https://so03.tci-thaijo.org/index.php/EDUCLoei/issue/feed วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย 2024-12-31T22:08:06+07:00 อาจารย์อมรมาศ มุกดาม่วง amornmas.moo@lru.ac.th Open Journal Systems <p><strong>วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย </strong></p> <p><strong>(</strong><strong>Journal of Education Loei Rajabhat University: EDUCLoei)</strong></p> <p>ตีพิมพ์รูปแบบออนไลน์ โดยกำหนดจัดทำปีละ 2 ฉบับ คือ</p> <ul> <li>ฉบับที่ 1 เดือน มกราคม-มิถุนายน</li> <li>ฉบับที่ 2 เดือน กรกฎาคม-ธันวาคม</li> </ul> <p>วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย เป็นวารสารที่จัดอยู่ในฐานข้อมูลดังนี้</p> <ul> <li>เป็นวารสารที่อยู่ในฐานข้อมูลของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารไทย (TCI) กลุ่มที่ 2 ด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์</li> </ul> https://so03.tci-thaijo.org/index.php/EDUCLoei/article/view/284781 บทบรรณาธิการ 2024-12-31T21:40:34+07:00 Amornmas Mookdamuang amornmas.moo@lru.ac.th <p>-</p> 2024-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย https://so03.tci-thaijo.org/index.php/EDUCLoei/article/view/272837 ทิศทางการจัดการศึกษาจากวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรม อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ 2024-06-05T11:25:26+07:00 ณัฐวงศ์ วังแก้ว thanakorn_jinakot@cmu.ac.th ธนกร จินะโกฎ thanakorn_jinakot@cmu.ac.th <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาทิศทางการจัดการศึกษาจากวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรม อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ซึ่งมีการศึกษาจากการกำหนดของวิสัยทัศน์ของโรงเรียนจำนวน 10 โรงเรียน ที่เป็นโรงเรียนพื้นที่นำร่องนวัตกรรม อำเภออมก่อย จังหวัดเชียงใหม่ ผลการศึกษา พบว่า ทิศทางการจัดการศึกษาจากวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมอำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ สามารถวิเคราะห์ได้จากแนวทางหรือวิสัยทัศน์ที่ผู้บริหารกำหนดเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของพื้นที่และสังคมโดยรอบ โดยทิศทางที่สำคัญที่สรุปได้ดังนี้ เน้นการจัดการศึกษาที่ตอบโจทย์บริบทพื้นที่พัฒนาหลักสูตรที่ส่งเสริมอัตลักษณ์ชุมชน ใช้พื้นที่นวัตกรรมเป็นเครื่องมือพัฒนา โรงเรียนในพื้นที่นวัตกรรมมีโอกาสทดลองแนวทางใหม่ส่งเสริมความเสมอภาคทางการศึกษา พัฒนาทักษะศตวรรษที่ 21 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน และการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้</p> 2024-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย https://so03.tci-thaijo.org/index.php/EDUCLoei/article/view/278068 การพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูง: ประตูสู่ความเป็นเลิศของนักเรียนประถมศึกษา 2024-12-21T12:40:56+07:00 worapol srithep worapol.sri@hotmail.com ศราวุธ จงรักวิทย์ worapol.sri@hotmail.com <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาผลการศึกษานำเสนอในรูปแบบกรอบการจัดการเรียนการสอนแบบ 7 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ขั้นตอนการระดมสมอง เป็นการกระตุ้นให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนมุมมองอย่างอิสระ 2) ขั้นการมีส่วนร่วมหรือการให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง 3) ขั้นการตั้งทฤษฎี เพื่อการอธิบายปรากฏการณ์หรือสถานการณ์ 4) ขั้นการตั้งสมมติฐานที่สามารถทดสอบได้ 5) ขั้นการสืบค้นข้อมูล การทดลอง การรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการต่าง ๆ 6) ขั้นการจดบันทึกข้อมูลอย่างเป็นระบบ และ 7) ขั้นการสรุปผล การวิเคราะห์ข้อมูลการยืนยันหรือปฏิเสธสมมติฐาน และการติดตามการประเมินผลการเรียนรู้ กระบวนการดังกล่าวทำให้เกิดการพัฒนาทักษะต่าง ๆ ของนักเรียน</p> 2024-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย https://so03.tci-thaijo.org/index.php/EDUCLoei/article/view/277711 ผลการจัดอบรมเชิงรุกเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้านจิตวิทยาการศึกษาและทักษะ การให้คำปรึกษา สำหรับครูในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดพะเยา 2024-10-09T14:14:29+07:00 นริศรา เสือคล้าย Narissara.su@up.ac.th วิลาวัลย์ สมยาโรน Wilawan.so@up.ac.th ลำไย สีหามาตย์ paepaelumyai@gmail.com นรินธน์ นนทมาลย์ Narin.no@up.ac.th <p>การพัฒนาองค์ความรู้ด้านจิตวิทยาการศึกษาและทักษะการให้คำปรึกษาเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับครูในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ต้องได้รับการพัฒนา เพื่อนำไปใช้กับผู้เรียนให้มีประสิทธิภาพ ดังนั้น การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความรู้ด้านจิตวิทยาการศึกษาของครูระหว่างก่อนและหลังเข้ารับการอบรม 2) เปรียบเทียบทักษะการให้คำปรึกษาของครูระหว่างก่อนและหลังเข้ารับการอบรม และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของครูในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดพะเยา ที่เข้ารับการอบรมเชิงรุกในการพัฒนาองค์ความรู้ด้านจิตวิทยาการศึกษาและทักษะการให้คำปรึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดพะเยา จำนวน 40 คน ได้จากวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selection) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ คู่มือการจัดอบรมเชิงรุก แบบทดสอบวัดความรู้พื้นฐานด้านจิตวิทยาการศึกษาแบบประเมินทักษะการให้คำปรึกษา และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระจากกัน</p> 2024-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย https://so03.tci-thaijo.org/index.php/EDUCLoei/article/view/271614 ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม) 2024-11-27T11:09:34+07:00 พันธีตรา สามารถ fon90f@hotmail.com สรคมน์ กมลภากรณ์ sorrakom.ed@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาระดับการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม) และแนวทางการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม)เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ อาจารย์โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม) จำนวน 70 คน โดยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง และผู้ให้ข้อมูลหลักในการสัมภาษณ์จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม) มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ได้แก่ ด้านโครงสร้างองค์กร และภาวะผู้นำ ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม) ร้อยละ75.4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สามารถเขียนสมการได้ดังนี้ สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบY= 1.322+.509(x3) +0.221(x1) สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน Z = 0.725 (x3) +0. 225 (x1) และ 3) แนวทางการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม(ฝ่ายมัธยม) ได้แก่ การบริหารจัดการของฝ่ายบริหารที่ชัดเจน และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครู</p> 2024-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย