บทบาทความเป็นครูของเจ้าสุนทร ณ เชียงใหม่
คำสำคัญ:
บทบาท, ความเป็นครู, เจ้าสุนทร ณ เชียงใหม่บทคัดย่อ
เจ้าสุนทร ณ เชียงใหม่ เกิดและเติบโตในตระกูลเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ จึงมีโอกาสศึกษาดนตรีไทยตั้งแต่ในช่วงแรกที่พระราชชายาเจ้าดารารัศมี โปรดฯ ให้นำดนตรีมาเผยแพร่ เมื่อถวายตัวเป็นมหาดเล็กในพระราชชายาเจ้าดารารัศมี จึงโปรดฯ ให้เรียนดนตรีไทยในคุ้มเจ้าหลวงนครเชียงใหม่ อีกทั้งยังได้เรียนดนตรีไทยและดนตรีพื้นบ้านล้านนากับบิดาจึงซึมซับดนตรีพื้นเมืองล้านนามาตั้งแต่วัยเด็ก จนเป็นผู้มีความสามารถโดดเด่นในการบรรเลงดนตรีพื้นบ้านล้านนาและดนตรีไทย นอกจากนั้นยังมีผลงานด้านอื่น ๆ อีกมากมาย จนได้รับรางวัล ศิลปินพื้นบ้านดีเด่น สาขาดุริยางคศิลป์ ประจำปี 2528
โรงเรียนนาฏศิลป์เชียงใหม่จึงได้เชิญเจ้าสุนทร ณ เชียงใหม่ เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรีพื้นบ้านล้านนา เข้ามาเป็นผู้ถ่ายทอดทักษะความรู้ให้แก่นักเรียน จึงเป็นจุดเริ่มต้นในบทบาทของความเป็นครู ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2514 เป็นต้นมา เจ้าสุนทร ณ เชียงใหม่ เป็นครูที่มีความรักและเมตตา ช่วยเหลือเกื้อกูลลูกศิษย์เป็นอย่างมาก เป็นผู้ให้ที่ยิ่งใหญ่ ให้ทั้งความรู้และโอกาสกับลูกศิษย์ ในด้านการอบรมสั่งสอนและถ่ายทอด เจ้าสุนทร ณ เชียงใหม่ ได้ทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ลูกศิษย์อย่างเต็มกำลังความสามารถ ให้สติปัญญาแก่ลูกศิษย์อย่างไม่ปิดบังอำพราง อุทิศตนในการถ่ายทอดความรู้ให้แก่ลูกศิษย์อย่างไม่มีวันหยุด เป็นแบบอย่างที่ดีในเรื่องของการวางตัว การใช้ชีวิตและเป็นครูผู้ถ่ายทอดได้อย่างสมบูรณ์
References
ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยจรรยาบรรณวิชาชีพ พ.ศ. 2556. ราชกิจจานุเบกษา. (2556). เล่มที่ 130 ตอนพิเศษ 130 ง. หน้า 72.
ทศพร จันทร์เลิศ. (2564). การถ่ายทอดดนตรีพื้นเมืองล้านนาของเจ้าสุนทร ณ เชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), กรุงเทพฯ: คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พุทธทาสภิกขุ. (2529) ธรรมสำหรับครู. กรุงเทพฯ:สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ.
พูนพิศ อมาตยกุล. (2530). เอื้องเงิน ที่ระลึกในงานบรรจุอัฐิเจ้าสุนทร ณ เชียงใหม่. กรุงเทพมหานคร: รักษ์สิปป์.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯราชบัณฑิตยสถาน.
จตุพร วงศ์ฝั้น. สัมภาษณ์, 7 ธันวาคม 2563.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ถือเป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง กองบรรณาธิการวารสารไม่มีส่วนในความคิดเห็นและความรับผิดชอบใดที่เกี่ยวข้องกับบทความดังกล่าว ทั้งนี้ บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร ฯ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร