นวัตกรรมห้องเรียน : การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

ผู้แต่ง

  • สุภาวรรณ ฤๅกำลัง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม

คำสำคัญ:

นวัตกรรมห้องเรียน, การจัดการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21

บทคัดย่อ

บทความนี้นำเสนอนวัตกรรมห้องเรียนกับการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เป็นนวัตกรรมการศึกษาที่ได้นำเทคโนโลยีมาเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการจัดการเรียนการสอน เพื่อมุ่งพัฒนาและส่งเสริมประสิทธิภาพของการจัดการศึกษาให้ดียิ่งขึ้นในศตวรรษที่ 21 และสอดรับกับกระแสการเปลี่ยนแปลงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทค่อนข้างสูงต่อการจัดการศึกษา โดยนวัตกรรมห้องเรียนมีจุดเน้นด้านของการมีปฏิสัมพันธ์ทางการเรียนร่วมกันกับเทคโนโลยีที่หลากหลายของสื่อในรูปแบบต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดเป็นการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ผู้เรียนได้แสวงหาความรู้มีปฏิสัมพันธ์ และเกิดวิธีคิดตามกระบวนการสร้างองค์ความรู้ โดยนำเทคโนโลยีมาใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้และผสมผสานกับแนวคิดทฤษฎีการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย ในบทความนี้นำเสนอนวัตกรรมห้องเรียน 4 รูปแบบ ได้แก่
1) ห้องเรียนอัจฉริยะ (Smart Classroom) เน้นการสร้างปฏิสัมพันธ์ทางการเรียนรู้ร่วมกันจากเทคโนโลยีที่หลากหลายทั้งระบบภาพและเสียง 2) ห้องเรียนอัจฉริยะเสมือน (Virtual Smart Classroom) เน้นให้ผู้เรียนค้นหาศักยภาพในตนเอง และเสริมสร้างทักษะที่สำคัญต่ออนาคต 3) ห้องเรียนเสมือนจริง (Virtual Classroom) เน้นการใช้เทคโนโลยีการสร้างหรือจำลองสถานการณ์ทางการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นภายในชั้นเรียน
4) ห้องเรียนดิจิทัล (Digital Classroom) เน้นการเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลาผ่านทางเครื่องอำนวยความสะดวกได้หลากหลาย สามารถเชื่อมโยงสื่อการสอนจากห้องเรียนอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งผู้สอนสามารถเลือกนำมาใช้ตามความเหมาะสมกับบริบทของผู้เรียนและโรงเรียน เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพทางการเรียนรู้ของผู้เรียนและผู้สอนให้เกิดขึ้นตามสภาพสังคมเทคโนโลยีสารสนเทศที่ก้าวหน้าในปัจจุบัน และเป็นอีกทางเลือกหนึ่งเพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ทางการเรียนรู้ และแสวงหาความรู้ที่กว้างไกล เพื่อนำมาสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง

References

ปรารถนา ชนะศักดิ์. (2556). ห้องเรียนครูไทยในศตวรรษที่ 21. ค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2564.

จาก http://www.gotoknow.org/posts/510699.

พงษ์ชัย ชัยมงคล. (2557). ห้องเรียนในทศวรรษที่ 21. ค้นเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2564.

จากhttp://182.93.220.76/KM_sec5/?name=research&file=readresearch&id=22.

สุรศักดิ์ ปาเฮ. (2560). ห้องเรียนมิติใหม่ในศตวรรษที่ 21. The Flipped Classroom : New

Classrooms Dimension in the 21 st. Century. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2564.

เข้าถึงได้จาก http://research.yru.ac.th/e-journal/index.php/journal/article/

viewFile/60/78.

อภิภา ปรัชญพฤทธิ์. (2561). การพัฒนารูปแบบการผลิตครูเพื่อรองรับการศึกษายุค 4.0. กรุงเทพฯ:

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อัญชนา จันทรสุข. (2545) .การนำรูปแบบการจัดห้องเรียนเสมือนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสำหรับนิสิต

นักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย . กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย.

Armando Morales. (2010). Social Work : A Profession of Many Faces. Boston: Allyn

and Bacon.

Boonlue Sotinai. (2007). The Effect on Teaching English by Using Backward Design

Lesson Plans to Enhance the English Proficiency of Prathomsuksa 5

Students at Ban Duanyai. (Leeratwathana) School. Sisaket: Wang Hin District.

Hijazi, Sam and Kelly, Lori. (2003). Knowledge Creation in Higher Education.

Institutions: A Conceptual Model Proceedings of the 2003. In ASCUE Conference.

MyrtleBeach, South Carolina.

Huang, R., Hub, Y., Yang, J., Xiao, G. (2012). The Functions of smart classroom in

smart learning age. In Proceedings of the 20th International Conference on

Computers in Education ICCE 2012. National Instituteof Education, Nanyang

Technological University,

Perrin Donald G. (1995). The University of the Future. ED Journal 9(2),140-143.

Ruggles, R and Holthouse, D. (1999). Gaining the knowledge Advantage. The Knowledge Advantage. CAPSTONE.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

09-12-2021

How to Cite

ฤๅกำลัง ส. . . (2021). นวัตกรรมห้องเรียน : การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 15(2), 18–27. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/EDUCLoei/article/view/261600

ฉบับ

บท

บทความทางวิชาการ