การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชา เคมี ด้วยปฏิบัติการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง กรด - เบส โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับ เทคนิคการเรียนรู้ร่วมกันสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
คำสำคัญ:
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี, กรด-เบส, วิธีปฏิบัติการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์, เทคนิค การเรียนรู้ร่วมกันบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการทำวิจัยครั้งนี้เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง กรด-เบส โดยใช้ปฏิบัติการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ (5E) และเทคนิค Learning Together ระหว่างแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน เรื่อง กรด-เบส โดยใช้ปฏิบัติการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ (5E) และเทคนิค Learning Together ระหว่างผลการเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 70 ตัวอย่างของการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียน จำนวน 28 คน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนท่าลี่วิทยา อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย การตรวจสอบคุณภาพของแบบทดสอบ ได้แก่ ความเที่ยงตรงของเนื้อหา ค่าความยาก และอำนาจการจำแนก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าดัชนีความสอดคล้อง ค่าเฉลี่ย คาเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ t-test ผลการศึกษา พบว่า 1) การทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 7.00 คะแนน และ 15.21 คะแนน ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างแบบทดสอบก่อนและหลังเรียน พบว่า คะแนนสอบหลังเรียนของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนผ่านเกณฑ์หลังการจัดการเรียนรู้เรื่อง กรด-เบส มีค่าสูงกว่าร้อยละ 70 ร้อยละ 71.42 ผลการวิจัยแสดงว่านักเรียนมีความเข้าใจวิชาเคมี เรื่อง กรด-เบส
References
โครงการตำราวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ มูลนิธิ สอวน. (2553). เคมี : เคมีคำนวณ อะตอม ตารางธาตุ พันธะเคมี. สำนักพิมพ์มูลนิธิ สอวน.
ชนินทร์ พุ่มบัณฑิต. (2563). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยเทคนิคการสอนแบบร่วมมือ (Learning Together: LT) สำหรับการเรียนการสอนวิชาการคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมทางธุรกิจ ในยุคไทยแลนด์ 4.0. วารสารจันทรเกษมสาร, 26(1) , 61-73.
พิชญาภา พัฒน์รดากุล. (2563). การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ที่มุ่งพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และทักษะในศตวรรษที่ 21 เรื่องสารบริสุทธิ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. รายงานการวิจัยในชั้นเรียน [เอกสารไม่ได้ตีพิมพ์]. โรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2.
ภักดี คันธี. (2550). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เรื่อง กรด-เบส โดยการสอนบูรณาการแบบสอดแทรก [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต] มหาวิทยาลัยขอนแก่น)
ศักดิ์ศรี สุภาษร. (2554). กระบวนการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ในการทดลองเคมีระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย : การทบทวนงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ศึกษาจากมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 22(3), 331-343.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560). สำนักพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.
สุคนธ์ สินธพานนท์. (2558). การจัดการเรียนรู้ของครูยุคใหม่..เพื่อพัฒนาทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. ห้างหุ้นส่วนจำกัด 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.
สุธี ผลดี และศักดิ์ศรี สุภาษร. (2554). การเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง กรด-เบส ด้วยชุดการเรียนรู้แบบสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับชีวิตประจำวัน. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 1(2), 45-66.
อรรจนา วิชาลัย และสุวัตร นานันท์. (2561). การสืบเสาะหาความรู้แบบเปิดร่วมกับการใช้แบบจำลองทางกายภาพ : ความเข้าใจมโนมติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง การแตกตัวของกรดและเบส. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 1(1) ,121-134.
อุทิศาวดี คำจุมพล. (2564). รายงานรายงานสรุปผลการจัดกิจกรรม การสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 [เอกสารไม่ได้ตีพิมพ์]. โรงเรียนท่าลี่วิทยา, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู.
ไอดา ยาคอ. (2560). การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค LT (Learning Together) เพื่อพัฒนาทักษะ การคิดและเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาเคมีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารนวัตกรรมการเรียนรู มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, 3(1), 31-42.
Uyanik, G. (2016). Effect of Learning Cycle Approach-based Science Teaching on Academic Achievement, Attitude, Motivation and Retention, Universal Journal of Educational Research, 4(5), 1223-1230.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ถือเป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง กองบรรณาธิการวารสารไม่มีส่วนในความคิดเห็นและความรับผิดชอบใดที่เกี่ยวข้องกับบทความดังกล่าว ทั้งนี้ บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร ฯ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร