Publication Ethics

จริยธรรมของบรรณาธิการ 

1. บรรณาธิการมีหน้าที่พิจารณาคุณภาพและรูปแบบบทความ ที่จะตีพิมพ์ลงในวารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

2.บรรณาธิการต้องไม่เปิดเผยข้อมูล รายชื่อผู้ประเมินบทความ แก่บุคคลอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับวารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

3.บรรณาธิการจะต้องไม่รับการพิมพ์บทความที่เคยได้รับการตีพิมพ์ที่อื่นมาแล้ว

4.บรรณาธิการต้องตรวจสอบว่าบทความที่รับมานั้น มีการคัดลอกผลงานของบุคคลอื่นหรือไม่ หากบรรณาธิการตรวจพบการคัดลอกผลงานของบุคคลอื่น ต้องหยุดกระบวนการประเมิน และติดต่อผู้นิพนธ์หลักทันทีเพื่อขอคำชี้แจงเพื่อประกอบการ “ตอบรับ” หรือ “ยกเลิก” การตีพิมพ์บทความนั้นๆ

5.บรรณาธิการจะต้องไม่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือผลประโยชน์จากผู้นิพนธ์บทความ ผู้ประเมินบทความ

 

จริยธรรมของผู้ประเมินบทความ

1.ผู้ประเมินบทความจะต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้นิพนธ์บทความ เนื้อหาของบทความ ระหว่างที่ได้ทำการประเมินบทความ

2.ผู้ประเมินบทความจะต้องไม่มีผลประโยชน์กับผู้นิพนธ์บทความ เช่น เป็นผู้นิพนธ์บทความดังกล่าวร่วมกัน

3.ผู้ประเมินบทความ ควรประเมินบทความในสาขาวิชาที่มีความเชี่ยวชาญ โดยพิจารณาความสำคัญของเนื้อหาในบทความที่จะมีต่อสาขาวิชานั้นๆ คุณภาพการวิเคราะห์ และความเข้มข้นของผลงาน ไม่ควรใช้ความคิดเห็นส่วนตัวที่ไม่มีข้อมูลรองรับมาเป็นเกณฑ์ตัดสินบทความ

4.ผู้ประเมินบทความสามารถปฏิเสธการตีพิมพ์หรือปฏิเสธการอ่านได้กรณีบทความมีความเหมือน หรือ ซ้ำซ้อนกันกับผลงานของผู้อื่นโดยมีหลักฐานอย่างชัดแจ้ง

5.ผู้ประเมินบทความสามารถให้ข้อเสนอแนะทางวิชาการได้อย่างอิสระได้

 

จริยธรรมของผู้เขียน

 1.ผู้นิพนธ์ต้องรับรองว่าผลงานที่ส่งมานั้นไม่ได้เกิดจากการกระทำละเมิดลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่น ไม่เคยตีพิมพ์หรือเผยแพร่ที่ใดมาก่อน และมิได้อยู่ระหว่างการเสนอชื่อเพื่อพิจารณาจะตีพิมพ์ในวารสารอื่น

2.ผู้นิพนธ์ต้องอ้างอิงผลงานของผู้อื่นอย่างชัดเจนเมื่อมีการ หากมีการนำผลงานเหล่านั้นมาใช้ในผลงานตัวเอง โดยใส่ไว้ในเชิงอรรถ และ บรรณานุกรม

3.ผู้นิพนธ์รายงานข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ไม่ให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ และไม่บิดเบือนข้อมูล

4.ผู้นิพนธ์ต้องเขียนบทความตามรูปแบบที่วารสารกำหนดไว้

5.ผู้นิพนธ์ที่มีชื่อปรากฎในบทความทุกคน ต้องเป็นผู้มีส่วนในการดำเนินการวิจัยหรือการนิพนธ์จริง