การจัดการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้แอปพลิเคชัน Duolingo ประกอบการสอนนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านนาสีสลากกินแบ่งสงเคราะห์ที่ 59 อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย

ผู้แต่ง

  • ณัฐสุดา สิทธิชัย นักศึกษาครุศาสตร์บัณฑิต สาขาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • ปรางค์วิไล สวาสนา นักศึกษาครุศาสตร์บัณฑิต สาขาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • มัลลิกา วรวิเศษ นักศึกษาครุศาสตร์บัณฑิต สาขาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • ธิดารัตน์ วงศ์ลา นักศึกษาครุศาสตร์บัณฑิต สาขาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • ชัยมงคล ปินะสา อาจารย์, อาจารย์ประจำกลุ่มวัดผลการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

คำสำคัญ:

คำศัพท์ภาษาอังกฤษ, ผลสัมฤทรธิ์ทางการเรียน, ระดับความพึงพอใจ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสง 1) เพื่อวิเคราะห์หาประสิทธิภาพการสอนโดยใช้เกมประกอบการเรียนการสอนการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านนาสีสลากกินแบ่งสงเคราะห์ที่ 59 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านนาสีสลากกินแบ่งสงเคราะห์ที่ 59 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้แอปพลิเคชัน Duolingo 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านนาสีสลากกินแบ่งสงเคราะห์ที่ 59 ต่อการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้แอปพลิเคชัน Duolingo กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านนาสีสลากกินแบ่งสงเคราะห์ที่ 59 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต 1 ที่เรียนภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 1 ห้องเรียน มีนักเรียนทั้งหมด จำนวน 19 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)

ผลการศึกษาพบว่า 1) การเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้แอปพลิเคชัน Duolingo พบว่า การทดลองภาคสนาม โดยกำหนดเกณฑ์ประสิทธิภาพ (E1/E2) ไว้ที่ 70/70 มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 45.5/85 และผลการหาประสิทธิภาพการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้แอปพลิเคชัน Duolingo ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พบว่า มีค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 62.63/86.31 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 2) นักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านนาสีสลากกินแบ่งสงเคราะห์ที่ 59 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต 1 ที่เรียนภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 ที่เรียนด้วยการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้ แอปพลิเคชันDuolingo มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้ แอปพลิเคชัน Duolingo ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 อยู่ในระดับพอใจมาก

References

กรมวิชาการ. 2551. กระบวนการเรียนรู้และยุทธศาสตร์การเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: เดอะมาสเตอร์กรุ๊ปแมนเนจเม้นท์จำกัด.

กระทรวงศึกษาธิการ.2551. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช พุทธศักราช 2551.กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กรุณา ดิษเจริญ. 2548. การศึกษาผลการสอนโดยใช้เกมที่มีต่อความสามารถในการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ และเจตคติต่อวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1. (วิทยานิพนธ์ครุ ปรัญญา มหาบัณฑิต)ครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

Cambridge University Press. (2019). Mobile-assisted language learning: A Duolingo case study. [Online]. Available from: https://www.cambridge.org/core/journals/ recall/article/ abs/mobileassisted-language-learning-a-duolingo-case study/ A4D7C8F71782A37D258C19F357DDBCBE

Dewey, J. (1963). Experience and Education. New York: Collier Books.

Gardner, R. C., & Lambert, W.(1972). Attitudes and Motivations in second language learning. Rowley, Massachusettes : Newbury House.

Krashen, S. D. & Terrel, T. D. (1983). The Natural Approach. Oxford: Pergamon Press.

Maslow, A.(1970) Motivation and Personality. 2nd ed. New York: Harpers and Row.

McCarthy, B. (1997). A tale of four learner: 4 MAT learning styles . Eric Accession :NISCDiscover Report, 73.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

12-09-2021

How to Cite

สิทธิชัย ณ. ., สวาสนา ป. ., วรวิเศษ ม., วงศ์ลา ธ., & ปินะสา ช. . (2021). การจัดการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้แอปพลิเคชัน Duolingo ประกอบการสอนนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านนาสีสลากกินแบ่งสงเคราะห์ที่ 59 อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 15(2), 9–17. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/EDUCLoei/article/view/261553