เจตคติของครูผู้สอนวิชาพลศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21: โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 9

Main Article Content

บังอร จำปาโพธิ์
นัยนา บุพพวงษ์
พัชรี ทองคำพานิช

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบเจตคติของครูผู้สอนวิชาพลศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21: โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 9 จำแนกตาม
เพศ อายุ วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ในการสอนวิชาพลศึกษา และตำแหน่งทางวิชาการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูผู้สอนวิชาพลศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 9 จำนวน 295 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับเจตคติของครูผู้สอนวิชาพลศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนรู้
ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนประถมศึกษา จำนวน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการจัดการเรียนรู้วิชาพลศึกษาในศตวรรษที่ 21 ด้านบุคลิกภาพของครูในศตวรรษที่ 21 ด้านสถานที่ สื่อ และอุปกรณ์การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และด้านการวัดผลและประเมินผลการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาของเครื่องมือ โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ได้ค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.60 - 1.00 และหาคุณภาพของเครื่องมือได้ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test (Independent Samples) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว  (One-way Analysis of Variance) และการทดสอบค่าความแตกต่างแบบรายคู่โดยใช้สถิติ LSD (Fisher’s Least Significant Difference) ผลการวิจัยพบว่า


  1. เจตคติของครูผู้สอนวิชาพลศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนประถมศึกษา ทั้ง 4 ด้าน ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X̅= 4.38) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด มีจำนวน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านบุคลิกภาพของครูในศตวรรษที่ 21 (X̅ = 4.38) ด้านการจัดการเรียนการเรียนรู้วิชาพลศึกษาในศตวรรษที่ 21 ( X̅= 4.37) และด้านการวัดผลและประเมินผลการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (X̅ = 4.37) ตามลำดับ

          2. ผลการเปรียบเทียบเจตคติของครูผู้สอนวิชาพลศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21: โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 9 ทั้ง 4 ด้าน พบว่า จำแนกตามเพศและจำแนกตามอายุ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 3 ด้าน คือ ด้านการจัดการเรียนการเรียนรู้วิชาพลศึกษาในศตวรรษที่ 21 ด้านบุคลิกภาพของครูในศตวรรษที่ 21 และด้านการวัดผลและประเมินผลการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ส่วนจำแนกตามวุฒิการศึกษามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 2 ด้าน คือ ด้านการจัดการเรียนการเรียนรู้วิชาพลศึกษาในศตวรรษที่ 21 และด้านสถานที่ สื่อ และอุปกรณ์การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ส่วนจำแนกตามประสบการณ์ในการสอนวิชาพลศึกษาและจำแนกตามตำแหน่งทางวิชาการ ทั้ง 4 ด้านไม่แตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

นวพร ชลารักษ์. (2562). บทบาทของครูกับการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัย ฟาร์อีสเทอร์น, 9(1), 64-71.

พิพัฒน์ ตันวิบูลย์วงศ์. (2557). คุณลักษณะที่เป็นจริงและที่พึงประสงค์ของครูพลศึกษาในทัศนะของผู้บริหารสถานศึกษา ครูพลศึกษา และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พงษ์เอก สุขใส. (2561). ครูพลศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น. 12, 8-21.

พันธิการ์ วัฒนกุล. (2558). ความรู้พื้นฐานและทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 4(1), 84-94.

วาสนา คุณาอภิสิทธิ์. (2561). หลักสูตรและการจัดการเรียนรู้พลศึกษา (ฉบับปรับปรุง 2561). กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.

ศศิธร บัวทอง. (2560). การวัดและประเมินทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสาร Veridian E Journalฯ สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 10(2), 1856-1867.

ศศิตา ชุณหโชติอนันต์ และวรพงษ์ แย้มงามเหลือ. (2565). การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือในวิชาพลศึกษาเพื่อสร้างเสริมทักษะชีวิตสําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนพิบูลอุปถัมภ์, วารสารสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการ, 48(1), 111-122.

เมสญา แทนสง่า และวรพงษ์ แย้มงามเหลือ. (2565). การจัดการเรียนรู้วิชาพลศึกษาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้รูปแบบการสอนด้วยเกมเพื่อความเข้าใจ, วารสารสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการ, 48(1), 249-259.

สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล. (2561). ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. สืบค้นเมื่อ 27 กรกฎาคม 2563, สืบค้นจาก https://www.trueplookpanya.com/blog/content/66054/-teaartedu-teaartteaarttea-.

เหงียน ถิ ทู ฮ่า. (2561). การศึกษาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายจังหวัดกาวบั่ง ประเทศเวียดนาม, วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(2), 14-24.

อนันต์ เถื่อนเนาว์. (2561). บทบาทของครูกับการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 2 “GRAUATE SCHOOL CONFERENCE 2018” วันที่ 30 พฤศจิกายน 2561, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 2(1), 937-943.

อัสรี สะอีดี, สิทธิศักดิ์ บุญหาญ, และจิตรัตดา ธรรมเทศ. (2562). สรรถนะครูพลศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา, 1(4), 14-24.

Nirantranon, W. & Niruntranon, S. (2007). The trend of pre – service physical education teacher in the period of fifteen years, (2008 – 2022). Udonthani, Institute of physical education Udonthani.

Şengül, S. Anagün. (2018). Teachers’ Perceptions about the Relationship between 21st Century Skills and Managing Constructivist Learning Environments. International Journal of Instruction, 11(4), 825-840.

Suphornthip Thanaphatchottiwat. (2015). The Development of Teaching Professional Experience Model for Enhancing the Required Characteristics of Teacher in the 21st Century. Journal of Education Naresuan University, 17(1), 33.

Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rdEd. New York: Harper and Row Publications.

Vicharn Panich. (2012). Create learning for disciple the 21st century. Bangkok: Sodsri-Saritwong Foundation.

Ziegenfuss, R. M. (2010) Abstract on Education in the 21st Century: Toward an Expanded Epistemic Frame of Leadership. Pennsylvania: UMI Dissertation.