ผลของการเปรียบเทียบโปรแกรมการฝึกพลัยโอเมตริกและโปรแกรมการฝึกด้วยน้ำหนักของร่างกายที่มีผลต่อพลังกล้ามเนื้อขาและความเร็วในการว่ายน้ำท่ากบระยะ 50 เมตร ของนักกีฬาว่ายน้ำโรงเรียนกีฬากรุงเทพมหานคร

Main Article Content

เอกสิทธิ์ สุขลาภ
ธารินทร์ ก้านเหลือง
ไพบูลย์ ณะพรานบุญ

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบผลของโปรแกรมการฝึกพลัยโอเมตริกและโปรแกรมการฝึกด้วยน้ำหนักของร่างกายที่มีต่อพลังกล้ามเนื้อขาและความเร็วในการว่ายน้ำท่ากบระยะ 50 เมตร ของนักกีฬาว่ายน้ำโรงเรียนกีฬากรุงเทพมหานคร ประชากรเป็นนักกีฬาว่ายน้ำสังกัดโรงเรียนกีฬากรุงเทพมหานคร จำนวน 30 คน โดยเลือกแบบเจาะจง จำนวน 20 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มๆ ละ 10 คน คือกลุ่มทดลองที่ 1 และกลุ่มทดลองที่ 2 ทำการฝึก 8 สัปดาห์ๆ ละ 3 วันๆ ละ 2 ชั่วโมง เครื่องมือการวิจัยได้แก่ โปรแกรมการฝึกพลัยโอเมตริก โปรแกรมการฝึกด้วยน้ำหนักของร่างกาย มีค่า IOC เท่ากับ 0.95 และ โปรแกรมการฝึกทักษะว่ายน้ำท่ากบ มีค่า IOC เท่ากับ 0.97 ทำการทดสอบพลังกล้ามเนื้อขาด้วยแบบทดสอบยืนกระโดดไกลและทดสอบความเร็วในการว่ายน้ำท่ากบระยะ 50 เมตร วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าเฉลี่ย ดำเนินการทดสอบก่อนและหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 และ 8 ของกลุ่มทดลองที่ 1 และกลุ่มทดลองที่ 2 ด้วยสถิติ t-test และ Wilcoxon signed rank test ทดสอบความแตกต่างระหว่างกลุ่มทดลองที่ 1 และกลุ่มทดลองที่ 2 หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 ด้วยสถิติ Man Whitney u test ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการทดสอบกำลังกล้ามเนื้อขาและความเร็วในการว่ายน้ำท่ากบระยะ 50 เมตร ภายในกลุ่ม ทั้ง 2 กลุ่ม ไม่มีความแตกต่างกัน 2) ผลการทดสอบกำลังกล้ามเนื้อขาและความเร็วในการว่ายน้ำท่ากบระยะ 50 เมตร ระหว่างกลุ่มทดลองที่ 1 และกลุ่มทดลองที่ 2 หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 และ 8 ไม่มีความแตกต่างกัน ความเร็วในการว่ายน้ำ มีเวลาเฉลี่ยทั้งสองกลุ่มลดลง กลุ่มทดลองที่ 1 มีเวลาเฉลี่ยลดลงมากกว่ากลุ่มทดลองที่ 2 กำลังกล้ามเนื้อขา ของทั้งสองกลุ่มเพิ่มขึ้น


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กอบบุญ แดงสุวรรณ. (2564). ผลของการฝึกความแข็งแรงและพลังของกล้ามเนื้อขาด้วยน้ําหนักตัวที่มีต่อความสามารถในการรีบาวด์กีฬาบาสเกตบอลของนักกีฬาโรงเรียนสุคนธีรวิทย์จังหวัดนครปฐม. วารสารสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการ, 47(1), 40-48.

เจริญ กระบวนรัตน์. (2561). วิทยาศาสตร์การฝึกสอนกีฬา (2 ed.). กรุงเทพมหานคร: สินธนาก๊อปปี้เซ็นเตอร์.

ถาวร กมุทศรี. (2560). การเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย. กรุงเทพมหานคร: มีเดียเพรส.

สมาคมกีฬาว่ายน้ำแห่งประเทศไทย. (2564). จัดลำดับนักกีฬาว่ายน้ำประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 11 มีนาคม 2564, จากhttp://swimming.or.th/Index/HomeRanking?Distance=1&SwimmingTypeDetailId=2

สุคนธ์ อนุนิวัฒน์. (2562). ผลของการฝึกด้วย ที อาร์ เอ็กซ์ และการฝึกด้วยน้ำหนักของร่างกายที่มีต่อความแข็งแรงอดทนของกล้ามเนื้อ. วารสารสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการ, 45(1).

ุธิดา เจริญผล. (2554). ผลของการฝึกพลัยโอเมตริกบนบกและในน้ำที่มีต่อพลังระเบิดของกล้ามเนื้อขาและความเร็วในการว่ายน้ำท่ากบระยะทาง50เมตรของนักกีฬาว่ายน้ำชาย. (ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.

Chu, D. A. (1995). Power tennis training: Human Kinetics 1.

Newton, R., & Kraemer, W. (1994). Developing explosive muscular power: Implications for a mixed methods training strategy. 16(5), 20-31.