ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม)

ผู้แต่ง

  • พันธีตรา สามารถ -
  • สรคมน์ กมลภากรณ์ Mahasarakham University Demonstration School (secondary)

คำสำคัญ:

ปัจจัยที่ส่งผล, ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ, โรงเรียนสาธิต, โครงสร้างองค์กร, ภาวะผู้นำ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาระดับการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม) และแนวทางการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม)เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ อาจารย์โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม) จำนวน 70 คน โดยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง และผู้ให้ข้อมูลหลักในการสัมภาษณ์จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม) มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ได้แก่ ด้านโครงสร้างองค์กร และภาวะผู้นำ ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม) ร้อยละ75.4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สามารถเขียนสมการได้ดังนี้ สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบY= 1.322+.509(x3) +0.221(x1) สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน Z = 0.725 (x3) +0. 225 (x1) และ 3) แนวทางการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม(ฝ่ายมัธยม) ได้แก่ การบริหารจัดการของฝ่ายบริหารที่ชัดเจน และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครู

References

กาญจน์วรินทร์ ผลอนันต์. (2557). กลยุทธ์การบริหารเพื่อพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนในสังกัด

กรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทัศนียา ชื่นเจริญ. (2561). ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ของ

โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 8. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัย

ราชภัฏนครปฐม.

ปานหทัย ธรรมรัตน์. (2564).ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับการเป็นชุมชนแห่ง

การเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2. [วิทยานิพนธ์

ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

พิชิต ขำดี. (2561). แนวทางการส่งเสริมการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก จังหวัด

พระนครศรีอยุธยา. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

พิเชษฐ เกษวงษ์. (2556). การนําเสนอแนวทางการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษา สังกัดสํานักงาน

เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานีเขต 2. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏ

พระนครศรีอยุธยา.

มินตรา ลายสนิทเสรีกุล. (2557). กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนสู่การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพของโรงเรียนมัธยมศึกษา

ในสหวิทยาเขตเบญจบูรพา กรุงเทพมหานคร. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 9(3), 392-406.

https://so01.tci- thaijo.org/index.php/OJED/article/view/ 20575/17875

เรวณี ชัยเชาวรัตน์. (2558). กระบวนการเสริมสร้างความสามารถในการออกแบบการเรียนการสอนของนักศึกษาปฏิบัติการ

วิชาชีพครูตามแนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ: การวิจัยกรณีศึกษา. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต].

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรลักษณ์ ชูกาเนิด, และเอกรินทร์ สังข์ทอง. (2557). โรงเรียนแห่งชุมชนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาวิชาชีพครูที่เน้นผู้เรียนเป็นหัว

ใจสําคัญ. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

วาสนา ทองทวียิ่งยศ. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครู ในสถานศึกษาระดับ

มัธยมศึกษา. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

วิชญาพร ปัญญา. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขต

พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยพะเยา.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิธีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. พับลิเคชัน.

หนึ่งฤทัย สีหะวงษ์. (2562). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนในสังกัด

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 22. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยนครพนม.

เอกพล อยู่ภักดี. (2559). ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงาน

เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30. [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Hord. S.M. (1997). Professional learning communities: Communities of inquiry and Improvement.

Southwest Education Development Laboratony.

Jalongo, M.R. (1991). Creating Learning Communities: The Role of the Teacher in the Twenty-First

Century. National Educational Service.

Kaiser, S. M. (2000). Mapping the Learning Organization: Exploring a Model of Organizational Learning

[Doctoral dissertation]. Louisiana State University. LSU Scholarly Repository.

Mathews, L., Holt, C. & Arrambide, M. (2014). Factors Influencing the Establishment and Sustainability

of Professional Learning Communities: the Teacher’s Perspective.

International Journal of Business and Social Science, 5(11), 23-29. DOI: 10.30845/ijbss

Senge, P.M. (1990). The Fifth Discipline: The Art and Practice of the Learning Organization.MCB UP.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2024

How to Cite

สามารถ พ. ., & กมลภากรณ์ ส. (2024). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม). วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 18(2), 13–28. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/EDUCLoei/article/view/271614