การพัฒนาขั้นตอนการฝึกอบรมออนไลน์โดยใช้เทคนิคการอภิปราย แบบซิมโพเซียม เพื่อส่งเสริมความเข้าใจเกมกีฬายูยิตสู

Main Article Content

ธวัชชัย พันธ์จำปา
ทิพย์รัตน์ ประเสริฐสังข์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาขั้นตอนการฝึกอบรมออนไลน์โดยใช้เทคนิคการอภิปรายแบบซิมโพเซียม เพื่อส่งเสริมความเข้าใจเกมกีฬายูยิตสูที่มีคุณภาพ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทาง
การเรียนรู้หลังเข้ารับการฝึกอบรมออนไลน์โดยใช้เทคนิคการอภิปรายแบบซิมโพเซียม เพื่อส่งเสริมความเข้าใจเกมกีฬายูยิตสูกับเกณฑ์ร้อยละ 70 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรมที่มีต่อขั้นตอนการฝึกอบรมออนไลน์โดยใช้เทคนิคการอภิปรายแบบซิมโพเซียม เพื่อส่งเสริมความเข้าใจเกมกีฬายูยิตสู กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาชมรมยูยิตสู มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปีการศึกษา 1/2565 ซึ่งเป็นสมาชิกใหม่ของชมรมที่ได้จากการรับสมัคร มีจำนวน 34 คน เป็นการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) ขั้นตอนการฝึกอบรมออนไลน์โดยใช้เทคนิคการอภิปรายแบบซิมโพเซียม เพื่อส่งเสริมความเข้าใจเกมกีฬายูยิตสู 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ เรื่อง เกมกีฬายูยิตสู และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรมที่มีต่อขั้นตอนการฝึกอบรมออนไลน์โดยใช้เทคนิคการอภิปรายแบบซิมโพเซียม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ t - test (One Sample t - test)


            ผลการวิจัยพบว่า 1) ขั้นตอนการฝึกอบรมออนไลน์โดยใช้เทคนิคการอภิปรายแบบซิมโพเซียม เพื่อส่งเสริมความเข้าใจเกมกีฬายูยิตสู ประกอบด้วย 8 ขั้นตอน คือ 1.1) กำหนดวัตถุประสงค์
การฝึกอบรม 1.2) การวิเคราะห์ผู้รับการอบรม 1.3) การออกแบบเนื้อหา 1.4) การกำหนดกิจกรรม
การอบรมออนไลน์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 1.5) การเตรียมความพร้อมสิ่งแวดล้อมการฝึกอบรมทางอินเทอร์เน็ต 1.6) การปฐมนิเทศผู้รับการอบรม 1.7) การจัดอบรม และ 1.8) การประเมินผล ซึ่งผู้เชี่ยวชาญประเมินความเหมาะสมของขั้นตอนการฝึกอบรมฯ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.55, S.D. = 0.52) 2) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้หลังเข้ารับการฝึกอบรมออนไลน์โดยใช้เทคนิคการอภิปรายแบบซิมโพเซียม เพื่อส่งเสริมความเข้าใจเกมกีฬายูยิตสูผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรมที่มีต่อขั้นตอนการฝึกอบรมออนไลน์โดยใช้เทคนิคการอภิปรายแบบซิมโพเซียม โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.74, S.D. = 0.46)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤษณะ บุญประสิทธิ์. (2560). การพัฒนากลยุทธ์เพื่อส่งเสริมนักกีฬายูยิตสูไทยสู่ความเป็นเลิศ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชาดุษฏีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2550). การพัฒนาหลักสูตรและสื่อการเรียนการสอน: สื่ออเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษา. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น ฉบับปรับปรุงใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ทิวารัตน์ ประเสริฐสังข์. (2559). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันบนเว็บด้วยกระบวนการจัดการความรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของนักศึกษาวิชาชีพครู. (ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ธนทรัพย์ โกกอง. (2562). การพัฒนาชุดฝึกอบรมออนไลน์เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการฝึกปฏิบัติงานสำหรับนิสิตสาขาวิชาสารสนเทศศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

พัลลภ สุวรรณฤกษ์. (2563). การพัฒนาการฝึกอบรมออนไลน์แบบสอนงานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการออกแบบการสอนออนไลน์กรณีศึกษานักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ไพศาล วรคํา. (2564). การวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 12). มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.

ยงยุทธ เกษสาคร. (2551). เทคนิคการฝึกอบรมและการประชุม. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: ไทยพัฒนารายวันการพิมพ์.

วิจิตร อาวะกุล. (2540). การฝึกอบรม. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศุภวรรณ วงศ์สร้างทรัพย์ และคณะ. (2564). การพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้ Google Classroom ในรายวิชากิจกรรมพลศึกษา สำหรับนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. วารสารสุขศึกษา พลศึกษา และนันทนาการ. 47(2), 169.

สมคิด บางโม. (2551). เทคนิคการฝึกอบรมและการประชุม. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.

สมนึก ภัททิยธนี. (2565). การวัดผลการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 13). กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.

สมาคมกีฬายูยิตสูแห่งประเทศไทย. (2557). แผนยุทธศาสตร์กีฬายูยิตสู (พ.ศ. 2557-2561) สมาคมกีฬายูยิตสูแห่งประเทศไทย. กรุงเทพฯ : สมาคมกีฬายูยิตสูแห่งประเทศไทย.

สุชาติ เพชรเทียนชัย และคณะ. (2565). การพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อการเรียนรู้ วิชาฟุตบอล สำหรับนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง. วารสารสุขศึกษา พลศึกษา และนันทนาการ. 48(2), 16.

Driscoll, Margaret. (1998). Web-Based Tranining. San Francisco: Jossey-Bass Tranining Pfeiffer.

Jokela, P., & Karlsudd, P. (2017). Learning with Security. Journal of InformationTechnology education: Research, 6, 291-309.

Kavathatzopoulos, I. (2003). The use of information and communication technology in the training for ethical competence in business. Journal of Business Ethics, 48(1), 43-51.

Smithikai, C. (2013). Personnel training in the organization (8th ed.). Bangkok: Chulalongkorn University. (in Thai).