การศึกษาสภาพปัจจุบันของเครือข่ายอาจารย์มืออาชีพในสถาบันอุดมศึกษาเขตภาคเหนือ
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่องการศึกษาสภาพปัจจุบันของเครือข่ายอาจารย์มืออาชีพในสถาบันอุดมศึกษาเขตภาคเหนือ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของเครือข่ายอาจารย์มืออาชีพด้านสุขศึกษาพลศึกษาและวิทยาศาสตร์การกีฬาในสถาบันอุดมศึกษาเขตภาคเหนือ โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นสถาบันอุดมศึกษาเขตภาคเหนือจำนวน 16 สถาบันที่สอนทางด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา สุขศึกษาและ/หรือพลศึกษาขอความยินยอมจากอาสาสมัครอาจารย์จำนวน 100 คน ตอบแบบสอบถามสภาพปัจจุบันเครือข่ายอาจารย์มืออาชีพด้านสุขศึกษาพลศึกษาและวิทยาศาสตร์การกีฬาในสถาบันอุดมศึกษาเขตภาคเหนือที่ได้รับการทดลองใช้ในการวิจัย (Try out) กับบุคคลที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลจำนวน 15 คน ได้แก่ อดีตอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาเขตภาคเหนือที่สอนทางด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา สุขศึกษาและ/หรือพลศึกษา เพื่อหาค่าความเที่ยง (Reliability) ของเครื่องมือ ทุกข้อมีค่ามากกว่า 0.8 แบบสอบถามแบ่งออกเป็น 4 ตอนคือ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม 2 สภาพปัจจุบันของเครือข่ายอาจารย์มืออาชีพด้านสุขศึกษาพลศึกษาและวิทยาศาสตร์การกีฬาในสถาบันอุดมศึกษาเขตภาคเหนือ3 แนวทางการพัฒนาเครือข่ายอาจารย์มืออาชีพด้านสุขศึกษาพลศึกษาและวิทยาศาสตร์การกีฬาในสถาบันอุดมศึกษาเขตภาคเหนือ และ4 ข้อเสนอแนะ วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าเฉลี่ยร้อยละ (M) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) ผลการวิจัยพบว่า
1. เครือข่ายอาจารย์มืออาชีพฯ เป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง อายุเฉลี่ย 36-40 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับปริญญาโทจากกลุ่มมหาวิทยาลัย ส่วนใหญ่ยังไม่มีตำแหน่งทางวิชาการ มีประสบการณ์การทำงาน 11-15 ปี เป็นพนักงานมหาวิทยาลัย สอนในระดับปริญญาตรี สาขาวิชาพลศึกษาและเป็นผู้รับผิดชอบหลักสูตรในระดับปริญญาตรี เป็นสมาชิกองค์กรชมรมหรือสมาคม มีความร่วมมือทางวิชาการหรือกิจกรรมระหว่างสถาบันอุดมศึกษาและคิดว่าการพัฒนาเครือข่ายเป็นสิ่งจำเป็น และพร้อมเป็นแม่ข่ายอาจารย์ด้านสุขศึกษาพลศึกษาและวิทยาศาสตร์การกีฬาในสถาบันอุดมศึกษาเขตภาคเหนือ
2. แนวทางการพัฒนาเครือข่ายอาจารย์มืออาชีพฯ พบว่าควรมีการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์ด้านสุขศึกษาพลศึกษาและวิทยาศาสตร์การกีฬา ควรมีการศึกษาวิจัยเพื่อให้เกิดผลกระทบจากเครือข่ายอาจารย์มืออาชีพด้านสุขศึกษาพลศึกษาและวิทยาศาสตร์การกีฬาในสถาบันอุดมศึกษาเขตภาคเหนืออย่างยั่งยืน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ความคิด ข้อวิพากษ์ในวารสารเป้นสิทธิของผู้เขียน สมาคมสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการแห่งประเทศไทยไม่จำเป็นต้องเห็นชอบด้วยเสมอไป เพื่อให้เกิดความหลากหลายในความคิดและความสร้างสรรค์
References
กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2556). พฤติกรรมสุขภาพ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
รายงานสุขภาพคนไทยระดับเขต. (2562). ภาวะสุขภาพระดับเขต. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข.
โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม. (2561). สมาคมวิชาชีพทางพลศึกษาของโลก. กรุงเทพฯ: กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา.
วาสนา คุณาอภิสิทธิ์. (2564). ปี 2564 ปีที่ 21แห่งศ.ที่ 21:ปฏิรูปการเรียนรู้พลศึกษาในสถานศึกษาหรือยัง. วารสารสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการ, 47(2).
ศุภฤกษ์ รักชาติ. (2558). การพัฒนากลยุทธ์เพื่อส่งเสริมเครือข่ายการวิจัยทางการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2563). เป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่สำคัญของแผนด้าน ววน. พ.ศ. 2563-2565 ฉบับปรับปรุง สำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. กรุงเทพฯ: กลุ่มภารกิจนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2563). แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (23) การวิจัยและพัฒนานวัตกรรม (พ.ศ. 2561-2580). กรุงเทพฯ: เอกสารอัดสำเนา.
อัจฉรา ปุราคม, วินัย พูลศรี, ธารินทร์ ก้านเหลือง และมาสริน ศุกลปักษ. (2564). เพิ่มกิจกรรมทางกาย เพิ่มพลังประเทศไทยในวัยสูงอายุ. วารสารสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการ, 47(1).
Elenee. (2019). The Positive Psychology Movement. Guilford Press. Huizinga A. Montegue,
Ludent P. Homo and Hobb P. Homo. (2020). Physical Literacy. The American College of Pheumatology. Myers K. Paul, Sweeney J. Hannesburg and Witmer H.
Myers K. Pueirst, Sweeney J. Hurvey, and Witmer H. Eidin. (2019). The Positive Psychology Movement. Guilford Press. Office of the National Economic and Social Development Council.(2020). 23 Strategy Master Plan in Research and Innovation Development (2018-2037). CopyDocument: Bangkok.