การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้ด้วยตนเอง รายวิชาคอมพิวเตอร์เพื่อการออกแบบ (เพิ่มเติม) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนหันคาพิทยาคม

ผู้แต่ง

  • ณัชชา ทัดทอง นักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
  • ภานุวัฒน์ ศรีไชยเลิศ อาจารย์ประจำสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

คำสำคัญ:

บทเรียนออนไลน์, การเรียนรู้ด้วยตนเอง, คอมพิวเตอร์เพื่อการออกแบบ

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาคุณภาพบทเรียนออนไลน์ร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้ด้วยตนเอง รายวิชาคอมพิวเตอร์เพื่อการออกแบบ (เพิ่มเติม) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนหันคาพิทยาคม 2) หาประสิทธิภาพของบทเรียนออนไลน์ร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้ด้วยตนเองที่พัฒนาขึ้น 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียน 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้ด้วยตนเองที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 โรงเรียนหันคาพิทยาคม อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท จำนวน 40 คน ได้จากการสุ่มอย่างง่าย โดยใช้วิธีการจับฉลากห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 3 แผน บทเรียนออนไลน์ร่วมกับการเรียนรู้ด้วยตนเอง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test

            ผลการวิจัย พบว่า 1) บทเรียนออนไลน์ร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้ด้วยตนเองที่พัฒนาขึ้นจำนวน 3 บทเรียน ผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็นจากการประเมินว่าบทเรียนออนไลน์ที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมในการนำไปใช้กับรูปแบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง เนื่องจากมีเนื้อหาที่สามารถให้ผู้เรียนเลือกเรียนได้หลายรูปแบบ โดยมีผลการประเมินคุณภาพด้านเนื้อหาอยู่ในระดับดี (  = 4.43 S.D. = 0.50) และด้านการออกแบบบทเรียนอยู่ในระดับดี (  = 4.38 S.D. = 0.59) 2) ผลของการประเมินประสิทธิภาพของบทเรียนออนไลน์ร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยใช้เกณฑ์ E1/E2 มีค่าเท่ากับ 84.75/83.50 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่ 80/80 3) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อบทเรียนออนไลน์ร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้ด้วยตนเองที่พัฒนาขึ้น โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (  = 4.58 S.D. = 0.61)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวง ศึกษาธิการ.

________. (2551). หลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมชนสหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กัมปนาท บริบูรณ์. (2563). การเรียนรู้ด้วยการ นำตนเอง (Self-Directed Learning: SDL) แนวทางที่จะช่วยการจัดการเรียนรู้ของคนทุกช่วงวัยในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

กิดานันท์ มลิทอง (2543). เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัดอรุณการพิมพ์.

จรัญ ชื่นชมน้อย และ ภานุวัฒน์ ศรีไชยเลิศ. (2563). การพัฒนาบทเรียน M-Learning ร่วมกับรูปแบบการสร้างความรู้ด้วยตนเองรายวิชาเทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบางสะพานวิทยา. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 12 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม (9-10 กรกฎาคม 2563), 845-854. นครปฐมม: หาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

ชัยฤทธิ์ โพธิสุวรรณ. (2541). รายงานการวิจัยเรื่องความพร้อมในการเรียนรู้โดยการชี้นำตนเองของผู้เรียนผู้ใหญ่ของกิจกรรมการศึกษาผู้ใหญ่บางประเภท. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ถนอมพร เลาหจรัสแสง (2544). “การสอนบนเว็บ (Web-Based Instruction) นวัตกรรมเพื่อคุณภาพการเรียนการสอน.” วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 28(1): 87-94.

ทิศนา แขมมณี. (2552). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พัชรี มะแสงสม. (2544). ปัจจัยบางประการที่สัมพันธ์กับความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเอง. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

วิชุดา รัตนเพียร. (2542). “การเรียนการสอนผ่านเว็บ: ทางเลือกใหม่ของเทคโนโลยีการศึกษาไทย.” วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 27(3): 29-33.

วิภาส วิกรมสกุลวงศ์. (2560). การพัฒนาบทเรียนผ่านสื่อสังคมออนไลน์ทางทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงานวิชาคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาและฝึกอบรมสำหรับนักศึกษาปริญญาตรี. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

สุวัฒน์ วัฒนวงศ์. (2548). รวมบทความแนวคิดทางอาชีวศึกษาและการศึกษาผู้ใหญ่. นนทบุรี: พี.เอส.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). การจัดรายวิชาเพิ่มเติม เพื่อส่งเสริมและพัฒนาทักษะทางอาชีพในหลักสูตรสถานศึกษา. ค้นเมื่อ 8 ธันวาคม 2564, จาก http://academic.obec.go.th/missiondetail.php?id=20

หอมจันทร์ แสงเสดาะ. (2560). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบนำตนเองด้วยบทเรียนออนไลน์ เพื่อพัฒนาความสามารถในการแสวงหาความรู้และเสริมสร้างความรับผิดชอบของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. ร้อยเอ็ด: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด.

อมรินทร์ อำพลพงษ์. (2559). การพัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตตาม แนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการออกแบบและเทคโนโลยี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อมรเทพ เทพวิชิต. (2552). การจัดการเรียนการสอนบนเว็บด้วย Moodle 1.9 สำหรับผู้สอน. นครราชสีมา: ศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

Henrietta Fore. (2021). Children cannot afford another year of school disruption. Retrieved 5 August 2021 from https://www.unicef.org/thailand/press-releases/ children-cannot-

afford-another-year-school-disruption

Knowles, Malcolm S. (1975). Self – Directed Learning: A guide for learners and teachers. Chicago: Association Press.

Skager, R. (1977). Curriculum Evaluation for Lifelong Education. Toronto: Pergamon Press

Downloads

เผยแพร่แล้ว

17-11-2022