การประยุกต์ใช้การละเล่นพื้นบ้านที่ส่งผลต่อทักษะการเคลื่อนไหวของเด็กปฐมวัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทนำ : การประยุกต์ใช้การละเล่นพื้นบ้านมีผลต่อทักษะการเคลื่อนไหวของเด็กปฐมวัย โดยการละเล่นพื้นบ้านทำให้เกิดการพัฒนาการทางด้านสมรรถภาพทางกลไกและทางการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย ช่วยให้เด็กปฐมวัยมีความเพลิดเพลินกับการเล่นอย่างเป็นอิสระ แล้วยังช่วยให้เด็กปฐมวัยมีความเพลิดเพลินกับการเล่นอย่างอิสระ แล้วยังช่วยปลูกฝังให้เด็กได้ตระหนักและเห็นคุณค่าความสำคัญและรักการออกกำลังกายแบบยั่งยืนสะดวกและประหยัดค่าใช้จ่ายที่สูงในการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหว อันเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาสังคมนำไปสู่การเป็นพลเมืองที่ดีมีสมรรถภาพทางกลไกและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ที่ดี
อภิปราย : การเคลื่อนไหวมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับมนุษย์ โดยเฉพาะในสภาพของการเป็นอยู่ของมนุษย์ในสังคมปัจจุบัน หลักการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวพื้นฐานต้องคำนึงถึงตัวเด็กและเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความสามารถของตนเอง การละเล่นพื้นบ้านส่งเสริมพัฒนาการของเด็กระดับปฐมวัยทั้ง 4 ด้านคือ ด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคมและสติปัญญา รวมทั้งเป็นการส่งเสริมประสบการณ์การเรียนรู้ของเด็กที่ตอบสนองความต้องการของเด็ก ช่วยทำให้เด็กสามารถปรับตัวอยู่ในสังคมได้ และเป็นพัฒนาการที่สำคัญในการดำเนินชีวิตในสภาพสังคมปัจจุบันอีกด้วย
สรุป : การจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวในเด็กปฐมวัยด้วยการประยุกต์ใช้การละเล่นพื้นบ้านมีผลต่อทักษะการเคลื่อนไหวของเด็กปฐมวัย ช่วยให้เด็กปฐมวัยมีความเพลิดเพลินกับการเล่นอย่างอิสระ โดยการละเล่นพื้นบ้านเป็นการละเล่นที่ไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ วัสดุสามารถหาง่ายและสะดวกสบาย ประหยัดเวลาซึ่งเหมาะกับกระบวนการพัฒนาการในด้านต่าง ๆ อันเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาสังคมนำไปสู่การเป็นพลเมืองที่ดีมีสมรรถภาพทางกลไกและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ที่ดี
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ความคิด ข้อวิพากษ์ในวารสารเป้นสิทธิของผู้เขียน สมาคมสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการแห่งประเทศไทยไม่จำเป็นต้องเห็นชอบด้วยเสมอไป เพื่อให้เกิดความหลากหลายในความคิดและความสร้างสรรค์
References
จุฑามาศ วงศ์สุวรรณ. (2548). การเคลื่อนไหวประกอบจังหวะที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการเคลื่อนไหวของเด็กที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการเคลื่อนไหวของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา (วิทยานิพนธ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ณภคกร เจะเลาะ. (2563). การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยใช้ชุดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะเพื่อพัฒนา ลักษณะความเป็นผู้นำในเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา 3,8.
ณัชชา เตชะอาภรณ์ชัย คณะ. (ม.ป.ป.). ผลการจัดกิจกกรมการเคลื่อนไหวประกอบเพลงพื้นเมืองสำหรับเด็กปฐมวัยที่มีต่อความเข้าใจจังหวะ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: สาขาวิชาดนตรีศึกษา ภาควิชาศิลปะ ดนตรี และนาฏศิลป์ศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธีรพงศ์ เจริญนาค ,พิมพา ม่วงศิริธรรม และภานุ กุศลวงศ์ (ม.ป.ป.). ผลของการฝึกการเคลื่อนไหวร่างกายและการเล่นอย่างสร้างสรรค์ที่มีต่อความแม่นยำในการขว้างบอลของเด็กปฐมวัย. วารสารการวัดผลการศึกษา, 37(101).
ฟาลาตี หมาดเต๊ะ. (2557). ผลของการฝึกการละเล่นพื้นบ้านที่มีต่อพัฒนาการของเด็กปฐมวัย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สงขลา: สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
เยาวรัตน์ รัตนธรรม (2561). การเพิ่มรับรู้ด้านมิติสัมพันธ์ และความใส่ใจของนักเรียนปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกาย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ชลบุรี: สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา.
รัฐพล มากพูน (2563). ผลของการจัดการเรียนรู้พลศึกษาด้วยกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านของไทยที่มีต่อสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วิภารัตน์ จอกทองและคณะ. (ม.ป.ป.). การจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ เพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัย. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.
วรรณภรณ์ มะลิรัตน์. (2554). ผลการจัดกิจกกรมการเคลื่อนไหวพื้นฐานแบบกลุ่ม ที่มีต่อทักษะทางสังคมของเด็กปฐมวัย (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย.
Scg badmimton academy (2566). การออกกำลังกายสำหรับเด็กและเยาวชน, สืบค้น 9 มี.ค. 2566, จากhttps://fb.watch/j9eEzZsqpy/?mibextid=qC1gEa