีศึกษาเรื่องสั้นของชาติ กอบจิตติ” และ “การรับรู้อารมณ์ขันจากภาษากำกวมในนิตยสารการ์ตูนไทย” ซึ่งเป็นแนวการศึกษาที่ต่างไปจากอดีตที่มุ่งศึกษาแต่เฉพาะสุนทรียภาพทางภาษาที่ปรากฏในวรรณกรรมเท่านั้นสำหรับท่านที่สนใจในเรื่องที่เกี่ยวกับคนกับวิถีสังคม กองบรรณาธิการขอเชิญชวนให้ท่านติดตามบทความทั้ง 4 เรื่องคือ “ความมีประโยชน์ต่อการตัดสินใจของการเปิดเผยข้อมูลความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร: หลักฐานเชิงประจักษ์จากตลาดหลักทรัพย์ลอนดอน” “การจัดการทรัพยากรร่วมของท้องถิ่น : กรณีศึกษาป่าภูตะเภา ตำบลกุดยม อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ” “กระบวนการการยอมรับนวัตกรรมบ้านปลาจากท่อ PE 100 กรณีศึกษาชุมชนเนินฆ้อ จังหวัดระยอง” และ “พัฒนาการของการดำเนินการต่อแรงงานต่างด้าว, 2521 – 2551: มุมมองของรัฐและนโยบาย” ที่จะเป็นแนวทางในการดำเนินกิจกรรมใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มคนที่จะได้รับผลกระทบจากกิจกรรมนั้น ๆ
อีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจในสถานการณ์ปัจจุบัน อันเป็นยุคแห่งการแข่งขัน ผู้ประกอบการธุรกิจจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาองค์ประกอบต่าง ๆ ในการดำเนินธุรกิจทั้งในด้านกำลังคน สินค้าและการบริหารจัดการ อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอเพื่อให้องค์กรดำเนินต่อไปอย่างราบรื่นและเจริญก้าวหน้า ซึ่งบทความเรื่อง “คุณภาพชีวิตการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงาน บริษัท สมาร์ท แทรฟิค จำกัด” และ “การพัฒนาตราสินค้า เพื่อสร้างการรับรู้คุณค่าทุเรียนหลงลับแลของชมรมคนรักทุเรียนบ้านด่านนาขาม อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์” จะเป็นคำตอบในเรื่องดังกล่าวได้เป็นอย่างดี
ส่วนบทความส่งท้าย เป็นบทความปริทัศน์หนังสือ “Basic Income: And How We Can Make It Happen ของ Guy Standing” เป็นการนำเสนอเรื่องราวที่จะทำให้ผู้อ่านเข้าใจคำว่า “รายได้พื้นฐาน” (Basic Income) ได้อย่างดียิ่งขึ้น
กองบรรณาธิการขอขอบคุณนักวิชาการทุกท่านที่ได้ให้ความสนใจส่งบทความที่มีคุณค่าและสารประโยชน์มาเผยแพร่ พร้อมทั้งขอเชิญชวนท่านที่สนใจร่วมส่งบทความวิจัย บทความวิชาการ หรือบทความปริทรรศน์มาเป็นส่วนสำคัญในการเผยแพร่และพัฒนาความรู้ทางวิชาการกับทางวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา เพื่อการสร้างสรรค์ความรู้ทางวิชาการให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้นต่อไป
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
ผู้นิพนธ์ต้องรับผิดชอบข้อความในบทนิพนธ์ของตน มหาวิทยาลัยพะเยาไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับบทความที่ตีพิมพ์เสมอไป ผู้สนใจสามารถคัดลอก และนำไปใช้ได้ แต่จะต้องขออนุมัติเจ้าของ และได้รับการอนุมัติเป็นลายลักษณ์อักษรก่อน พร้อมกับมีการอ้างอิงและกล่าวคำขอบคุณให้ถูกต้องด้วย
The authors are themselves responsible for their contents. Signed articles may not always reflect the opinion of University of Phayao. The articles can be reproduced and reprinted, provided that permission is given by the authors and acknowledgement must be given.