A การพัฒนารูปแบบกิจกรรมแนะแนวแบบบูรณาการเพื่อส่งเสริม การเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

ผู้แต่ง

  • ฐิติพรรณ ศิริเลิศ โรงเรียนเทศบาลวัดกลาง เทศบาลนครขอนแก่น

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ , กิจกรรมแนะแนวแบบบูรณาการ, การเรียนรู้อย่างมีความสุข

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบกิจกรรมแนะแนวแบบบูรณาการเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  และ 2) ทดลองใช้และศึกษาผลการใช้รูปแบบกิจกรรมแนะแนวแบบบูรณาการเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่าง 3 ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่กำลังศึกษาภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 ได้มาโดยสุ่มแบบกลุ่ม จำนวน 59 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบและคู่มือการใช้รูปแบบกิจกรรมแนะแนวแบบบูรณาการเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) แบบประเมิน การเรียนรู้อย่างมีความสุข และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจ  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบทีแบบอิสระ

ผลการวิจัยพบว่า 1)  ผลการพัฒนารูปแบบกิจกรรมแนะแนวแบบบูรณาการเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีชื่อว่า “รูปแบบ WALK-R” 5 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 สร้างบรรยากาศที่อบอุ่น ขั้นที่ 2 กระตุ้นการคิด ขั้นที่ 3 ใช้กระบวนการเรียนรู้ ขั้นที่ 4 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน และขั้นที่ 5 สะท้อนคิด และประเมินผล โดยมีผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบกิจกรรมแนะแนวแบบบูรณาการเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  โดยภาพรวมมีค่าความเหมาะสมในระดับมาก (  = 4.37, S.D. = 0.16) 3) และผลการประเมินความเหมาะสมของคู่มือการใช้รูปแบบกิจกรรมแนะแนวแบบบูรณาการเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  โดยภาพรวมมีค่าความเหมาะสมในระดับมาก (  = 4.41, S.D. = 0.12)  2)  กลุ่มทดลองที่ได้รับการพัฒนาด้วยรูปแบบกิจกรรมแนะแนวแบบบูรณาการเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  มีผลการเรียนรู้อย่างมีความสุขหลังทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดกิจกรรมแนะแนวแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  และกลุ่มทดลองมี ความพึงพอใจต่อรูปแบบกิจกรรมแนะแนวแบบบูรณาการเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีความสุขอยู่ในระดับมาก (  = 4.36, S.D. = 0.15)

Author Biography

ฐิติพรรณ ศิริเลิศ, โรงเรียนเทศบาลวัดกลาง เทศบาลนครขอนแก่น

ครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ

References

กมล โพธิ์เย็น. (2559). การจัดการเรียนรู้เพื่อนำความสุขสู่ผู้เรียน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 13(2): 121-131.

กาญจนา แก้วเทพ. (2551). การจัดการความรู้เบื้องต้น เรื่อง “การสื่อสารชุมชน”. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

การีมะห์ และหีม. (2564). การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมแนะแนวโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎี การจัดการ เรียนรู้ของกาเย่และ STAD เพื่อส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2.วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา, 3(1): 115-144.

จันทร์เพ็ญ สุวรรณคร. (2558). กระบวนทัศน์การจัดกิจกรรมแนะแนวเพื่อเสริมสร้างการใช้ทักษะชีวิตและ อาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 8(2): 176 - 191.

จรัญญา หุ่นศรีสกุล. (2554). ความคิดเห็นของนิสิตนักศึกษาทันตแพทย์ชั้นปีที่ 1-6 ต่อการจัดการเรียนรู้ที่เป็นสุขและมีประสิทธิภาพโดยรวมของทุกวิชา. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.

จรินทร์ ปภังกรกิจ. (2554). ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้อย่าง “สร้างสุข”. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.

จีรัฐติกุล ดอนวิจารณ์ขจร สมปอง กัลยา และ สุรกานต์ จังหาร. (2562). การพัฒนากิจกรรมแนะแนวเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตด้านการแก้ปัญหา ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 13(2): 92 – 108.

ณัฏฐา ผิวมา. (2564). การจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐานด้วยบูรณาการเทคโนโลยีเกมคอมพิวเตอร์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ (ฉบับพิเศษ): 1-15.

ทิศนา แขมมณี. (2556). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 23). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิยม กิมานุวัฒน์. (2559). การพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อพัฒนากระบวนการคิดเชิงระบบ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฏีบัณฑิต), มหาวิทยาลัยบูรพา.

พจมาน พิเดช และ บุญชม ศรีสะอาด. (2560). องค์ประกอบของความใฝ่รู้ใฝ่เรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 36(5): 69-84.

มะลิ หาธรรม อุษา ปราบหงษ์ และ สําราญ กําจัดภัย. (2560). การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนตามแนวทางการเรียนรู้อย่างมีความสุข เรื่องหลักการใช้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 9(24): 115-124.

วรวุฒิ อินทนนท์. (2554). การเปรียบเทียบ การเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักศึกษาที่ ได้รับการฝึกสมาธิแบบอานาปานสติและนักศึกษาที่เรียนตามปกติของนักศึกษาชั้น ปีที่ 1 คณะศิลปะศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม. วารสารมหาวิทยาลัย นครพนม, 1(1): 14-22.

วิชัย วงษ์ใหญ่ และ มารุฒ พัฒผล. (2563). การเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ (Creative Learning). กรุงเทพฯ: บริษัท จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์ จำกัด.

วัลลภา วาสนาสมปอง. (2563). ผลของรูปแบบการเรียนรู้แบบนำความสุขสู่ผู้เรียนที่มีต่อพฤติกรรม การเรียนรู้ด้านพุทธิพิสัยตามแนวคิดของบลูม ในรายวิชากายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต), มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ศรีเรือน แก้วกังวาล. (2561). ทฤษฎีจิตวิทยาบุคลิกภาพ : รู้เรา รู้เขา. (พิมพ์ครั้งที่ 17). กรุงเทพฯ: หมอชาวบ้าน.

สายรุ้ง ธิตา. (2558). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดจิตวิทยาเชิงบวก เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีความสุขสำหรับนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต), มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559). การจัดการเรียนรู้กิจกรรมแนะแนว. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สุดหทัย รุจิรัตน์. (2558). รูปแบบการเสริมพลังเพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูที่ส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียนระดับประถมศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

อารี พันธ์มณี. (2546). “จากการสอนสู่การจุดประกายความใฝ่รู้,” วารสารวิชาการ, 26(1): 15-16.

Jacolyn M. Norrish, Paige Williams, Meredith O'Connor and Justin Robinson. (2013). An applied framework for Positive Education. International Journal of Wellbeing, 3(2):147-161.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-06-2022

How to Cite

ศิริเลิศ ฐ. . (2022). A การพัฒนารูปแบบกิจกรรมแนะแนวแบบบูรณาการเพื่อส่งเสริม การเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 16(1), 26–39. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/EDUCLoei/article/view/260434