การพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว โดยใช้แบบฝึกทักษะอย่างมีปฏิสัมพันธ์ ผ่าน Liveworksheets ร่วมกับเทคนิค KWDL สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
คำสำคัญ:
แบบฝึกทักษะอย่างมีปฏิสัมพันธ์, การแก้โจทย์ปัญหา, ความสามารถการแก้โจทย์ปัญหา, สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) พัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว โดยใช้แบบฝึกทักษะอย่างมีปฏิสัมพันธ์ผ่าน Liveworksheets ร่วมกับเทคนิค KWDL สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีคะแนนเฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 2) ศึกษาความคงทนในการเรียนรู้โดยใช้ Liveworksheets ร่วมกับเทคนิค KWDL ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 โรงเรียนนามนพิทยาคม จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 33 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม สถิติในการวิเคราะห์ ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความสอดคล้องของวัตถุประสงค์ (IOC) ค่าความยากง่าย (P)ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ (rn) ประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้ (E1/E2) และการทดสอบ t-test ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียน หลังได้รับ การจัดการเรียนรู้โดยใช้ Liveworksheets ร่วมกับเทคนิค KWDL สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ70 อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ.05 2) ความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียนหลังได้รับการจัดเรียนรู้โดยใช้ Livework sheets ร่วมกับเทคนิค KWDL เมื่อผ่านไป 2 สัปดาห์ มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70
References
สำนักงานส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2551). คู่มือครูสาระการเรียนรู้พื้นฐานคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามหลักสูตรการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544.
กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา
กรมวิชาการ. (2545). คู่มือการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์. องค์การรับสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (รสพ).
เตชินี ภิรมย์. (2564). การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ด้วย Google Classroom
ผ่านแอพพลิเคชั่น Google Meet ร่วมกับ Liveworksheets ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 วิชา
การออกแบบและเทคโนโลยี เรื่อง ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น.
นูรีมาน สูรี. (2563). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องเลขยกกำลัง โดยใช้แบบฝึกทักษะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยทักษิณ.
ประสาท เนืองเฉลิม. (2563). วิจัยการเรียนการสอน. สำนักพิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปิยะทิพย์ เชาว์ฉลาด. (2561). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา. ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน ร่วมกับเทคนิค KWDL. วารสารสังคมศาสตร์วิจัย, 9(1), 196.
ปรางฉัตร รัตโนสถ. (2562). การศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการ
เชิงอนุพันธ์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWDL สำหรับนิสิตปริญญาตรี สาขาคณิตศาสตร์. วารสารครุศาสตร์อุสาหกรรม, 18(3), 132.
พรพิรุณ บุตรดา. (2550). การเปรียบเทียบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ การคิดวิเคราะห์ และมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนโดยใช้ยุทธศาสตร์เมตาคอกนิชันกับการเรียนด้วยวิธีสอนแบบปกติ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วัชรา เล่าเรียนดี. (2554). รูปแบบและกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุคนธ์ สินธพานนท์. (2553). นวัตกรรมการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาคุณภาพของเยาวชน (พิมพ์ครั้งที่ 4). โรงพิมพ์ 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.
อนุศร หงษ์ขุนทด. (2564, 22 ธันวาคม). การสร้างสื่อการสอนออนไลน์ Liveworksheets แนะนำ Liveworksheets.http://krukob.com/web/liveworksheet
อรุณี เต็งศรี. (2563). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร โดยใช้เทคนิคKWDL ที่มีผลต่อทักษะการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์, 7(3), 114.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ถือเป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง กองบรรณาธิการวารสารไม่มีส่วนในความคิดเห็นและความรับผิดชอบใดที่เกี่ยวข้องกับบทความดังกล่าว ทั้งนี้ บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร ฯ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร