กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพเพื่อพัฒนาสมรรถภาพทางกาย ของนักศึกษามหาวิทยาลัยนครพนม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพเพื่อพัฒนาสมรรถภาพทางกายของนักศึกษามหาวิทยาลัยนครพนม รูปแบบการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบหนึ่งกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษา มหาวิทยาลัยนครพนม จำนวน 25 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย กิจกรรมเสริมสร้างสุขภาพและแบบทดสอบสมรรถภาพทางกาย การเก็บรวบรวมข้อมูลดำเนินการปฏิบัติกิจกรรมเสริมสร้างสุขภาพเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ ๆ ละ 5 วัน ๆ ละ 120 นาที สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของอายุ น้ำหนัก และส่วนสูง และเปรียบเทียบผลการทดสอบสมรรถภาพทางกายด้วยสถิติ Independent samples t – test ทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า หลังการร่วมปฏิบัติกิจกรรมตามโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ สมรรถภาพทางกายด้านความแข็งแรงกล้ามเนื้อแขนและขาของอาสาสมัครเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบกับก่อนเข้ารับโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อจำแนกตามรายการทดสอบ พบว่า น้ำหนัก ดัชนีมวลกาย ความอ่อนตัว และสมรรถภาพารการใช้ออกซิเจนเพิ่มขึ้น ส่วนปริมาณไขมันใต้ผิวหนังและชีพจรขณะพักมีค่าลดลงแต่ไม่แตกต่างกัน เมื่อทำการเปรียบเทียบระดับสมรรถภาพทางกายของอาสาสมัครกับเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกายในกลุ่มอายุเดียวกัน พบว่า ปริมาณไขมันใต้ผิวหนังของนักศึกษาเพศหญิงอยู่ระดับปานกลาง (=27.60) เพศชายอยู่ในระดับต่ำมาก (=19.50) สมรรถภาพทางกายด้านความอ่อนตัวของเพศหญิงอยู่ในระดับต่ำ (=9.54) เพศชายอยู่ในระดับปานกลาง (=11.26) ด้านความแข็งแรงกล้ามเนื้อแขนของเพศหญิงและเพศชายอยู่ในระดับต่ำ (=.46 และ .55 ตามลำดับ) ด้านความแข็งแรงกล้ามเนื้อขาของเพศหญิงอยู่ในระดับดีมาก (=1.24) เพศชายอยู่ในระดับปานกลาง (=1.51) ส่วนด้านความสามารถใช้ออกซิเจนของเพศหญิงและเพศชายอยู่ในระดับต่ำมาก (=23.33 และ 26.52 ตามลำดับ)
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ความคิด ข้อวิพากษ์ในวารสารเป้นสิทธิของผู้เขียน สมาคมสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการแห่งประเทศไทยไม่จำเป็นต้องเห็นชอบด้วยเสมอไป เพื่อให้เกิดความหลากหลายในความคิดและความสร้างสรรค์
References
การกีฬาแห่งประเทศไทย. (2545). เกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกายประชาชนไทย. กรุงเทพฯ: นิวไตรมิตรการพิมพ์.
พิมผกา ปัญโญใหญ่. (2555). การออกกำลังกายแบบแอโรบิคสำหรับผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ, 35(2), 140-148.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2558). การสำรวจกิจกรรมทางกายของประชากร พ.ศ. 2558. สืบค้นเมื่อ 8 ธันวาคม 2565, สือค้นจากhttps://www.m-society.go.th/ewtadmin/ewt/mso_web/article_attach/18375/20283.pdf.
อภิวัฒน์ ปัญญามี. (2565). แนวทางการพัฒนาบริการทางการกีฬาและการออกกำลังกายในสถาบันการพลศึกษา. วารสารสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการ, 48(1), 60-74.
Andrew, RM., Long, BC., & Goad, CL. (2014). Effect of foam rolling and static stretching on passive hip-flexion range of motion. Journal of Sport Rehabilitation, 23(4), 296-299.
Andersen, LB., Riddoch, C., Kriemler, S, & Hills, A. (2011). Physical activity and cardiovascular risk factors in children. British Journal Sports Medicine, 45(11), 871-876.
Farthin, JP., & Chilibeck, PD. (2003). The effects of eccentric and concentric training at different velocities on muscle hypertrophy. European Journal of Applied Physiology, 89(6), 578-586.
Nicklas, TA., von Duvillard, SP., & Berenson, GS. (2002). Tracking of serum lipids and lipoproteins from childhood to dyslipidemia in adults: The Bogalusa Heart Study. International Journal of Sport Medicine, Suppl 1: S39-43.
Ortega, FB, Ruiz, JR, Castillo, MJ, & Sjostrom, M. (2008). Physical fitness in childhood and adolescence: a powerful marker of health. International Journal of Obesity, 32(1), 1-11.
Panyamee, A. (2022). The guidelines to develop sports and exercise services in the institute of physical education. Journal of Health, Physical Education and Recreation, 48(1), 60-74.
Ploutz-Snyder, LL., Convertino, VA., & Dudley, GA. (1995). Resistance exercise-induced fluid shifts: Change in active muscle size and plasma volume. American Journal of physiology, 269(3Pt2) R536-543.
Ramsbotton, R., Brewer, J., & Williams, C. (1988). A progressive shuttle run test to estimate maximal oxygen uptake. British Journal of sports Medicine, 22(4), 141-144.
Srisuk, S. (2023). Physical performances adaptation during concurrent high-intensity continuous training in adolescents. International Journal of Physical Education, Sports and Health, 10(4), 86-90.
Verdijk, LB., Gleeson, BG., Jonkers, RAM, Meijer, K., Savelberg Hans, HCM., Dendale, P., & van Loon Luc, JC. (2009). Skeletal muscle hypertrophy following resistance training is accompanied by a fiber type-specific increase in satellite cell content in elderly men. The Journals of Gerontology. Series A, Biological Sciences and Medical Sciences, 64(3), 332-339.
World Health Organization. (2000). Obesity: preventing and managing the global epidemic. Report of a WHO consultation. https://apps.who.int/iris/handle/10665/42330