การวิเคราะห์รูปแบบการยิงประตูของทีมที่ประสบความสำเร็จในการแข่งขันฟุตซอล ระดับลีกอาชีพของประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบรูปแบบการยิงประตูของทีมที่ประสบความสำเร็จในการแข่งขันฟุตซอลไทยลีกสองฤดูกาลล่าสุด คือ ฤดูกาล 2020/21 และ ฤดูกาล 2021/22 รวมจำนวนประตูที่ยิงได้ทั้งหมด 418 ประตู โดยผู้วิจัยจะทำการวิเคราะห์รูปแบบการยิงประตูตามตัวแปรต่าง ๆ จากวีดีโอการแข่งขันจำนวน 104 แมตช์ โดยวิธีการวิเคราะห์สัญลักษณ์ (notational analysis) โดยใช้โปรแกรมวิเคราะห์สมรรถนะทางการกีฬา ยี่ห้อ Dartfish รุ่น ProS ตามตัวแปรที่ผู้วิจัยได้กำหนดขึ้น และนำข้อมูลที่ได้มาจำแนกหาค่าความถี่ ร้อยละ และเปรียบเทียบสัดส่วนความแตกต่างโดยใช้สถิติไคสแคว์ (Chi-square) กำหนดระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
จากผลการวิจัย พบว่า ยุทธวิธีที่ใช้ในการยิงประตู ทักษะที่ใช้ในการยิงประตู และพื้นที่เริ่มต้นในการสร้างจังหวะการยิงประตูของทีมที่ประสบความสำเร็จในการแข่งขันฟุตซอลไทยลีก ระหว่างฤดูกาลที่ 2020 และ ฤดูกาล 2021 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนตัวแปรด้านประเภทของการสร้างเกมรุกเพื่อยิงประตู พื้นที่สุดท้ายในการยิงประตู และจำนวนครั้งการส่งบอลเพื่อยิงประตู ระหว่างสองฤดูกาลไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ในการวิจัยครั้งนี้ สามารถเป็นแนวทางแก่ผู้ฝึกสอนสามารถนำไปใช้ในการออกแบบการฝึกซ้อมการยิงประตูให้คล้ายกับการแข่งขันจริงและเป็นประโยชน์ให้นำไปใช้ร่วมกับการพัฒนารูปแบบการเล่นเกมรับและเกมรุกเพื่อเตรียมความพร้อมในการแข่งขันให้มีประสิทธิภาพต่อไป
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ความคิด ข้อวิพากษ์ในวารสารเป้นสิทธิของผู้เขียน สมาคมสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการแห่งประเทศไทยไม่จำเป็นต้องเห็นชอบด้วยเสมอไป เพื่อให้เกิดความหลากหลายในความคิดและความสร้างสรรค์
References
Amatria, M., Alvarez, J., Ramirez, J., & Murillo, V. (2021). Identification of the Patterns Produced in the Offensive Sequences That End in a Goal in European Futsal. Front Psychol, 12, 578332.
Burns, T. (2003). Holistic Futsal a Total Mind-Body-Spirit Approach. Lightning Source Inc: London.
FIFA, F. I. o. F. A. (2003). Training for Futsal Coaches: Training Session with Players from 6-18 Years of Age. In FIFA Publishing, Madrid.
Fleiss, J. L., Levin, B. A., & Paik, M. C. (2003). Statistical methods for rates and proportions. Hoboken, NJ: John Wiley & Sons, Inc.
Göral, K. (2018). Analysis of serbia UEFA futsal Euro 2016 competitions in terms of some variables. J. Educ. Training Stud, 6. 445–454.
Grant, A.G., Williams, A.M., & Reilly, T. (1999). Analysis of goals scored in the 1998 World Cup. Journal of Sport Sciences, 17. 826-827.
James, N. (2012). Predicting performance over time using a case study in real tennis. Journal of Human Sport and Exercise, 7(2). 421-433.
Kubayi A, Toriola A. (2019). Trends of Goal Scoring Patterns in Soccer: A Retrospective Analysis of Five Successive FIFA World Cup Tournaments. Journal of Human Kinetics, 69: 231-238.
Markel Rico-González, José Pino-Ortega, Filipe Manuel Clemente, Daniel Rojas-Valverde, and Asier Los Arcos. 2021. A systematic review of collective tactical behavior in futsal using positional data Biology of Sport. Mar, 38(1). 23-36.
ภาณุพงศ์ รุ่งมิตรจรัสแสง นิรอมลี มะกาเจ และพรพล พิมพาพร. (2556). การวิเคราะห์รูปแบบการยิงประตูของทีมชาติสเปนในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 และการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2012. การประชุมวิชาการแห่งชาติครั้งที่ 10 สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ และกีฬามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. 6-7 ธันวาคม 2556, นครปฐม.
ศิวณัติ เพชรย้อย (2556). การวิเคราะห์แบบแผนและปัจจัยในการทำประตูของทีมชาติบราซิลและทีมชาติ สเปนในการแข่งขันฟุตซอลโลก ณ ประเทศไทย 2012. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาศาสตร์การกีฬา. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.