การพัฒนาทักษะการเขียนบทนำการวิจัยในชั้นเรียนของนักศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย โดยใช้การเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ

ผู้แต่ง

  • ภัทราพร เกษสังข์ รองศาสตราจารย์ ดร.ภัทราพร เกษสังข์ กลุ่มวิชาวัดผลการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

คำสำคัญ:

การเขียนบทนำ, การเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ, Development

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาผลการพัฒนาทักษะการเขียนบทนำการวิจัยในชั้นเรียนของนักศึกษา โดยใช้การเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ และ 2) เปรียบเทียบทักษะ การเขียนบทนำการวิจัยในชั้นเรียนของนักศึกษา ระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียนโดยใช้การเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ ประชากรเป้าหมาย คือ นักศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 ที่กำลังศึกษาในรายวิชาการวิจัยทางการศึกษา หมู่เรียน ค.5904 จำนวน 37 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินทักษะการเขียนบทนำ การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์วัดร้อยละการเปลี่ยนแปลงพัฒนาจากคะแนนเต็ม

ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษามีการพัฒนาทักษะการเขียนบทนำการวิจัยในชั้นเรียน โดยใช้การเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ มีร้อยละการเปลี่ยนแปลงพัฒนา อยู่ระหว่าง 47.5 ถึง 67.5 และ 2) นักศึกษาหลังเรียนโดยใช้การเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติมีคะแนนเฉลี่ยทักษะการเขียนบทนำการวิจัยในชั้นเรียนสูงกว่าก่อนเรียน

References

ณัฏฐพงษ์ ฉายแสงประทีป. (2558). การศึกษาการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติในรายวิชา TMT423 ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว. กรุงเทพมหานคร: คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

นวพร ชลารักษ์. (2558). บทบาทของครูกับการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 9(1): 64-71.

ภัทราพร เกษสังข์. (2559). การวิจัยทางการศึกษา. เลย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

มัลลิกา ศิริเพ่งไพฑูรย์. (2559). การพัฒนารูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ เรื่องเลขาคณิต โดยใช้ทฤษฎี Constructionism เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลบ้านหัวหิน (ประชาธิปถัมภ์) จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. ประจวบคีรีขันธ์: โรงเรียนเทศบาลบ้านหัวหิน (ประชาธิปถัมภ์).

มาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ 5: มคอ.5. (2562). ผลรายงานผลการดำเนินการของรายวิชาการวิจัยทางการศึกษา. เลย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

เยาวธิดา เพชรทอง. (2559). การจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนรู้โดยการลงมือ (Learning by doing) ในการพัฒนาองค์ความรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย. ค้นเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2562, จาก https://academic.prc.ac.th/TeacherResearch/ ResearchAbstract.php?ID=1677

รุ่งทิพ จันทร์มุณี. (2552). แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการปฏิบัติจริง. ค้นเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2562, จาก https://sites.google.com/ Site/ chauatscience/prachya-prasbkarn-tam-naewhid-khxng-cxhn-di-wxi-john-dewey-su-kar-cadkar-reiyn-ru-withyasastr

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรีสฤษดิ์วงศ์.

อนุศร หงส์ขุนทด. (2560). การจัดการเรียนการสอนเพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนรู้แบบการลงมือกระทำ. ค้นเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2562, จาก https://krukobblog.wordpress.com/2017/01/25/active-learning

Aguado, N. A. (2009). Teaching research methods: Learning by doing. Journal of Publics AffairsEducation, 15(2): 251-26

Downloads

เผยแพร่แล้ว

17-11-2022