การพัฒนาแบบวัดทักษะกีฬาเปตองลูกวางขั้นพื้นฐานสำหรับนักกีฬาเปตอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาแบบวัดทักษะกีฬาเปตองลูกวางขั้นพื้นฐานสำหรับนักกีฬาเปตอง 2) เพื่อหาคุณภาพแบบวัดทักษะกีฬาเปตองลูกวางขั้นพื้นฐานสำหรับนักกีฬาเปตอง 3) เพื่อศึกษาแบบวัดทักษะกีฬาเปตองลูกวางขั้นพื้นฐานสำหรับนักกีฬาเปตอง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬาเปตอง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้มาจากการเลือกเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) ด้วยวิธีการกำหนดคุณสมบัติ เป็นนักกีฬาเปตองจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบวัดทักษะการสไลด์กีฬาเปตอง 2) แบบวัดการฮาฟกีฬาเปตอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการหาค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์แบบเพียรสัน (Pearson Product Moment Correlation) ค่าความเชื่อมั่น (Test-retest Reliability) ค่าความเที่ยงตรง (Validity)
ผลการวิจัยพบว่า
1) ผลการตรวจค่าดัชนีความสอดคล้องของผู้เชี่ยวชาญ IOC เรื่องการพัฒนาแบบวัดกีฬาเปตองลูกวางขั้นพื้นฐานสำหรับนักกีฬาเปตองจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พบว่าค่า ดัชนีความสอดคล้องของผู้เชี่ยวชาญ IOC มีค่า เท่ากับ 1.00
2) ผลการหาคุณภาพแบบวัดทักษะกีฬาเปตองลูกวางขั้นพื้นฐาน โดยใช้วิธีการให้คะแนนจากผู้เชี่ยวชาญทั้ง 2 ท่าน ครั้งที่ 1 กับ ครั้งที่ 2 หาค่า t โดยวิธีการสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันมึค่าเฉลี่ยแบบทดสอบ
การวางแบบสไลด์ t = .877** การวางแบบฮาฟ มีค่า t = .926** ซึ่งอยู่ในระดับดี
3) ผลการวัดทักษะนักกีฬาที่เข้าร่วมวัดกีฬาเปตองลูกวางขั้นพื้นฐานพบว่า แบบวัดทักษะการสไลด์ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 17.25 อยู่ในระดับ ดีมาก และแบบวัดทักษะการฮาฟดรอป มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 16.95 อยู่ในระดับ ดีมาก
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ความคิด ข้อวิพากษ์ในวารสารเป้นสิทธิของผู้เขียน สมาคมสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการแห่งประเทศไทยไม่จำเป็นต้องเห็นชอบด้วยเสมอไป เพื่อให้เกิดความหลากหลายในความคิดและความสร้างสรรค์
References
กัญญารัตน์ ทองวิลัย. (2566). ผลการฝึกการเสิร์ฟ ลูกเทเบิลเทนนิสแบบหลงัมือที่มีผลต่อทักษะการเสิร์ฟ ลูกเทเบิลเทนนิสแบบ หลังมือของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 3 โรงเรียนบางกะปิปีการศึกษา 2565. โครงการวันวิชาการคณะพลศึกษา นวัตกรรมสุขภาพและกีฬา ครั้งที่ 5 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องค์รักษ์: 122 – 128.
เกรียงไกร รอดปัญญา. (2559). การสร้างแบบทดสอบทักษะกีฬาเปตองสำหรับนักศึกษา สถาบันการพลศึกษาวิทยาเขตชลบุรี. การประชุมระดับชาติครั้งที่ 3 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2237 – 2245.
ณัฐวิชช์ รุกขชาติ. (2564). การพัฒนาทักษะการรับ-ส่งบาสเกตบอลสองมือระดับอกโดยใช้โปรแกรมการฝึกของนักเรียนชายระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสุขุมนวพันธ์อุปถัมภ์ ปีการศึกษา 2563. การนำเสนอผลงานวิจัยของนักศึกษาสาขาการศึกษา ระดับปริญญาตรี ครั้งที่ 3 คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา: 2204-2213.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: สุวีรียาสาสน์.
บุญส่ง โกสะ. (2542). วิธีวิจัยทางพลศึกษา. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
บัวชมพู ชวนนุสรณ, นาทรพี ผลใหญ่ และวิชาญ มะวิญธร. (2565). การสร้างแบบทดสอบความคล่องแคล่วว่องไวสําหรับนักกีฬาเทเบิลเทน. วารสารสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการ, 48(2), 261-271.
พิศิษฐ์ ไตรรัตน์ผดุงผล และอรนุช ตระกูลแสงอุษา. (2531). คู่มือกีฬาเปตอง. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์.
มณีพร โชติไสว. (2563). ผลของโปรแกรมการฝึกร่วมที่มีต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและความแม่นยำของทักษะการเสิร์ฟลูกมือบนในกีฬาวอลเลย์บอล. ปริญญาศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต (พลศึกษา) สาขาวิชาพลศึกษา ภาควิชาพลศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2539). เทคนิคการวัดผลการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: ภาควิชาการวัดผลและการวิจัยการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สุรวุฒ พิณมณี. (2564). การพัฒนาโปรแกรมการฝึกยิงประตูกีฬาบาสเกตบอลของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดลาดพร้าว ปีการศึกษา 2563. การนำเสนอผลงานวิจัยของนักศึกษาสาขาการศึกษา ระดับปริญญาตรีครั้งที่ 3 คณะครุศาศตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา: 2237-2244.
เสรี ทองเลิศ. (2536). การสร้างแบบทดสอบทักษะกีฬาระดับมหาวิทยาลัย. ปริญญาศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิตพลศึกษา สาขาวิชาพลศึกษา ภาควิชาพลศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
อเนก ภูก๊ก. (2559). คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาเปตอง. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: การกีฬาแห่งประเทศไทย.
อนงค์ รักษวงศ์. (2565). การสร้างแบบทดสอบทักษะกีฬาเปตองสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. วารสารศิลปะศาสตร์ มทร. ธัญบุรี, 3(1), 90-100.
อนุรักษ์ ปักการะนัง, รายาศิต เต็งกูสุลัยมาน และกรรวี บุญชัย. (2565). การสร้างเกณฑ์การประเมินทักษะกีฬาปันจักสีลัตสําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการ, 48(1), 218-225.
Davies I. K. (1971). The Management of Learning. London: McGraw – Hill.
Johnson B. L. and J. K. Nelson. (1986). "Basic Concept in Test Evaluation" Practical Measurement for Evaluation in Phisical Education. Minnesota: Burgess internation Group Inc.
Kirkendall, D.R., J.J. Gruber and R.E. Johnson. (1981). Measurement and Evaluation for Physical Education. Champaign. Illinois: Human Kinetics Publishers.
Mathew, N.P. and C.R. Jensen. (1973). Measurement and Statistics in Physical Education. Belmont: Wadsworth. s.