การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชานาฏศิลป์ไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดปุรณาวาส โดยใช้วิธีสอนแบบทางตรง

ผู้แต่ง

  • ปรายฟ้า ปาสาบุตร สาขาวิชานาฏศิลป์ไทยศึกษา วิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
  • ฤดีชนก คชเสนี สาขาวิชานาฏศิลป์ไทยศึกษา วิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
  • ปิยะบุตร ถิ่นถา ภาควิชาศึกษาทั่วไป วิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

คำสำคัญ:

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, วิธีสอนแบบทางตรง, วิชานาฏศิลป์ไทย, นักเรียน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชานาฏศิลป์ไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังเรียนโดยใช้วิธีสอนแบบทางตรง และ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชานาฏศิลป์ไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดปุรณาวาส หลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีสอนแบบทางตรงกับเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนวัด    ปุรณาวาส จำนวน 36 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบไปด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 4 แผน และแบบวัดผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า 1) นักเรียนมีผมสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนโดยใช้วิธีสอนแบบทางตรงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ . 05

Author Biographies

ปรายฟ้า ปาสาบุตร, สาขาวิชานาฏศิลป์ไทยศึกษา วิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

นักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต

ฤดีชนก คชเสนี, สาขาวิชานาฏศิลป์ไทยศึกษา วิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชานาฏศิลป์ศึกษา ภาควิชานาฏศิลป์ไทย วิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

ปิยะบุตร ถิ่นถา, ภาควิชาศึกษาทั่วไป วิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

อาจารย์ ภาควิชาศึกษาทั่วไป วิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551) ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

จีราภรณ์ จิตรมิตร. (2564). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ เรื่อง โปรแกรมซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Microsoft Excel) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนทางตรง. (วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต),ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ชลธิชา ดีเลิศและศิริพงษ์ เพียศิริ. (2561). การพัฒนาหลักสูตรการเป่าขลุ่ยเพียงออ โดยใช้รูปแบบการสอนทางตรงสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 12(3), 55.

ทิศนา แขมมณี. (2560). ศาสตร์การสอน (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธนกร มหัทธนะกุลชัยและศิริพงษ์ เพียศิริ. (2556). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการปฏิบัติทางดนตรีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้รูปแบบการสอนทางตรง. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 36(2): 56.

มนชนก รัตนจำนงค์. (2561). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชานาฏศิลป์ ด้วยรูปแบบการสอนแบบทางตรงผสมผสานทักษะปฏิบัติของเดวีส์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 5. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ศริญญา สีเลา, คำรณ สุนทรานนท์และรจนา สุนทรานนท์. (2564). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้และทักษะปฏิบัติท่ารำวงมาตรฐานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสารสาสน์เอกตรา โดยใช้รูปแบบการสอนจิ๊กซอว์ผสมผสานทักษะปฏิบัติของเดวีส์. วารสารจันทรเกษมสาร, 27(1), 160 - 162.

เสาวรี ภูบาลชื่น. (2563). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้วิธีสอนแบบทางตรงร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านทักษะปฏิบัติ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความพึงพอใจ วิชาศิลปะ สาระนาฏศิลป์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 39(5), 81-82.

Joyce & Weil. (1996). Model of teaching (4th ed.). Boston: Allyn and Bacon.

Joyce, B., Weil, M.& Showers, B. (1992). Model of Teaching. Boston: Allyn and Bacon.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

09-09-2021