การพัฒนาขั้นตอนการฝึกอบรมออนไลน์โดยใช้การสาธิตวิธี เพื่อส่งเสริมความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำสำหรับเด็ก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาขั้นตอนการฝึกอบรมออนไลน์โดยใช้การสาธิต
วิธีเพื่อส่งเสริมความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำสำหรับเด็กที่มีคุณภาพ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้หลังเข้ารับการฝึกอบรมออนไลน์โดยใช้การสาธิตวิธี เพื่อส่งเสริมความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำสำหรับเด็กกับเกณฑ์ร้อยละ 70 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรมที่มีต่อการฝึกอบรมออนไลน์โดยใช้การสาธิตวิธี เพื่อส่งเสริมความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำสำหรับเด็ก กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี จำนวน 36 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือวิจัย ได้แก่ 1) ขั้นตอนการฝึกอบรมออนไลน์ โดยใช้การสาธิตวิธี เพื่อส่งเสริมความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำสำหรับเด็ก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.68 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ เรื่อง การช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำสำหรับเด็ก แบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ โดยทดสอบหลังเข้ารับการอบรม (Post-test) โดยมีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.21-0.79 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.25-0.42 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.72 และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรมที่มีต่อขั้นตอนการฝึกอบรมออนไลน์โดยใช้การสาธิตวิธีแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 3 ระดับ จำนวน 20 ข้อ โดยมีผลการประเมินความสอดคล้อง (IOC) อยู่ระหว่าง
0.67 - 1.00 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ขั้นตอนการฝึกอบรมออนไลน์โดยใช้การสาธิตวิธี เพื่อส่งเสริมความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำสำหรับเด็ก ประกอบด้วย 8 ขั้นตอน คือ 1.1) กำหนดวัตถุประสงค์การฝึกอบรม 1.2) การวิเคราะห์ผู้รับการอบรม 1.3) การออกแบบเนื้อหารายวิชา 1.4) การกำหนดกิจกรรมการอบรมออนไลน์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 1.5) การเตรียมความพร้อมสิ่งแวดล้อมการฝึกอบรมทางอินเทอร์เน็ต 1.6) การปฐมนิเทศผู้รับการอบรม 1.7) การจัดอบรม และ 1.8) การประเมินผล ซึ่งผู้เชี่ยวชาญประเมินความเหมาะสมของขั้นตอนการฝึกอบรมฯ โดยภาพรวมอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด ( = 4.68, S.D = 0.44) 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของผู้เข้ารับการอบรมหลังเข้ารับการฝึกอบรมออนไลน์โดยใช้การสาธิตวิธี เพื่อส่งเสริมความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำสำหรับเด็ก มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 16.42 คะแนน จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ที่กำหนดไว้ ซึ่งเท่ากับ 14 คะแนน และ 3) ผลการประเมินความพึงพอใจ ของผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่มีต่อของขั้นตอนการฝึกอบรมฯ อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 2.75, S.D. = 0.40)
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ความคิด ข้อวิพากษ์ในวารสารเป้นสิทธิของผู้เขียน สมาคมสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการแห่งประเทศไทยไม่จำเป็นต้องเห็นชอบด้วยเสมอไป เพื่อให้เกิดความหลากหลายในความคิดและความสร้างสรรค์
References
กรมควบคุมโรค. (2564). กิจกรรมรณรงค์ป้องกันเด็กจมน้ำ ปี 2564 และเชิดชูเกียรติทีมผู้ก่อการดี (MERIT MAKER) บนแพลตฟอร์มออนไลน์เป็นครั้งแรก เพื่อรองรับวิถีใหม่ (New Normal). สืบค้นเมื่อ 18 กันยายน 2564, สืบค้นจาก กรมควบคุมโรค : https://ddc.moph.go.th/brc-/news.php?news=17409&deptcode=brc.
กรมควบคุมโรค. (2565). แนวทางประเมิณผู้ก่อการดี การดำเนินงานป้องกันการจมน้ำ. สืบค้นเมื่อ 14 สิงหาคม 2565, สืบค้นจาก กรมควบคุมโรค : https://ddc.moph.go.th/dip/news.php?news=22964&deptcode=.
เจิดจันทร์ พลดงนอก. (2555). การพัฒนาระบบการฝึกอบรมออนไลน์ สำหรับเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการผู้ใช้เทคโนโลยีธนาคารพาณิชย์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณทิต) กรุงเทพฯ: ศิลปากร.
จตุรงค์ ตันนุกูล สูติเทพ ศิริพิพัฒนกุล และณัฐพล รำไพ. (2563). การพัฒนาการฝึกอบรมออนไลน์ด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร ตามเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา สำหรับอาจารย์ประจำหลักสูตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 35(3), 109-121.
ฐิติชัย รักบำรุง. (2565). การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมออนไลน์ร่วมกับการใช้สถานการณ์จริงเพื่อส่งเสริมการทำงานเป็นทีม สำหรับนิสิตปริญญาตรีสาขาเทคโนโลยีการศึกษา. HRD JouRNal, 13(1), 94-114.
ทิวารัตน์ ประเสริฐสังข์. (2552). ชุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์ วิชาภาษาอังกฤษ เรื่องลมฟ้าอากาศและฤดูกาล สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ทิวารัตน์ ประเสริฐสังข์. (2559). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันบนเว็บด้วยกระบวนการจัดการความรู้ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของนักศึกษาวิชาชีพครู. ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยี และสื่อสารการศึกษา ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.
บุญชม ศีรสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น ฉบับปรับปรุงใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวิรียาสาส์น.
ภัทรานิษฐ์ เจษฎางค์กูร ณ อยุธยา และนฤมล เทพนวล. (2562). การพัฒนาชุดฝึกอบรมออนไลน์ เรื่อง การนวดคลายเครียดสำหรับคนวัยทำงานในจังหวัดปทุมธานี. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ, 6(2), 82-92.
วิบูลย์ บุญยธโรกุล. (2545). คู่มือวิทยากรและผู้จัดการฝึกอบรม. กรุงเทพมหานคร : ด่านสุทธาการพิมพ์.
ศุภวรรณ วงศ์สร้างทรัพย์และคณะ. (2564). การพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้ Google Classroom ในรายวิชากิจกรรมพลศึกษา สำหรับนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. วารสารสุขศึกษา พลศึกษา และนันทนาการ. 47(2), 169.
สาลิณี ไตลังคะสุนทร แม้นสงวน, ธิรตา ภาสะวณิช และธงชัย เจริญทรัพย์มณี. (2565). ผลการสอนว่ายน้ำด้วยการใช้โปรแกรมการฝึกการจินตภาพควบคู่กับการชมวีดีทัศน์ที่มีต่อทักษะการว่ายน้ำท่าครอว์ล. วารสารสุขศึกษา พลศึกษา และนันทนาการ. 48(1), 273.
สุวิทย์ มูลคํา และอรทัย มูลคํา. (2545). 21 วิธีการจัดการเรียนรู้: เพื่อพัฒนากระบวนการคิด. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจํากัดภาพพิมพ์.
สมนึก ภัททิยธนี. (2565). การวัดผลการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 13). กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.
อดิศักดิ์ สุวรรณประกร. (2563). ความแตกต่างของการว่ายน้ำเพื่อการแข่งขัน และหลักสูตรว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด. ในหลักสูตรผู้จัดการแผนงานป้องกันการจมน้ำ. (พิมพ์ครั้งที่ 1). (หน้า 68-69). นนทรุรี: บริษัท รำไทยเพรส จำกัด.