ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายแบบสถานีที่มีต่อสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนวัดโชติการาม

Main Article Content

มนะชัย ขันทชัย
ศิริชัย ศรีพรหม
ธารินทร์ ก้านเหลือง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลของการออกกำลังกายแบบสถานีที่มีต่อสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม 2) เปรียบเทียบผลของการออกกำลังกายแบบสถานีที่มีต่อ
สมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพระหว่างเพศชายกับเพศหญิง 3) เปรียบเทียบผลของสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพระหว่างหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 4 กับหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 8 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนวัดโชติการาม จำนวน 44 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) โปรแกรมการออกกำลังกายแบบสถานีที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น 2) แบบทดสอบสมรรถภาพทางกายของสำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา วิธีดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยทำการ
เก็บรวบรวมข้อมูลโดยกลุ่มทดลองทำการทดลองเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน คือ วันจันทร์ พุธ และศุกร์ ทำการฝึกช่วงเวลา 15.30 - 16.30 น. และทำการทดสอบสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ 3 ช่วงระยะเวลา คือ ก่อนการทดลอง หลังการทดลองสัปดาห์ที่ 4 และสัปดาห์ที่ 8 โดยนำผลการทดสอบสมรรถภาพทางกายก่อนการทดลองเป็นตัวแปรร่วมในการวิจัย สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมสามทางแบบวัดซ้ำ การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมสองทางแบบวัดซ้ำ การเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีการของตูกี
ผลการวิจัย
1. สมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม พบว่ารายการทดสอบดัชนีมวลกาย นั่งงอตัวไปด้านหน้า ดันพื้นประยุกต์ 30 วินาที และยืนยกเข่าขึ้นลง 3 นาที ไม่พบความแตกต่าง ส่วนรายการทดสอบลุกนั่ง 60 วินาที พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2. สมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพระหว่างเพศชายกับเพศหญิง พบว่ารายการทดสอบดัชนีมวลกาย นั่งงอตัวไปด้านหน้า ดันพื้นประยุกต์ 30 วินาที ลุกนั่ง 60 วินาที และยืนยกเข่าขึ้นลง 3 นาที ไม่พบความแตกต่างกัน 3. สมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพระหว่างหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 4 กับหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 8 ของกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง พบว่ารายการดัชนีมวลกาย ไม่พบความแตกต่างกัน ส่วนรายการนั่งงอตัวไปด้านหน้าดันพื้นประยุกต์ 30 วินาที ลุกนั่ง 60 วินาที และยกเข่าขึ้นลง 3 นาที พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมพลศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2543). กิจกรรมการทดสอบและสร้างเสริมสมรรถภาพทางกาย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพัฒนากรมพลศึกษา สุขภาพและนันทนาการ.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา หลักสูตรแกนกลางขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช (2551). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

เจริญ กระบวนรัตน์. (2561). การออกแบบโปรแกรมที่มีประสิทธิภาพสำหรับเด็ก. วารสารสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการ, 44(2), 7.

พรสุข หุ่นนิรันดร์, ประภาเพ็ญ สุวรรณ, สุริย์พันธุ์ วรพงศธร และอนันต์ มาลารัตน์. (2562). หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน สุขศึกษา ม.2. กรุงเทพมหานคร: บริษัท อักษรเจริญทัศน์ อจท. จำกัด.

เรืองวัฒน์ ประทุมอ่อน. (2559). ผลของโปรแกรมกิจกรรมทางกายที่มีต่อสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนโพนทองพัฒนาวิทยา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณทิต สาขาพลศึกษา, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สมหมาย แตงสกุล,เชาวลิต ภูมิภาค และวิชุดา คงสุทธิ์. (ม.ป.ป.). หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน สุขศึกษาและพลศึกษา ม.2. กรุงเทพมหานคร: บริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด.

สุภัทรชัย สุนทรวิภาต. (2565). ผลของโปรแกรมการออกกําลังกายแบบสถานีที่มีต่อความอดทนของระบบไหลเวียนเลือดและระบบหายใจของนักเรียนหญิงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา. วารสารสุขศึกษาพลศึกษาและสันทนาการ, 45(1), 120-139.

สำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา. (2562). แบบทดสอบและเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกายของนักเรียน ระดับมัธยมศึกษา (อายุ 13-18 ปี). กรุงเทพมหานคร: กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.