การพัฒนาความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ เรื่อง เมทริกซ์ โดยใช้สื่อประสมประกอบการจัดการเรียนรู้แบบอุปนัย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

ผู้แต่ง

  • จันทร์จิรา สังสนา สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์และนวัตกรรมการศึกษา มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • วรรณธิดา ยลวิลาศ สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์และนวัตกรรมการศึกษา มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • นพคุณ ทองมวล สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสุขภาพ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

สื่อประสม, การจัดการเรียนรู้แบบอุปนัย, ความสามารถในการให้เหตุผล, เมทริกซ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ เรื่อง เมทริกซ์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5โดยให้นักเรียนมีคะแนนความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์เฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 และมีจำนวนนักเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนคำม่วง อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 40 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง เมทริกซ์ โดยใช้สื่อประสมประกอบการจัดการเรียนรู้แบบอุปนัย แบบทดสอบการให้เหตุผล ทางคณิตศาสตร์ สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า ผลการพัฒนาความสามารถในการให้เหตผุลทางคณิตศาสตร์ เรื่อง เมทริกซ์ พบว่านักเรียนมีความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ มีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 15.40 จากคะแนนเต็ม 20 คิดเป็นร้อยละ 77.00 และมีนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์จำนวน 35 คน คิดเป็นร้อยละ 79.57 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). การวัดและประเมินผลอิงตามมาตรฐานการเรียนรู้ ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์..: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

สมเดช บุญประจักษ์. (2550). การพัฒนาศักยภาพทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือ.[ปริญญาดุษฎีบัณฑิต](คณิตศาสตร์). : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ทิศนา แขมมณี. (2554). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 4). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธเนศ อินเมฆ. (2559). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียยนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง การบวกและการลบจำนวนเต็ม โดยการใช้สื่อประสม โรงเรียนวรราชาทินัดดามาตุวิทยา จังหวัดปทุมธานี. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ประสาท เนืองเฉลิม. (2563). วิจัยการเรียนการสอน. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อัมพร ไชยฤทธิ์. (2559).การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การคิดวิเคราะห์และเจตคติต่อการเรียน ระหว่างเรียนคณิตศาสตร์ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

แบบอุปนัยร่วมกับนิรนัยและแบบปกติ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 10(พิเศษ),1058-1071.

อุไรวรรณ คำเมือง. (2563). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบอุปนัยที่มีต่อมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ทฤษฎีบทพีทากอรัส ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยนครพนม, 50(10), 46-54 .

วิชัย เสวกงาม. (2557). ความสามารถในการให้เหตุผล ความสามารถที่จำเป็นสำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. วารสารครุศาสตร์, 2, 215-216.

บุญสนอง วิเศษสาธร. (2562). ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานต่อความสามารถในการแก้ปัญหา

และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้น. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สถาบันส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555). การวัดประเมินผลคณิตศาสตร์. โรงพิมพ์ครุสภาลาดพร้าว.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

11-03-2024