การพัฒนาผลการฝึกวิ่งแบบมาฟและแบบเทมโปที่มีต่อประสิทธิภาพในการวิ่งมินิมาราธอน

Main Article Content

พชร กฤษณะเศรณี
ต่อศักดิ์ แก้วจรัสวิไล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาโปรแกรมการฝึกวิ่งแบบมาฟและแบบเทมโป สำหรับการวิ่งมินิมาราธอน 2) เปรียบเทียบประสิทธิภาพของการวิ่งก่อนและหลังการฝึกตามโปรแกรมการฝึกวิ่ง
แบบมาฟและแบบเทมโป และ 3) เปรียบเทียบประสิทธิภาพของการวิ่งระหว่างโปรแกรมการฝึกวิ่งแบบมาฟกับแบบเทมโป หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8  กลุ่มตัวอย่าง คือ นิสิตสาขาพลศึกษาและสุขศึกษา คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน  จำนวน 30 คน โดยได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง ตามเกณฑ์การคัดเข้า และทำการแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ๆ ละ 15 คน คือ กลุ่มโปรแกรมการฝึกวิ่งแบบมาฟ และกลุ่มโปรแกรมการฝึกวิ่งแบบเทมโป  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) โปรแกรม
การฝึกวิ่งแบบมาฟ 2) โปรแกรมการฝึกวิ่งแบบเทมโป และ 3) แบบทดสอบการวิ่งระยะไกล 10.5 กิโลเมตร โดยผู้วิจัยสร้างขึ้น  และผ่านการตรวจสอบคุณภาพความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา จากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า “ที”


            ผลการวิจัย พบว่า 1) การพัฒนาโปรแกรมการฝึกวิ่งแบบมาฟและแบบเทมโป ประกอบด้วย
3 ขั้นตอน  ได้แก่ ขั้นการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ ขั้นการวิ่งควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจ และขั้นการคลายอุ่น
มีระยะเวลาการฝึก 8 สัปดาห์  โดยโปรแกรมการฝึกมีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.6 - 1.0  2) ผลการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการวิ่งหลังการฝึกตามโปรแกรมการฝึกวิ่งแบบมาฟและแบบเทมโป สูงกว่า
ก่อนฝึก แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  3) ผลการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการวิ่งระหว่างโปรแกรมการฝึกวิ่งแบบมาฟกับแบบเทมโป หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติที่ระดับ .05 และโปรแกรมการฝึกวิ่งแบบเทมโปส่งผลต่อประสิทธิภาพในการวิ่งมินิมาราธอนดีกว่าโปรแกรมการฝึกวิ่งแบบมาฟ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชูศักดิ์ เวชแพศย์และกันยา ปาละวิวัธน์. (2528). สรีรวิทยาของการออกกำลังกาย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : เทพรัตน์การพิมพ์.

ถนอมวงศ์ กฤษณ์เพ็ชร์ และสิทธา พงษ์พิบูลย์. (2554). สรีรวิทยาการออกกำลังกาย. กรุงเทพฯ: คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพ: สุวีริยาสาส์น.

วิภาดา พ่วงพี. (2562). ผลของโปรแกรมการฝึกแบบวงจรโดยใช้แอโรบิกแบบหนักสลับเบาเป็นฐานที่มีต่อสมรรถภาพทางกายของนักเรียนชายอ้วน. วารสารสุขศึกษา พลศึกษาและสันทนาการ, 45(2), 167-181.

ศิริรัตน์ หิรัญรัตน์. (2535). การฝึกความสมบูรณ์ทางกาย. กรุงเทพ : มหาวิทยาลัยมหิดล.

สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. (2563). พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยมหิดล. สืบค้นเมื่อ 22 ตุลาคม 2563, สืบค้นจาก https://bit.ly/3sggHLX

สุภัทรชัย สุนทรวิภาต. (2562). ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายแบบสถานีที่มีต่อความอดทนของระบบไหลเวียนเลือดและระบบหายใจของนักเรียนหญิงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา. วารสารสุขศึกษา พลศึกษาและสันทนาการ, 45(1), 120-139.

Cohen J. (1977). Statistical power for the behavioral sciences. 2nd ed. New York: Academic Press.

Houmard, J., Costill, D., Mitchell, J., Park, S., & Chenier, T. (1991). The role of anaerobic ability in middle distance running performance. European Journal of Applied Physiology and Occupational Physiology, 62(1), 40-43.

Kirkendall, D. R., Gruber, J. J., & Johnson, R. E. (1987). Measurement and Evaluation for Physical Educators: Human Kinetics Publishers.

Penny, G.D. (1971). A Study of the Effects of Resistance Runing on Speed, Strength, Power, Muscular Endurance and Agility. Dissertation Abstracts International. 31: 3937 – A.

Maffetone, P. (2016). Original MAF Research, White Papers, and other writing. Retrieved from https://philmaffetone.com/research/resources/