จริยธรรมการทำวิจัยในคน และที่เกี่ยวข้องกับคน

2023-10-10

ปัจจุบันการศึกษาวิจัยหรือการทดลองในคนทำให้เกิดความเจริญก้าวหน้า การศึกษาวิจัยด้านสังคมศาสตร์ พฤติกรรมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ ที่เข้าใจว่ามีความเสี่ยงน้อยต่อร่างกายของอาสาสมัครในการวิจัยนั้น แต่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อจิตใจ สถานะทางสังคม ฐานะทางการเงินการงาน และอันตรายทางกฎหมาย

การทำวิจัยในคนควรยึดหลักจริยธรรมการทำวิจัยที่เป็นหลักสากลและใช้หลักจริยธรรมพื้นฐาน เพื่อให้มั่นใจว่ามีการคุ้มครองอาสาสมัครในการวิจัยอย่างเหมาะสมการทำวิจัยที่เป็นไปตามหลัก
จริยธรรมพื้นฐานประกอบด้วยหลัก 3 ประการ ได้แก่
1. หลักความเคารพในบุคคล (Respect for person)
2. หลักคุณประโยชน์ ไม่ก่ออันตราย (Beneficence and Non-maleficence)
3. หลักความยุติธรรม (Justice)

**ดังนั้นผู้วิจัยควรคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัยในมนุษในบทความที่ดำเนินการส่งเข้ามาบทความ เพื่อให้เกิดการสร้างความมั่นใจ และมีความน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น
***โปรดระบุเลขจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ที่วิธีการศึกษา