การพัฒนาหลักสูตรสะตลีมศึกษาสำหรับครูโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน

ผู้แต่ง

  • เสาวภาคย์ วงษ์ไกร คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • ปาริชาติ ภูภักดี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • ประวีณ์นุช วสุอนันต์กุล คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • อมรรัตน์ สังข์สุวรรณ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • สมเจตน์ ดวงพิทักษ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • สิทธิชัย สมศรี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

คำสำคัญ:

สะตลีมศึกษา, การออกแบบหลักสูตร, ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์, การจัดการเรียนรู้

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อพัฒนาหลักสูตรสะตลีมศึกษาสำหรับครูโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน 2) เพื่อเปรียบเทียบความเข้าใจ ความสามารถในการออกแบบหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ สะตลีมศึกษา ของครูโรงเรียนตำรวจตระเวนชายก่อนและหลังการใช้หลักสูตรสะตลีมศึกษาสำหรับครูโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนที่พัฒนาขึ้น 3) เพื่อเปรียบเทียบทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้สะตลีมศึกษา ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงกึ่งทดลอง กลุ่มเป้าหมายเป็นครูและนักเรียนระดับประถมศึกษา ที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาสมรรถนะครูโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จำนวน 20 และ 90 คน ตามลำดับ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบทดสอบความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้สะตลีมศึกษา แบบวัดความสามารถในการออกแบบหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้สะตลีมศึกษา และแบบวัดทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ โดยสถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) หลักสูตรสะตลีมศึกษาสำหรับครูโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนได้ถูกพัฒนาขึ้นมีทั้งหมด 3 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรไข่สองหน้าม้ากับเค็ม หลักสูตรนางฟ้าคลุกฝุ่น และหลักสูตรชาใบหม่อน 2) ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้สะตลีมศึกษา และความสามารถในการออกแบบหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้สะตลีมศึกษาของครูโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนหลังอบรมสูงกว่าก่อนอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนหลังได้รับการจัดการเรียนรู้สะตลีมศึกษาสูงกว่าก่อนได้รับการจัดการเรียนรู้สะตลีมศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

รัฐธรรมนูญ. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (3). แอคทีฟ พริ้นท์.

จิตรา มีคำ กฤธยากาญจน์ โตพิทักษ์ และนิคม นาคอ้าย. (2556). ปัญหาและแนวทางการบริหารจัดการโครงการส่งเสริมคุณ ภาพการศึกษาของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน สังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 31 ในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 7(1), 100-110.

ณัฐวัชร จันทโรธรณ์ และไพโรจน์ ญัตติอัครวงศ์. (2565). การพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 9(1), 336–347.

ปพนวัจน์ ลภัสภิญโญโชค. (2559). การพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมมโนทัศน์และกระบวนการทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 8(2), 205-218.

วศิณีย์ อิศรเสนา ณ อยุธยา. (2560). เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสะเต็มศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิจารณ์ พานิช. (2556). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). ตถาตา.

สุพรรณี ชาญประเสริฐ. (2556). การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21. สถาบันส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 42(185), 10-13.

สุภัค โอฬาพิริยกุล. (2562). STEAM education: นวัตกรรมการศึกษาบูรณาการสู่การจัดการเรียนรู้. วารสารวิจัยและพัฒนาหลักสูตร, 9(1), 1-16.

เสาวภาคย์ วงษ์ไกร, ปาริชาติ ภูภักดี, อมรรัตน์ สังข์สุวรรณ, ธเนศพลร์ วสุอนันต์กุล,ประวีณ์นุช วสุอนันต์กุล, ธนาพูน วงค์ษา และปัจจรี ศรีโชค. (2565). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบ STLEAM

ต่อสมรรถนะครูโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน. การวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่นด้วยโมเดลเศรษฐกิจใหม่สู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน. การประชุมวิชาการระดับชาติ ราชภัฏเลยวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ครั้งที่ 8. (น. 494-502). มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

อิสระ ชอนบุรี วาโร เพ็งสวัสดิ์ และอภิสิทธิ์ สมศรีสุข. (2565). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมภาวะผู้นำทางวิชาการของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 18(80). 80-89

Altan, E. B., Üçüncüoglu, I., & Öztürk, N. (2019). Preparation of out-of-school learning environment based on science, technology, engineering, and mathematics education and investigating its effects. Science Education International, 30(2), 138-148. https://doi.org/10.33828/sei.v30.i2.7

Brown, R. E., & Bogiages, C. A. (2019). Professional development through STEM integration: How early career math and science teachers respond to experiencing integrated STEM tasks. International Journal of Science and Mathematics Education, 17(1), 111-128. https://doi.org/10.1007/s10763-017-9863-x

Hahn, I., Hwang, S., & Yoo, J. (2016). Development and management of the advanced STEAM teacher training program. Journal of the Korean Association for Science Education, 36(3), 399-411. https://doi.org/10.14697/jkase.2016.36.3.0399

Herro, D., Quigley, C., & Cian, H. (2019). The challenges of STEAM instruction: Lessons from the field. Action in Teacher Education, 41(2), 172-190.

Kim, B., & Kim, J. (2016). Development and validation of evaluation indicators for teaching competency in STEAM education in Korea. Eurasia Journal of Mathematics, Science and Technology Education, 12(7), 1909-1924.

https://doi.org/10.12973/eurasia.2016.1537a

Korea foundation for the advancement of science and creativity. (2016). Introduction to STEAM education. Seoul: KOFAC.

Liao, C. (2016). From interdisciplinary to transdisciplinary: An arts-integrated approach to STEAM education. Art Education, 69(6), 44-49.

https://doi.org/10.1080/00043125.2016.1224873

Nuangchalerm, P., Prachagool, V., Prommaboon, T., Juhji, J., Imroatun, I., & Khaeroni, K. (2020). Views of primary Thai teachers toward STREAM education. International Journal of Evaluation and Research in Education, 9(4), 987-992.

https://doi: 10.11591/ijere.v9i4.20595

Pavlou, V. (2020). Art technology integration: Digital storytelling as a transformative pedagogy in primary education. International Journal of Art & Design Education, 39(1), 195-210. https://doi.org/10.1111/jade.12254

Pugach, M. C., Blanton, L. P., Mickelson, A. M., & Boveda, M. (2020). Curriculum theory:

The missing perspective in teacher education for inclusion. Teacher Education and Special Education, 43(1), 85-103. https://doi.org/10.1177/0888406419883665

Ring, E. A., Dare, E. A., Crotty, E. A., & Roehrig, G. H. (2017). The evolution of teacher conceptions of STEM education throughout an intensive professional development experience. Journal of Science Teacher Education, 28(5), 444-467.

https://doi.org/10.1080/1046560X.2017.1356671

Siribunnam, S., Bednarova, R., & Nuangchalerm, P. (2019). The effect of SSI overlap STEM education on secondary students’ socio-scientific decision making. Journal of Physics: Conference Series (Vol. 1340, No. 1, p. 012006). IOP Publishing.

https://doi.org/10.1088/1742-6596/1340/1/012006

Srikoom, W., Faikhamta, C., & Hanuscin, D. (2018). Dimensions of effective STEM integrated teaching practice. K-12 STEM Education, 4(2), 313-330.

Thibaut, L., Knipprath, H., Dehaene, W., & Depaepe, F. (2018). The influence of teachers’ attitudes and school context on instructional practices in integrated STEM education. Teaching and Teacher Education, 71, 190-205.

https://doi.org/10.1016/j.tate.2017.12.014

Tondeur, J., Scherer, R., Baran, E., Siddiq, F., Valtonen, T., & Sointu, E. (2019). Teacher educators as gatekeepers: Preparing the next generation of teachers for technology integration in education. British Journal of Educational Technology, 50(3), 1189-1209.

https://doi.org/10.1111/bjet.12748

Yuenyong, C. (2019). Lesson learned of building up community of practice for STEM education in Thailand. AIP Conference Proceedings (Vol. 2081, No. 1, p. 020002). AIP Publishing LLC. https://doi.org/10.1063/1.5093997

Downloads

เผยแพร่แล้ว

11-03-2024