การเรียนรวม

การศึกษาที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

ผู้แต่ง

  • พนัส จันทร์ศรีทอง มหาวิทยาลัยเกริก
  • ลัดดาวรรณ์ ประสูตร์แสงจันทร์ สาขาวิชาศาสนาและเทววิทยา วิทยาลัยแสงธรรม

คำสำคัญ:

การศึกษา, การรวม, การกีดกันทางการศึกษา, การเรียนรวม

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่แนวคิดเรื่องการเรียนรวม : การศึกษาที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ตามการศึกษาค้นคว้าและทัศนะของผู้แต่ง การศึกษาเป็นพื้นฐานของการมีคุณภาพชีวิตที่ดี การเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาเป็นปัจจัยพื้นฐานที่จำเป็นอย่างยิ่งในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและพัฒนาประเทศ ดังนั้น ทุกคนควรมีโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาเพื่อเข้ารับการพัฒนาตามศักยภาพในอย่างเต็มที่ แต่ปัจจุบันพบว่า มีหลากหลายปัจจัยที่ทำให้เยาวชนไม่สามารถเข้าถึงการศึกษาได้อย่างทั่วถึง ซึ่งการเข้าถึงการศึกษาแบบสากลสำหรับเด็ก เยาวชน และผู้ใหญ่ทุกคน และการส่งเสริมความเสมอภาคเชิงรุกในการเข้าถึงโอกาสทางการศึกษา และทรัพยากรที่จำเป็นเพียงพอนั้น มีความจำเป็นต่อการพัฒนาสังคมอย่างยิ่ง การมีโอกาสในการดำรงชีวิตมีโอกาสในการศึกษาเรียนรู้การเข้าถึงสิทธิสวัสดิการเป็นพื้นทางในการดำรงชีวิตของมนุษย์ ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เป็นในบางครั้งต้องใช้การเรียกร้องต่อสู้เพื่อให้ได้มา การถูกกีดกันทางการศึกษาเป็นเพียงส่วนหนึ่งของปัญหาการเข้าถึงปัจจัยจำเป็นพื้นฐานซึ่งไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อผู้ที่ขาดโอกาสในการเข้าถึงระบบการศึกษาเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบในระยะยาวต่อการพัฒนาประเทศ การส่งเสริมศักยภาพของผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ตามศักยภาพ ตามความสามารถ และความสนใจเฉพาะแต่ละบุคคล การศึกษาแบบเรียนรวม การจัดการศึกษาโดยไม่แบ่งแยกความบกพร่องของเด็ก หรือคัดแยกเด็กที่ด้อยกว่าเด็กส่วนใหญ่ออกจากชั้นเรียน แต่จะใช้การบริหารจัดการและวิธีการในการให้เด็กเกิดการเรียนรู้และพัฒนาการตามความต้องการ การให้โอกาสเด็กทุกคนในสังคม ในชุมชน ในโรงเรียน ในห้องเรียนเดียวกัน มีโอกาสในการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสมเท่าเทียม การให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของความแตกต่างของผู้เรียนจากทุกภูมิหลังมาสู่ห้องเรียนเดียวกัน และช่วยให้ความหลากหลายเหล่านั้นเติบโตไปพร้อมกันเพื่อประโยชน์และการพัฒนาไปด้วยกันโดยที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

References

กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา. (2563, 6 เมษายน). การศึกษาโลกสะท้อนไทย ความเหลื่อมล้ำที่ยังไม่หายไป. https://www.the101.world/global-and-thai-education.

ชุติมา สุขวาสนะ. (2553, 27 มิถุนายน).เด็กไร้สัญชาติ แต่ไม่ไร้สิทธิทางการศึกษา.https://education.kapook.com/view14188.html.

ปรัชญา เวสารัชช์. (2545). หลักการจัดการศึกษา. สำนักงานปฏิรูปการศึกษา.

พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์. (2562). นวัตกรรมการจัดการศึกษา : นิยามใหม่ของการศึกษาแบบเรียนรวม. วารสารการบริหารและนวัตกรรมการศึกษา,

(1), บทบรรณาธิการ.

มลิวัลย์ ธรรมแสง. (2557, 19 กุมภาพันธ์). ความเข้าใจเรื่องการเรียนรวม. https://www.deafthai.org/knowledge-center/.

สาโรช เมธีพิทักษ์กุล, บาทหลวง, ออกัสติน สุกีโย ปิโตโย, บาทหลวง, แอนโทนี ลี ดัก, บาทหลวง ลัดดาวรรณ์ ประสูตร์ แสงจันทร์. (2565). แนวทางการอภิบาลกลุ่มผู้มีความโน้มเอียงทางเพศตามพระสมณสาส์นทุกคนเป็นพี่น้องกัน และพระสมณลิขิตเตือนใจความปีติยินดีแห่งความรัก. วารสารวิชาการวิทยาลัยแสงธรรม. 14(2), 194-212.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). แนวทางการดําเนินงานการมีส่วนร่วมการบริหารจัดการศึกษา. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจํากัด.

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2563, 3 มีนาคม). การจัดการศึกษาอย่างครอบคลุมสำหรับทุกคน (Inclusion and Education: All Means All) https://bic.moe.go.th/index.php/gallery/2021-08-29-21-34-25/2352.

Branigan, A. R., Freese, J., Patir, A., McDade, T. W., Liu, K., & Kiefe, C. I. (2013). Skin color, sex, and educational attainment in the post-civil rights era. Social Science Research, 42(6), 1659 - 1674.

Equitable Education Conference. (2021, 19 August). เพศภาวะและความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา สองสิ่ง ที่ไม่ควรไปด้วยกัน. https://afe.eef.or.th/gender-inequality. Loreman, Tim; Deppeler,

Joanne; and Harvey, David, 2011. Inclusive Education A Practical Guide to Supporting Diversity in the Classroom. Routledge.

Newton, D., & Risch, S. (1981). Homosexuality and education: A review of the Issue. The High School Journal, 64(5), 191-202.

Stewart Hase. (2000). From andragogy to heutagogy. UltiBASE In-Site.

UNESCO. (2009). Policy guidelines on inclusion in education. France: The United Nations Educational.

UNICEF. (2022). Inclusive education. https://www.unicef.org/education/inclusive-education.

Ydo, Y. (2020). Inclusive education: Global priority, collective responsibility. Prospects, 49(3-4), 97-101.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2023

ฉบับ

บท

บทความทางวิชาการ