การพัฒนาแบบประเมินค่าทักษะกรีฑาระยะสั้นโดยใช้แอพพลิเคชันสำหรับนิสิตชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาพลศึกษาและสุขศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

Main Article Content

ศุภเดช ช้างน้อย
วินัย พลูศรี
ศุภวรรณ วงศ์สร้างทรัพย์

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและหาคุณภาพของแบบประเมินค่าทักษะกรีฑาระยะสั้นโดยใช้แอพพลิเคชันสำหรับนิสิตชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาพลศึกษาและสุขศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นิสิตชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาพลศึกษาและสุขศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ที่ลงทะเบียนเรียน ภาคปลาย ปีการศึกษา 2564 ในรายวิชาทักษะและเทคนิคการสอนกรีฑาลู่ ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย จำนวนทั้งสิ้น 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินค่าทักษะกรีฑาระยะสั้นโดยใช้แอพพลิเคชัน เพื่อใช้ประกอบการหาค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา ความเชื่อถือได้ และความเป็นปรนัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า T-test สำหรับทดสอบนัยสำคัญของค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน


ผลการวิจัยของแบบประเมินค่าทักษะกรีฑาสั้นโดยใช้แอพพลิเคชันสำหรับนิสิตชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาพลศึกษาและสุขศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จำนวน 5 ทักษะ ได้แก่ 1) ทักษะท่าตั้งต้นการวิ่ง 2) ทักษะท่าทางการออกวิ่ง 3) ทักษะท่าทางการวิ่ง 4) ทักษะท่าการวิ่งทางโค้ง และ 5) ทักษะท่าการวิ่งเข้าเส้นชัย พบว่า มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ 1.00, 1.00, 1.00, 0.80 และ 0.93 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาโดยภาพรวมมีค่าดัชนีความสอดคล้อง เท่ากับ 0.95 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ดีมาก มีค่าความเชื่อถือได้โดยวิธีการทดสอบซ้ำ (Test-Retest) ระหว่าง 0.89 – 1.00 อยู่ในระดับดีมาก และมีค่าความเป็นปรนัยจากผลการประเมินของผู้ประเมินทั้ง 3 ท่าน ระหว่าง 0.60 - 0.98 อยู่ในระดับปานกลางถึงดีมาก


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองแผนงานมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2559). รายงานประจำปีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 2559. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2548). สถิติสำหรับงานวิจัย. ภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย : กรุงเทพมหานคร.

ชาติชาย วงษ์รัตน์. (2546). การสร้างแบบประเมินค่าทักษะกรีฑาระยะสั้นสําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มค่ายเนินวง อําเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี. (ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2537). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย (6th ed.). กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร. บุญเรียง ขจรศิลป์. (2543). วิธีวิจัยทางการศึกษา (5th ed.). กรุงเทพมหานคร : พี.เอ็น.การพิมพ์.

รายาศิต เต็งกูสุลัยมาน. (2561). สถาบันการพลศึกษา : ความเป็นไปได้ในการจัดหลักสูตรมหาบัณฑิตเพื่อต่อยอดหลักสูตรครูพลศึกษา 5 ปี. (ปริญญาศึกษาศาสตรบัณทิต). สถาบันการพลศึกษากระบี่, กระบี่.

วัชระ ยกฉิม. (2562). การสร้างแบบประเมินทักษะการวิ่งระยะสั้นสำหรับนักศึกษา สถาบันการพลศึกษาวิทยาเขตชุมพร. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรบัณฑิต). มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตกระบี่, กระบี่.

สมคิด ศรีเมฆ. (2557). ผลการใช้โปรแกรมการฝึกทักษะกรีฑาระยะสั้นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนห้วยน้ำหอมวิทยาคาร จังหวัดนครสวรรค์. (ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตกระบี่, กระบี่.

สุวรรณชัย เพชรมั่น. (2560). ผลการใช้โปรแกรมการฝึกทักษะกรีฑาระยะสั้นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนห้วยน้ำหอมวิทยาคาร จังหวัดนครสวรรค์. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, นครสวรรค์.

George D, & Mallery P. (2003). SPSS for Windows step by step: A simple guide and reference. 11.0 update (4 ed.). Boston: Allyn & Bacon

Rovilnelly, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the Use of Content Specialists in the Assessment of Criterion-referenced test in Item Validity. Dutch Journal of Educational Research 2(1). 49-60.