การวิจัยและพัฒนารูปแบบการปรับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ และส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย

ผู้แต่ง

  • นิรัชรา จันทิหล้า สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเลย
  • พนิตศรี ศรีเชื้อ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • สุดารัก ประสพสมัย สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเลย
  • กรวิกา สุวรรณกูล คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • อนุกูล ศรีสมบัติ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3

คำสำคัญ:

ทักษะสมอง EF, จิตตปัญญาศึกษา, การปรับพฤติกรรม, พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์, ปฐมวัย

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิจัยและพัฒนารูปแบบการปรับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์และส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย มีขั้นตอนการวิจัย 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การศึกษาสภาพของพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์และการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนระดับปฐมวัยในสถานศึกษาในจังหวัดเลย จำนวน 462 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย 2) การสร้างและการตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการปรับพฤติกรรมที่ไม่
พึงประสงค์และส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษาปฐมวัย จิตวิทยา และจิตตปัญญาศึกษา จำนวน 17 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง และ3) การทดลองใช้และประเมินคุณภาพรูปแบบการปรับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์และส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัย กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ เด็กระดับปฐมวัยในโรงเรียนอนุบาลพีระยาจันไทรรอด จำนวน 11 คน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้
ในรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกการสังเกตแบบความถี่และแบบระเบียนพฤติกรรม แบบประเมินรูปแบบ แบบสอบถามความพึงพอใจ และการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการปรับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์และส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ประกอบด้วย (1) การส่งเสริมทักษะสมอง EF ด้วยใจอย่างใคร่ครวญ และ
(2) การศึกษาพฤติกรรมด้วยใจอย่างใคร่ครวญ 2) การทดลองใช้และประเมินรูปแบบ พบว่า พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ลดลงทุกพฤติกรรม รูปแบบมีประโยชน์สมควรเผยแพร่ต่อไป และครูมีความ
พึงพอใจต่อรูปแบบอยู่ในระดับมากที่สุด

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2561). รายงานประจำปี 2561. อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย. (2556). แม่วัยใสความท้าทายการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น. แอดวานส์ปริ้นติ้ง.

ขวัญฟ้า รังสิยานนท์, พรรัก อินทามระ, ศศิพันธุ์ เปี๊ยนเปี่ยนสิน, ศีลสุภา วรรณสุทธิ์, และศิริพงษ์ ทิณรัตน. (2562). คู่มือครูและผู้ปกครองการเสริมสร้างทักษะสมอง EF สำหรับเด็กปฐมวัย. เพอลังอิ พับลิชชิ่ง (ประเทศไทย).

จิรัฐกาล พงค์ภคเธียร. (2553). จิตตปัญญาศึกษา การเรียนรู้สู่จิตสำนึกใหม่. แปลนพริ้นติ้ง.

ชนัดดา ภูหงษ์ทอง. (2561). การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง: ความท้าทายของผู้สอนในระดับอุดมศึกษา. วารสารพฤติกรรมศาสตร์, 24(1), 163-182.

ธนา นิลชัยโกวิทย์, และ อดิศร จันทรสุข. (2552). ศิลปะการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง: คู่มือกระบวนกรจิตตปัญญา. เอส.พี.เอ็น.

ธิดา พิทักษ์สินสุข, สลิดา ทศานนท์, และ สรยศ พนายางกูร. (2550). วิกฤตปฐมวัยและแนวทางแก้ไข. พลัสเพรส.

นพพนม เกตุมาน. (ม.ป.ป.). สุขใจกับเด็กสมาธิสั้น คู่มือพ่อแม่และครู สำหรับการฝึกเด็กสมาธิสั้น. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. https://www.si.mahidol.ac.th/th/ department/psychiatrics/cap/pic/sukjaiFree.pdf.

นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล, นุชนาฏ รักษี, ปนัดดา ธนเศรษฐกร และ อรพินท์ เลิศอวัสดาตระกูล. (2560).

การพัฒนาและหาค่าเกณฑ์มาตรฐาน เครื่องมือประเมินการคิดเชิงบริหารในเด็กปฐมวัย. ศูนย์วิจัยประสาทวิทยาศาสตร์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล.

บุญชนก ธรรมวงศา. (2561, 13 พฤษภาคม). COLLABORATIVE SKILL: เพราะปัญหายุคใหม่แก้ ไม่ได้เพียงลำพังสร้างห้องเรียนเป็นทีมเวิร์คเสียตั้งแต่ตอนนี้ https://thepotential.org/knowledge/collaborative-skill/.

ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่องยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 - 2580). (2561, 13 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 135 ตอน 82 ก. หน้า 1-74.

ปรารถนา หาญเมธี, และ จริยา วิไลวรรณ. (2562). The Facilitator คู่มือคุณ “Fa” มืออาชีพ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กล้าก้าว.

ปิยะสกล สกลสัตยาทร. (2559, 30 กรกฎาคม). ชี้เด็กไทยไอคิวเพิ่มขึ้น แต่ใช้แท็บเล็ตทำสมาธิสั้น. https://www.posttoday. com/social/general/445676.

พนิตศรี ศรีเชื้อ. (2558). การพัฒนาหลักสูตรสร้างเสริมจิตสำนึกสาธารณะสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครูโดยใช้จิตตปัญญาปฏิบัติ. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

มนทกานติ์ รอดคล้าย. (2559, 9 กรกฎาคม). การพัฒนาเด็กและครอบครัวในศตวรรษที่ 21. http://taamkru.com/th/.

วิศิษฐ์ วังวิญญู, วิธาน ฐานะวุฑฒ์, และ ณัฐฬส วังวิญญู. (2550). คู่มือกระบวนกร: ศาสตร์และศิลป์แห่งการหันหน้าเข้าหากัน. วงน้ำชา.

วีระชาติ กิเลนทอง. (2560, 27 กุมภาพันธ์). การพัฒนาเด็กปฐมวัยเพื่อสังคมที่เสมอภาคและเศรษฐกิจ

ที่ยั่งยืน. https://www.pier.or.th/abridged/2017/05/.

โรงพยาบาลกรุงเทพ. (2019, September 16). EF: Executive Function ปรับพฤติกรรม ฝึกทักษะสมอง พัฒนาสมาธิเด็ก. http://www.memagazine.co.th/9890/MemagOnline.

สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. (2562). ทฤษฎีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 9). สำนักพิมพ์

แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมสิทธิ์ อัสดรนิธี. (2556). การแสวงหาความรู้แบบจิตตปัญญาศึกษา: ญาณวิทยาและวิธีวิทยาการวิจัย. วี.พริ้นท์ (1991).

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2561, 4 มกราคม). วัยรุ่น โอกาสสุดท้ายของการพัฒนา EF. https://www.thaihealth.or.th/?p=239342.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง นโยบายและแนวปฏิบัติในการจัดการศึกษาและการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย. ประกาศ ณ วันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ.2563.

สิริมา ภิญโญอนันตพงษ์. (2553). การวัดและประเมินแนวใหม่: เด็กปฐมวัย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). มหาวิทยาลัย

ศรีนครินทรวิโรฒ.

สุภาวดี หาญเมธี. (2559). EF ทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ. รักลูก เลิร์นนิ่ง กรุ๊ป

Brocki, K. C., Eninger, L., Thorell, L. B. & Bohlin, G. (2010). Interrelations between executive function and symptoms of hyperactivity/impulsivity and inattention in preschoolers: a two year longitudinal study. Journal of Abnormal Child Psychology, 38(2), 163-71.

doi: 10.1007/s10802-009-9354-9.

Diamond, A., & Lee, K. (2011). Interventions shown to aid executive function development in children 4 to 12 years old. Science, 333(6045), 959-964. doi: 10.1126/science.1204529.

Heckman, J. J., S. Moon, R. R. Pinto, P. A. Savelyev, and A. Q. Yavitz. (2010). The rate of return to the Perry Preschool program. Journal of Public Economics, 94(1-2), 114–128. https://doi.org/10.1016/j.jpubeco.2009.11.001.

Heckman, J. J., R. R. Pinto, & P. A. Savelyev (2013, October). Understanding the mechanisms through which an influentialearly childhood program boosted adult outcomes. American Economic Review, 103(6), 2052-86. doi: 10.1257/aer.103.6.2052.

Hill, C. E. (2004). Executive function in autism. Trends in Cognitive Sciences, 8(1), 26-32.

doi: 10.1016/ j.tics.2003.11.003.

Jennings. A. P. (2008). Contemplative education and youth development. New direction for youth development, (118). https://doi.org/10.1002/yd.262.

Powell and Voeller. (2004). Prefrontal Executive Function Syndromes in Children. Journal of Child Neurology, 19(10), 785-97. https://doi.org/10.1177/08830738040190100801.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

23-08-2023 — Updated on 23-08-2023

Versions